รูปเป็นอย่างนั้น เป็นอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์
ผู้ฟัง ตรงนี้ไม่เข้าใจ รูปของมันก็เป็นอยู่อย่างนั้น มันจะเรียกว่าอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ไม่น่าจะได้ มันอยู่ที่เรามองมันเป็นอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ไม่ใช่หรือ
ท่านอาจารย์ จิตเห็นเกิดก่อนชอบ ไม่ชอบ ใช่ไหม
ผู้ฟัง จิตเห็นเกิดก่อน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จิตเห็น เห็นอารมณ์อย่างหนึ่งอย่างใด คืออิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ จิตเห็นไม่รู้ แต่อารมณ์นั้นต้องเป็นอิฏฐารมณ์สำหรับกุศลวิบาก และเป็นอนิฏฐารมณ์สำหรับอกุศลวิบาก
ผู้ฟัง เป็นอยู่แล้วแต่เราไม่รู้
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เราไม่มีทางรู้เลย
ผู้ฟัง อย่างนั้นลึกลงไปกว่าที่คิดอีก
ผู้ฟัง ขณะที่เป็นอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์นั่นก็แล้วแต่ผลของกรรมใช่ไหม
ท่านอาจารย์ มิได้ รูปทุกรูปมีสมุฏฐาน แล้วตัวรูปนั้นก็ต่างกันเป็นอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ จะเห็นหรือไม่เห็นไม่เกี่ยวข้องกับใครเลยทั้งสิ้น แต่ขณะใดที่เป็นกุศลกรรม กุศลวิบากจิตจะเกิด รูปที่เป็นอิฏฐารมณ์กระทบกับจักขุปสาทโดยที่ไม่มีใครเลือก เป็นเรื่องของกรรมที่จะให้ผลที่อิฏฐารมณ์กระทบกับจักขุปสาท
ผู้ฟัง ทำไมลึกซึ้งขนาดนั้น
ท่านอาจารย์ นี่คือความจริง เพราะสิ่งที่ชีวิตประจำวันแท้ๆ ถ้าไม่ศึกษาพระธรรม ไม่เห็นอะไรเลย บางคนไม่เห็นประโยชน์ว่าจะฟังทำไมเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ใช่ฟังเพื่อจำ แต่ฟังเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริงให้ลึกจนกระทั่งทุกอย่างเป็นอนัตตา แล้วก็เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยแต่ละปัจจัยด้วย เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ศึกษา เป็นเรา เต็มวันแค่ไหน กี่ชาติ แต่พอศึกษาแล้วเริ่มเข้าใจว่าเป็นธรรม เพียงเข้าใจว่ากำลังฟังเรื่องสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ให้เข้าใจถูกต้องขึ้นในความเป็นธรรม เพื่อที่จะได้ไม่เป็นเรา
ที่มา ...