จิตจำแนกต่างกันโดยสัมปยุต และ วิปยุต มี ๕ ประการ


    สำหรับประการต่อไป คือ จิตจำแนกโดยสัมปยุตต์และวิปปยุตต์

    ท่านผู้ฟังได้ทราบความหมายของสัมปยุตตธรรม ซึ่งหมายความถึงเจตสิกที่เกิดกับจิต นัยหนึ่ง แต่เวลาที่กล่าวถึงจิตประเภทต่างๆ จะมีจิตที่ต่างกันโดยเป็นสัมปยุตต์กับวิปปยุตต์ ซึ่งมีอยู่ ๕ ประการ คือ

    จิตที่ประกอบด้วยทิฏฐิ ความเห็นผิด เป็นทิฏฐิคตสัมปยุต เกิดกับโลภมูลจิต ประเภทหนึ่ง ซึ่งถ้าโลภะนั้นเกิดขึ้นไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดแล้ว จะชื่อว่า ทิฏฐิคตวิปปยุตต์ ถ้าประกอบกับเจตสิกนั้นชื่อว่า “สัมปยุตต์” ถ้าไม่ประกอบด้วยเจตสิกนั้น ชื่อว่า “วิปปยุตต์” เช่น โลภมูลจิต มี ๘ ดวง ต่างกันโดยเป็นสัมปยุตต์ ๔ ดวง โดยเป็นวิปปยุตต์ ๔ ดวง คือ โลภมูลจิต ๔ ดวง ประกอบด้วยความเห็นผิด จึงเป็นทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ส่วนโลภมูลจิตอีก ๔ ดวง ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด จึงเป็นโลภมูลจิตทิฏฐิคตวิปปยุตต์

    ถ้าไม่ประกอบด้วยเจตสิกนั้น ก็เป็นวิปปยุตต์ ถ้าประกอบด้วยเจตสิกนั้นก็เป็นสัมปยุตต์

    ซึ่งโดยนัยของสัมปยุตต์และวิปยุตต์ มีอยู่ ๕ นัย คือ เป็น ทิฏฐิคตสัมปยุตต์ หรือวิปปยุตต์ เกิดโลกมูลจิต ๑ เป็นปฏิฆสัมปยุตต์ คือ สภาพที่หยาบกระด้าง เป็นโทสะ ซึ่งเกิดกับโทสมูลจิตเท่านั้น ไม่เกิดกับจิตอื่น ๑เป็นวิจิกิจฉาสัมปยุตต์ เกิดกับโมหมูลจิต ๑ เป็นอุทธัจจสัมปยุตต์ เกิดกับโมหมูลจิต ๑ เป็นญาณสัมปยุตต์ เกิดกับกุศลจิต หรือโสภณจิต ๑ และญาณวิปปยุตต์ ก็เกิดกับโสภณจิตเช่นเดียวกัน๑

    เพราะฉะนั้นโดยนัยของสัมปยุตต์และวิปปยุตต์ ๕ เป็นอกุศลสัมปยุต ๔ คือ เป็นทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ๑ เป็นปฏิฆสัมปยุตต์ ๑ เป็นวิจิกิจฉา สภาพที่สงสัย ไม่แน่ใจในสภาพธรรม ๑ เป็นอุทธัจจะ เป็นสภาพที่ไม่สงบ ๑ และเป็นญาณสัมปยุตต์ หรือวิปปยุตต์ อีก ๑ โดยรวมเป็นนัยของสัมปยุตต์และวิปปยุตต์แล้ว มี ๕ นัย

    มีข้อสงสัยอะไรบ้างไหมคะในเรื่องนี้ ความจริงยังไม่ถึงนะคะ เพียงแต่แสดงให้เห็นว่า เมื่อศึกษาเรื่องจิตโดยละเอียดแล้ว ก็จะมีจิตที่จำแนกออกเป็นนัยอะไรบ้าง เช่น โดยนัยของชาติ โดยนัยของภูมิ โดยนัยของเวทนา โดยนัยของสัมปยุตต์และวิปปยุตต์


    หมายเลข 7311
    20 ส.ค. 2558