เจตนาเจตสิกที่ดับแล้ว
ผู้ฟัง ไม่เข้าใจตรงลักษณะของเจตนาเจตสิกซึ่งเป็นลักษณะของสภาพธรรม เมื่อเกิดแล้ว ดับแล้วก็คือดับแล้วดับเลย แต่ก็ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้สภาพธรรมอื่นเกิดต่อได้ใช่ไหม
อ.วิชัย ก็ต้องดูว่ากล่าวถึงธรรมอะไรที่เป็นผล เมื่อเรากล่าวถึงว่าเจตนานั้นเป็นเหตุแล้ว แล้วก็ต้องรู้ว่าอะไรที่เป็นผลของเจตนานั้น เช่น เมื่อการเกิดพร้อมกัน เจตนาเกิดพร้อมกับจิต เจตนาเป็นปัจจัยแก่จิตเมื่อเจตนานั้นยังมีอยู่ แต่ว่าหลังจากที่เจตนานั้นดับไปแล้วเป็นเหตุให้ธรรมอื่นเกิดสืบต่อภายหลังได้ด้วย เช่น อนันตรปัจจัย เพราะเหตุว่าเมื่อจิตเกิดขึ้นก็มีเจตสิกรวมถึงเจตนาเจตสิกเกิดพร้อมกันด้วย แต่เมื่อจิตดับไปแล้วรวมถึงเจตสิกอื่นๆ ดับไปแล้วก็สามารถจะเป็นปัจจัยให้จิต และเจตสิกอื่นๆ เกิดขึ้นภายหลังด้วย ฉะนั้น จิต และเจตสิกที่เกิดขึ้นภายหลังก็เป็นผลจากจิตที่ดับไปก่อน รวมถึงเจตนาที่ดับไปก่อนด้วยเป็นอนันตรปัจจัยให้จิต และเจตสิกภายหลัง จึงสามารถจะเกิดขึ้นได้ เพราะถ้าจิตดวงก่อนไม่ดับไปก่อน จิตภายหลังจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย
ที่มา ...