พูดถึงอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ ส่วนใหญ่พูดถึงรูป


    ท่านอาจารย์ อิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์หมายความถึงน่าพอใจ และไม่น่าพอใจ ส่วนใหญ่เราจะพูดถึงรูป เพราะวันหนึ่งๆ เราไม่พ้นจากการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ซึ่งเป็นผลของกรรม ที่ทำให้รู้รูปที่ดี หรือที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ

    ผู้ฟัง สงสัยประเด็นที่ว่าเป็นผลของกรรม

    ท่านอาจารย์ นั่นคือสภาพของนามธรรมที่จะต้องรู้สิ่งที่ดีหรือไม่ดี

    ผู้ฟัง เห็นรูปเห็นอะไรเป็นโสมนัส รูปงาม เด็กอายุ ๑๖, ๑๗

    ท่านอาจารย์ จะเห็นว่าวิบากต้องตรงตัว คือเสียงที่เป็นอิฏฐารมณ์ หรือ อนิฏฐารมณ์ จิตได้ยินได้ยินไปแล้ว สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ รู้เสียงนั้นแล้ว แต่เมื่อถึงชวนะจะเป็นกุศลหรืออกุศล และจะเป็นโลภมูลจิต หรือโทสมูลจิต ตามการสะสม เพราะขณะนี้พ้นสภาพความเป็นวิบากแล้ว ไม่ใช่ผลของกรรมแล้ว แต่เป็นเหตุใหม่ เพราะฉะนั้นแม้สิ่งนั้นจะเป็นอิฏฐารมณ์ แต่อกุศลจิตเกิดก็ได้

    ผู้ฟัง มีคำเข้ามาอีกว่า กลุ่มคนส่วนใหญ่เห็นหรือไม่เห็น

    ท่านอาจารย์ ก็เปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรมนั้นไม่ได้ แม้แต่คนเดียวหรือกลุ่มใหญ่ก็เปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรมนั้นไม่ได้

    ผู้ฟัง โดยสัตย์จริงก็ยังงงอยู่ ขอฟังต่อไปก่อน

    ท่านอาจารย์ งงเพราะเราบอกไม่ได้ หรือว่างงเพราะคิดว่าสิ่งที่เป็นอิฏฐารมณ์จะกลับกลายเป็นอนิฏฐารมณ์ได้

    ผู้ฟัง เห็นดอกไม้หรือว่าเห็นงู เห็นอะไรก็ตาม ผมก็เห็นมันเฉยๆ มันเป็นของมันอย่างนั้น จิตของเราต่างหากที่ไปบอกว่า งูมันน่าเกลียด

    ท่านอาจารย์ เห็นก่อน ยังไม่เป็นงู เป็นดอกไม้ จักขุวิญญาณเห็นเท่านั้น

    ผู้ฟัง ยังไม่เป็นอะไรหรือ

    ท่านอาจารย์ ต้องเป็นกุศลวิบาก หรือ เป็นอกุศลวิบาก

    ผู้ฟัง อย่างเดียวหรือ

    ท่านอาจารย์ ต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นผลของกรรมหนึ่งกรรมใด

    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 73

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 74


    หมายเลข 7041
    20 ม.ค. 2567