ไม่พัก ไม่เพียร -พฐ.88
ผู้ฟัง ที่บอกว่าเราไม่พัก เราไม่เพียร ได้ยินคำว่าอยู่ในฌาณจิตนั้นถือว่าลอยแล้วแต่ก็ยังไม่ใช่หลุดพ้น
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วธรรมที่เราจะได้ฟังมากมายทั้ง ๓ ปิฎก แต่เราสามารถจะเข้าใจได้แค่ไหน แค่ความเข้าใจของเราไม่ต้องทั้งหมดในพระสูตรนั้น ฌาณจิตเป็นอะไรอย่างไร ถ้ามีการรู้ถูก ว่า พักก็คือไม่มีการศึกษาไม่มีการอบรมเจริญปัญญา แต่เพียรโดยความไม่เข้าใจก็ไม่มีประโยชน์ ก็ไม่ถึง เพราะฉะนั้นที่ทรงแสดงไว้เป็นความจริงแต่ต้องเข้าใจอรรถว่าทรงมุ่งหมายอย่างไร ไม่เช่นนั้นจะไปค้านว่าก็บอกให้เพียรใช่ไหม แล้วถึงตอนนี้ก็บอกไม่เพียร ไม่พัก ไม่เพียรจะเป็นอย่างไร พระธรรมไม่ได้ขัดกันเลย แต่ต้องสอดคล้องว่าทรงมุ่งหมายอย่างไร ถ้าเพียรผิดจะเพียรไหม มีประโยชน์อะไร พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะให้เพียรผิดหรือไม่ เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นหนทางมัชฌิมาปฏิปทา ไม่ใช่เราเพียร ไม่ใช่มีความต้องการเพียร แต่มีความเข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏแล้วเพราะเกิดขึ้นแล้ว
ผู้ฟัง หมายความว่าควรกลับไปดูพระสูตรนั้นว่าพูดกับใคร พูดถึงอะไร
ท่านอาจารย์ ในระหว่างที่เราศึกษาธรรมก็ควรมีโอกาสที่จะได้ฟังพระสูตรด้วย แต่ว่าความเข้าใจของเราไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม จะเข้าใจได้มากน้อยแค่ไหน เอากำลังความสามารถของเราที่เป็นประโยชน์ของเราเอง ถ้าเราจะขวนขวายไปจนกระทั่งถึงอรูปฌาณเป็นอย่างไร อะไรต่างๆ มากมาย แต่ว่ารู้ไหมว่าขณะนี้เป็นจิตอะไร ไม่ใช่ตัวตนอย่างไร ก็เป็นแต่เพียงการจำเรื่องราว ซึ่งเราก็ผ่านมาแล้วในชาติก่อนๆ ก็คงจะได้ฟังพระธรรมมาแล้ว มากน้อยเราคงไม่ทราบได้ว่าเราได้ฟังที่ไหนบ้าง เรื่องอะไรบ้าง แต่เราสามารถเข้าใจทันทีที่เราได้ยินพระธรรมหรือไม่ว่า เป็นสิ่งที่มีจริง และทรงแสดงเรื่องสภาพธรรมที่มีจริง จากการตรัสรู้สิ่งที่มีจริง เช่น ในขณะนี้ คือ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น คิดนึก เป็นต้น ทั้งหมดที่มีจริงทรงตรัสรู้ความจริง และทรงแสดง เราสามารถจะเข้าใจได้แค่ไหน เราก็พิจารณาสิ่งที่เราสามารถเข้าใจได้ ถ้าเราอยากจะเข้าใจเพียงเรื่องราว เราจะเก็บเรื่องราวไว้เยอะมาก แต่ว่าเราก็ต้องจากโลกนี้ไปเหมือนที่เราจากโลกก่อนมา ไม่ต้องมากเลยว่าเราจำอะไรได้จากที่เราเคยได้ยินได้ฟังมาแล้วในชาติก่อนๆ ไม่ต้องมาก เพียงแค่ชาติก่อนเราชื่ออะไรเท่านี้เอง แค่ชื่ออะไรจำได้ไหม แล้วสิ่งที่เราได้ยินได้ฟังมาทั้งหมดที่เป็นเรื่องราว กับการที่เราเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม มีความมั่นคงว่าไม่เข้าใจขั้นไหน และขณะที่กำลังฟังกำลังเริ่มเข้าใจขั้นไหน จึงจะรู้ความต่างของขณะที่สติสัมปชัญญะเกิดกับขณะที่หลงลืมสติ นี่เป็นขั้นภาวนา เพราะเหตุว่าพระธรรมไม่ใช่เพียงแสดงให้ฟัง แล้วไม่อบรมไม่ประพฤติปฏิบัติตาม ถ้าเป็นอย่างนั้นก็เป็นโมฆะ ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย จำแต่ชื่อเรื่องราวกี่ภพกี่ชาติมาแล้ว ภาษาต่างๆ ก็ลืมหมด แต่ว่าสภาพธรรมมีให้พิสูจน์ให้เข้าใจได้
ที่มา ...