เป็นภวังค์ตลอดไปจะดีไหม


    ท่านอาจารย์ วันนี้เป็นยังไงภวังคจิตของเรา ดีหรือไม่ดี ภวังคจิตของคนที่เป็นมนุษย์เป็น จิตประเภทไหน เป็นวิบาก แต่เป็นกุศลวิบาก แต่ว่าในขณะนั้นเพราะยังไม่รู้อารมณ์ใดๆ เลยทั้งสิ้น ไม่มีการรบกวนทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่มีการรู้อารมณ์ใดๆ เลย ถ้าเป็น อย่างนั้นตลอดไป ดีไหม คือน่าคิดหลายอย่างถ้าจะตอบว่าดี กับจะตอบว่าไม่ดีก็ต้องมี เหตุผล ถ้าเป็นภวังค์ไปเรื่อยๆ จะดีไหม คำถามอยากให้ท่านผู้ฟังคิด เพราะว่าเป็นสิ่งที่ สำคัญด้วย ถ้าเราเกิดมาปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว แล้วก็เป็นภวังค์อยู่เรื่อยๆ ไม่มีการรู้ อารมณ์ทางตาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่คิด ไม่ฝัน ไม่อะไรทั้งนั้นเลย เป็นภวังคจิต โลกนี้ไม่ได้ปรากฏเลยในขณะที่เป็นภวังค์ เป็นภวังค์ไปเรื่อยๆ ดีไหมตลอดไป

    ผู้ฟัง ไม่ดี

    ท่านอาจารย์ ไม่ดีเพราะอะไร

    ผู้ฟัง เพราะว่าโลกคงไม่สวยงาม ไม่สดชื่น นอนเป็นเจ้าหญิงนิทราไปตลอด

    ท่านอาจารย์ คิดว่าอย่างนั้นใช่ไหม คือคำถามนี้เป็นคำถามในสิ่งซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย เพราะเหตุว่ามีการสะสมของกรรม และกิเลส เกิดเป็นจิตซึ่งไม่ใช่วิบากจิต วิถีจิตคือขณะ ที่ไม่ใช่ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิต เป็นจิตที่อาศัยตาเห็น เกิดขึ้น อาศัยหู ได้ยิน เสียง อาศัยจมูก ได้กลิ่น อาศัยลิ้นลิ้มรส อาศัยกาย รู้สิ่งที่กำลังกระทบสัมผัส อาศัยใจ คิดนึกต่างๆ อย่างคุณเด่นพงศ์บอกว่า ถ้าเป็นอย่างนั้นไม่ดีเพราะว่าโลกนี้ไม่ปรากฏ แต่ให้คิดถึงว่าเมื่อเกิดการเห็น สิ่งที่ปรากฏทางตามีอายุ เพียงแค่ ๑๗ ขณะจิตแล้วดับ ถูกต้องไหม แล้วเป็นภวังค์ ประโยชน์อะไรที่ได้จากการเห็นวาระหนึ่งๆ นอกจากความไม่ รู้ และความติดข้องในสิ่งที่ปรากฏ จะบังคับให้เห็นตลอดไปไม่ได้ เพราะเหตุว่ารูปที่เป็น สภาพธรรมจะมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เมื่อรูปนั้นดับแล้ว วาระของจิตที่จะไป เห็นหรือว่าจะไปชอบไม่ชอบในสิ่งนั้นก็เกิดไม่ได้เลย ต้องเป็นภวังค์ต่อไป

    เพราะฉะนั้นขณะนี้ให้ทราบว่ามีภวังคจิตคั่นทุกวาระที่เห็น ทุกวาระที่ได้ยิน

    เพราะฉะนั้นเกิดมาเห็นแล้วก็ไม่รู้ว่า ขณะนั้นเป็นสภาพธรรมที่มีอายุสั้นมาก เห็นแล้วก็ ดับไป แต่มีความติดข้องในสิ่งที่สะสมแล้วๆ หลังจากนั้นภวังคจิตก็เกิดสืบต่อ และก็ อกุศลที่เกิดแล้วไม่ได้สูญหายไปเลยสะสมสืบต่อในจิตขณะต่อไปซึ่งเป็นภวังค์ ด้วยเหตุนี้ภวังคจิตของแต่ละคนก็จึงมีการสะสมของแต่ละคน ในแต่ละภพใน แต่ละชาติ แล้วแต่ว่าใครจะสะสมอกุศลประเภทใดมามาก โลภะ หรือว่าโทสะ หรือว่า ริษยา หรือว่ามานะ ทุกอย่างมีในจิต พร้อมที่เมื่อมีปัจจัยก็เกิดขึ้นจากการเห็น จากการได้ ยิน จากการได้กลิ่น จากการลิ้มรส จากการรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส จากการคิดนึก เพราะฉะนั้นเวลาที่ไม่ได้เป็นภวังค์ แล้วเห็นเกิดขึ้น นั่นดีหรือไม่ดี เห็นสิ่งที่มี อายุเพียงแค่ ๑๗ ขณะแล้วดับ แล้วก็เป็นภวังค์ ถ้าติดข้องที่คุณเด่นพงศ์บอกว่าสวย งาม สีสันวัณณะต่างๆ สวยงาม ก็เป็นโลภมูลจิตเกิดแล้ว แล้วก็ดับไป ภวังคจิตเกิดคั่น สะสมโลภะที่เกิดแล้วต่อไป

    เพราะฉะนั้นเราไม่ได้หมดความติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ใน โผฏฐัพพะ คือเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ที่กระทบเลย ดีหรือไม่ดี แต่ถ้าดี มีการเห็น และมีการเข้าใจสิ่งที่เห็นถูกต้องว่าเป็นสิ่งที่มีจริงๆ และสภาพเห็นก็ไม่ใช่เรา แต่เป็น ธาตุรู้ซึ่งเกิดขึ้นเห็น เพราะว่าจิตทั้งหมดเป็นสภาพรู้ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ เพราะฉะนั้นเวลาที่มีการเห็นวาระหนึ่งเกิดขึ้น ขณะนั้นก็รู้สิ่งที่กำลังปรากฏถูกต้องตาม ความเป็นจริง ถ้าเป็นอย่างนี้วาระที่เห็นหรือวาระที่รู้อารมณ์สืบต่อทางใจ ก็เป็นสิ่งที่ดีที่ สะสมสืบต่อไปถึงภพชาติต่อๆ ไปด้วย ซึ่งวันหนึ่งทุกคนก็ต้องจากโลกนี้ไป แต่ให้ดู ชีวิตประจำวันที่ดำเนินมาตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ว่า เราได้สะสมสิ่งที่เป็นประโยชน์ หรือมิใช่ประโยชน์จากการเห็น จากการได้ยิน จากการได้กลิ่น จากการลิ้มรส จากการรู้ สิ่งที่กระทบสัมผัส จากการคิดนึก เป็นประจำในชีวิตประจำวัน

    เพราะฉะนั้นเห็นดีหรือไม่ดี ถ้าเห็นแล้วเกิดกุศลจิตก็ดี ถ้าเห็นแล้วเป็นอกุศลจิต ก็ไม่ดี และเราก็บังคับบัญชาไม่ได้ ตามการสะสม แต่จากการฟังธรรม และก็มีความเข้า ใจเพิ่มขึ้น การสะสมของเราก็จะสะสมปัญญาที่สามารถจะเข้าใจชีวิต นามธรรม รูปธรรม จิต เจตสิก รูป ใ นขณะที่เห็น ขณะที่ได้ยิน ขณะที่ได้กลิ่น ขณะที่ลิ้มรส ขณะที่รู้สิ่งที่ กระทบสัมผัส ขณะที่คิดนึก ซึ่งมากมายเหลือเกินในวันหนึ่ง เพราะฉะนั้นความมากมาย หลังจากเห็นแล้วเป็นโลภะ ความมากมายหลังจากเห็นแล้วเป็นโทสะ กับความมากมาย หลังจากเห็นแล้วเป็นกุศล ก็จะเห็นได้ว่าเปรียบเทียบกันแล้วก็จะต้องมีการฟังพระธรรม ให้เข้าใจจนกว่าจะเข้าใจขึ้น จนกว่าจะรู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งก็เป็น จิรกาลภาวนา

    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 112


    หมายเลข 7871
    22 ม.ค. 2567