ลักษณะของจิตประการที่ ๔ ชื่อว่าจิตเพราะเป็นธรรมชาติวิจิตร


    นั่นเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ซึ่งทุกคนนี้ต่างกันตามลักษณะของจิตประการที่ ๔ที่ว่า

    อนึ่ง จิตแม้ทุกดวง

    เวลานี้จิตก็เกิดดับไปแล้วนับไม่ถ้วน แต่แม้กระนั้น จิตแม้ทุกดวง ชื่อว่า จิต เพราะเป็นธรรมชาติวิจิตร ตามควรสมควร โดยอำนาจแห่งสัมปยุตธรรมวิจิตร คือ ต่าง ๆ ๆ กันไปตามสัมปยุตธรรม คือ เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย และการสั่งสมของแต่ละบุคคล

    เพราะฉะนั้นที่จะให้เหมือนกันไม่ได้ ที่จะให้มีความคิดอย่างเดียวกัน เป็นศาสนาเดียวกัน เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าแม้แต่รูปร่างกายก็ไม่เหมือนกัน ความคิดนึกย่อมเหมือนกันไม่ได้ ความเห็นความเชื่อต่าง ๆ ก็ย่อมเหมือนกันไม่ได้ เพราะฉะนั้นแม้ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคเองก็ไม่สามารถที่จะทำให้บุคคลทั้งหลายมีความเห็นถูกได้ทุกคน

    เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ที่สะสมเหตุปัจจัยที่มีโอกาสที่วิบากจะได้ยินได้ฟังพระธรรม ได้ศึกษา ได้อ่าน ได้พิจารณาพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ก็เป็นเพราะเหตุปัจจัยที่ได้สะสมมา และเมื่อได้ยินได้ฟังแล้ว จะพิจารณาแล้วก็ใคร่ครวญสอบสวนให้รอบคอบละเอียดขึ้น จนเป็นปัญญาที่สามารถรู้ลักษณะของสภาพธรรมตรงตามที่ทรงแสดงไว้ ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยที่ได้สะสมมา


    หมายเลข 7089
    23 ส.ค. 2558