ผัสสะไม่ใช่เหตุ เป็นนเหตุ


    เมื่อเข้าใจอย่างนี้แล้ว “เจตสิก” ก็โดยนัยเดียวกัน เพราะเจตสิก เช่น ผัสสะ ไม่ใช่เหตุ เพราะฉะนั้นผัสสเจตสิกเป็น นเหตุ แต่ผัสสเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง เพราะฉะนั้นถ้าจิตดวงนั้นเกิดพร้อมกับเหตุ ผัสสเจตสิกนั้นเป็นสเหตุกะ หมายความว่าเกิดพร้อมกับเหตุ ถ้าจิตนั้นเกิดขึ้นไม่ประกอบเจตสิก ซึ่งเป็นเหตุทั้ง ๖ เมื่อจิตนั้นเป็นอเหตุกะ ผัสสเจตสิกซึ่งเกิดกับอเหตุกจิตนั้นก็เป็นอเหตุกะ เพราะฉะนั้นผัสสะก็เป็น นเหตุ และบางครั้งเป็น สเหตุกะ บางครั้งเป็น อเหตุกะ

    ไม่ต้องท่อง ใช่ไหมคะ ท่องไม่มีประโยชน์เลย เพียงแต่เข้าใจและใช้ศัพท์ภาษาบาลีถูกต้อง ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องว่า

    เหตุ ตรงกันข้ามกับ นเหตุ สเหตุ ตรงกันข้ามกับ อเหตุ

    สเหตุกะ ประกอบด้วยเจตสิกซึ่งเป็นเหตุ อเหตุกะ ไม่ประกอบด้วยเจตสิกที่เป็นเหตุ

    ซึ่งทุกท่านมีทั้งสเหตุกจิตและอเหตุกจิต เพียงแต่ยังไม่ทราบว่า เมื่อไรเป็น สเหตุกะ และเมื่อไรเป็นอเหตุกะ

    แต่นี่คือชีวิตของท่านในวันหนึ่งๆ ซึ่งพระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงโดยขณะจิตอย่างละเอียดว่าขณะใดเป็นอเหตุกะ ไม่ประกอบด้วยเหตุเลย และขณะใดเป็นสเหตุกะ


    หมายเลข 7374
    21 ส.ค. 2558