มโนทวาราวัชชนจิต กับ โวฏฐัพพนกิจ
ตอนนี้วาสนาก็กำลังจะเข้ามาแล้วใช่ไหม ปกติก็มีอยู่แล้ว
ผู้ฟัง จิตที่ทำโวฏฐัพพนกิจ คือมโนทวาราวัชชนจิต
ท่านอาจารย์ ทำได้ ๒ กิจ จิตบางจิต ต่อไปจะทราบว่าทำได้กิจเดียวหรือ ๒ กิจ หรือ ๓ กิจ หรือ ๔ กิจ หรือ ๕ กิจ
ผู้ฟัง มโนทวาราวัชชนจิตก็คือทางมโนทวาร
ท่านอาจารย์ เมื่อทำอาวัชชนกิจ หมายความว่า เป็นวิถีจิตแรกทางใจ เพราะคิดถึงที่ใช้คำว่า รำพึงถึงโดยที่แปลตรงๆ แต่ความหมายก็คือว่ารู้อารมณ์ที่กระทบใจ
ผู้ฟัง ก็ยังสงสัยอยู่ว่าถ้าเกิดในลักษณะของปัญจทวารทั้ง ๕ แล้วมโนทวารคืออย่างไร
ท่านอาจารย์ เรากำลังกล่าวถึงทวารหนึ่งทวารใดใน ๕ ทวาร จนกระทั่งมาถึงจิตที่เกิดต่อจากสันตีรณะ ไม่เรียกชื่อก็ได้ แต่จิตนี้ต้องเกิดแล้วก็ทำกิจนี้ แต่ต่อไปจะทราบว่า จิตที่ทำกิจนี้ เป็นประเภทเดียวกับจิตที่ทำอาวัชชนกิจทางมโนทวาร จะเรียกชื่อก็ได้ไม่เรียกชื่อก็ได้ แต่ต้องมีจิตเกิดแล้ว แล้วก็ทำกิจนี้ด้วย แต่เนื่องจากว่าจิตนี้ที่ทำกิจนี้ เป็นจิตประเภทเดียวกับจิตที่ทำอาวัชชนกิจเกิดเป็นวิถีจิตแรกทางมโนทวาร เพราะฉะนั้น จะเรียกขณะที่กำลังทำอาวัชชนกิจทางมโนทวารว่า "มโนทวาราวัชชนจิต" เพราะทำอาวัชชนกิจทางมโนทวาร ถ้าทำโวฏฐัพพนกิจ ก็เรียกโวฏฐัพพนจิตได้ เพราะทำกิจนี้ แต่เนื่องจากจิตที่ทำกิจนี้เป็นจิตประเภทเดียวกับจิตที่ทำอาวัชชนกิจทางมโนทวาร เหมือนกันเลย โดยประการต่างๆ เพราะคือจิตประเภทเดียวกันนั่นเอง เพราะฉะนั้นเวลาที่ทำกิจนี้ทางปัญจทวารก็เรียกว่า โวฏฐัพพนกิจ ไม่ได้ทำอาวัชชนกิจ
ผู้ฟัง โดยชาติไม่ใช่วิบาก
ท่านอาจารย์ เป็นกิริยา มีเจตสิกเกิดเท่ากัน เกิดที่หทยวัตถุเหมือนกัน เมื่อพูดถึงที่เกิดจะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ว่าจิตนี้ จะเรียกจิตที่เกิดต่อจากสันตีรณะว่าอะไรก็ได้ ไม่เรียกก็ได้แต่ว่าทำกิจนี้ เมื่อทำกิจนี้จะเรียกว่าโวฏฐัพพนกิจ จะเรียกจิตที่ทำโวฏฐัพพนกิจว่าโวฏฐัพพนจิตก็ได้ ไม่ผิด แต่เนื่องจากจิตที่ทำโวฏฐัพพนกิจที่เราเรียกว่าโวฏฐัพพนจิตเป็นจิตประเภทเดียวกับมโนทวาราวัชชนจิตที่ทำอาวัชชนกิจทางมโนทวาร เพราะฉะนั้นจึงกล่าวว่าจิตนี้มี ๒ กิจ เป็นจิตประเภทเดียวแต่ทำกิจได้ ๒ อย่าง คือ ถ้าทำกิจทางปัญจทวาร ก็ทำโวฏฐัพพนกิจ ถ้าทำกิจทางมโนทวารเป็นอาวัชชนกิจ จะทำโวฏฐัพพนกิจไม่ได้ทางมโนทวาร และจะทำอาวัชชนกิจทางปัญจทวารไม่ได้
ที่มา ...