หูเปรียบเหมือนจระเข้


    “หู” เปรียบเสมือน “จระเข้” แม้จระเข้ออกไปข้างนอก ย่อมไม่เห็นสิ่งที่จะงับ มันย่อมหลับตาไปอย่างเดียว แต่เมื่อลงน้ำไปสัก ๑๐๐ วา เข้าสู่โพรงนอน จิตก็ย่อมสงบ หลับสบาย แม้ “โสต” นี้ก็เหมือนกันเช่นนั้น พอใจสิ่งที่เป็นโพรง อิงอาศัยอากาศ ชอบใจอยู่ในสิ่งซึ่งเป็นช่อง คือ รูหูทีเดียว อากาศในรูหูย่อมเป็นปัจจัยในการได้ยินเสียงของโสตนั้น แม้อัชฎากาศ คือ อากาศโล่งตลอด ก็ควรเป็นปัจจัยเหมือนกัน ด้วยว่าเมื่อบุคคลกระทำการสวดภายในถ้ำ เสียงก็หาพังฝาถ้ำออกไปข้างนอกไม่ แต่ย่อมออกไปทางช่องประตูและหน้าต่าง เมื่อกระทบกันโดยสืบๆกันแห่งธาตุ ย่อมไปกระทบโสตปสาท ถ้าว่าในเวลานั้นคนที่นั่งอยู่บนหลังถ้ำ ย่อมรู้ว่า คนชื่อโน้นสวด

    นี่ก็เป็นการที่จะให้รู้ลักษณะของทวารแต่ละทวารว่า ปกติในชีวิตประจำวันที่มีการได้ยินเสียง จะต้องอาศัยอากาศ


    หมายเลข 7553
    21 ส.ค. 2558