กามชวนะ - อัปปนาชวนะ
ผู้ฟัง พูดถึงกามชวนะ กับ อัปปนาชวนะ
ท่านอาจารย์ คำว่ากามชวนะ คือ จิตที่เป็นกามาวจรจิต
ผู้ฟัง ถ้าได้ยินคำว่า “อัปปนาชวนะ” คือจิตประเภทไหน
ท่านอาจารย์ คือจิตที่เป็นอัปปนาสมาธิ "มหัคคตจิต"
ผู้ฟัง บุคคลที่ได้ฌาณจะมีกามชวนะหรืออัปปนาชวนะ ยังไม่เข้าใจ
ท่านอาจารย์ ขณะใดที่จิตนั้นเป็นกามาวจรจิตทำชวนกิจต้องเป็นกามชวนะ ขณะใดที่เป็นมหัคคตจิต เช่น รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิตเกิด พวกนี้ทำได้กิจเดียวคือ ชวนกิจ ขณะนั้นก็ไม่ใช่กามชวนะเพราะว่าไม่ใช่กามาวจรจิต
อ.ธิดารัตน์ ถ้าเข้าใจง่ายๆ ก็คือจิตที่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์จะต้องเป็นกามชวนะ ไม่ว่าจะเป็นพระพรหมหรือใครที่เห็น ขณะนั้นก็ต้องเป็นกามชวนะเพราะเป็นกามาวจร
ผู้ฟัง บุคคลที่เจริญฌาณแตกต่างกับบุคคลที่ไม่ได้เจริญฌาณอย่างไร
อ.ธิดารัตน์ คนที่เจริญฌาณจะมีจิตที่เป็นรูปฌาณ ก็จะต้องมีอารมณ์เฉพาะของผู้ที่เจริญ ฌาณนั้นๆ เช่น เป็นกสิณมิมิตต่างๆ ซึ่งไม่ใช่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอย่างที่เราเห็นๆ กันอย่างนี้ เพราะฉะนั้นต่างกันที่อารมณ์ และความสงบของจิตก็ต่างระดับ
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ที่เจริญฌาณ ท่านไม่ได้มีกามชวนะแล้ว
อ.ธิดารัตน์ ขณะที่อยู่ในฌาณ และความสงบขั้นปฐมฌาณก็เป็นอัปปนา
ท่านอาจารย์ ก่อนฌาณจิตจะเกิดได้ จิตประเภทไหนเกิดก่อน ต้องเป็นกามาวจรจิตที่ทำชวนกิจด้วย เป็นกุศลหรือเป็นกิริยาแล้วแต่บุคคล จนกว่าขณะใดที่ฌาณจิตเกิด เมื่อนั้นก็ไม่ใช่กามชวนะ นับจิตตามประเภทของจิต
ผู้ฟัง หมายความว่าท่านออกจากฌาณ ท่านก็มีกามวจรจิต
ท่านอาจารย์ ไม่มีออก ไม่มีเข้าเลย ขอให้เข้าใจว่า ฌาณจิตเกิดเมื่อใดทำชวนกิจเมื่อนั้น และไม่ใช่กามาวจรจิต และกามาวจรจิตเกิดเมื่อใดก็แล้วแต่ว่าทำกิจอะไร ถ้าทำชวนกิจก็ชื่อว่ากามชวนะ ถ้าไม่ได้ทำชวนะก็เป็นจิตเห็น จิตได้ยิน จิตเหล่านี้ก็เป็นกามาวจรจิต แต่ไม่ได้ทำชวนกิจ เพราะฉะนั้นชวนกิจก็เป็นจิตขณะที่เกิดดับสืบต่อกัน ๗ ขณะแล้วไม่ได้ทำกิจอื่นๆ ที่ได้กล่าวถึงแล้วเลย เพราะฉะนั้นกุศลจิต และอกุศลจิตจะทำกิจอื่นไม่ได้นอกจากชวนกิจแล่นไปในอารมณ์เกิดดับสืบต่อกัน ๗ ขณะตามปกติ
ที่มา ...