ขณะที่เป็นภวังคจิต
ธรรมไม่ใช่เรื่องที่เราจะเดาหรือคาดคะเน แต่เป็นเรื่องที่จะศึกษาให้เข้า ใจสิ่งที่มีจริงๆ อย่างปฏิสนธิจิต คือ วิบากจิตเป็นผลของกรรมหนึ่ง ทำกิจ ปฏิสนธิสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน นี่คือเราไม่มีบุคคลว่าจะไปนิทราหรือ ไม่นิทรา แล้วเวลาที่เป็นภวังคจิตก็คือขณะที่ไม่รู้อารมณ์ทางตาคือ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่ได้คิดนึก ถ้ากำลัง หลับก็คือไม่ได้ฝัน ขณะนั้นคือภวังคจิต แล้วเวลาที่เป็นภวังคจิตก็คือขณะที่ ไม่รู้อารมณ์ทางตาคือไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบ สัมผัส ไม่ได้คิดนึก ถ้ากำลังหลับก็คือไม่ได้ฝัน ขณะนั้นคือภวังคจิต
เพราะฉะนั้นถ้าฝัน มีใครรู้ได้ไหม ที่เขานอนหลับเป็นภวังค์ไปตลอดหรือ ว่าเขาฝัน ไม่มีใครสามารถที่จะไปรู้ได้ แต่การศึกษาทำให้รู้ความต่างกันว่า ขณะที่เป็นภวังคจิต ไม่ใช่วิถีจิต เพราะเหตุว่าไม่ได้อาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจรู้อารมณ์อื่น นอกไปจากอารมณ์ของปฏิสนธิจิตซึ่งเป็นอารมณ์ของ ภวังคจิต คือ อารมณ์นั้นไม่ปรากฏ คนที่นอนหลับสนิท อารมณ์ใดๆ ก็ไม่ ปรากฏเลย ชื่ออะไรของตัวเองก็ไม่รู้จัก มีญาติพี่น้องกี่คน อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้เลย ทั้งสิ้น
นี่คือความจริงที่ว่าวันนี้เราเห็นตั้งหลายคน เรามีสุขมีทุกข์กับคนโน้นบ้าง คนนี้บ้าง แต่พอถึงเวลาหลับสนิทไม่เหลือเลย ไม่มีอะไรเลยนี่ก็เป็นความจริง แสดงให้เห็นว่า แม้ยังไม่ตาย แต่วันหนึ่งๆ ก็ทำให้เห็นว่าสิ่งที่เราคิดว่ามีอยู่ แท้ที่จริงหามีไม่ ในขณะที่หลับสนิท นี่คือการเปรียบเทียบ แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่ กำลังปรากฏในขณะนี้จริงๆ ผู้ที่มีปัญญาสามารถรู้แจ้งก็รู้ว่า ดับอยู่ทุกขณะ เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ และสิ่งที่ดับไปแล้วก็ไม่ได้กลับมาอีกเลย
เพราะฉะนั้นเราจะไม่มีการไปเดาว่าเขาคิดอะไรหรือเปล่า เขาสุขหรือ ทุกข์ทางกายหรือเปล่า เพียงแต่ว่าเราสามารถจะศึกษาเรื่องจิต และจิตขณะ นั้นเป็นอย่างไรก็คือเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นเราจะรู้ได้จากจิตของเรา ทันที ที่ตื่นคนนี้อีกแล้วใช่ไหม บ้านนี้อีกแล้ว คนในบ้านอีกแล้ว แต่ว่าตอนหลับไป ไหนหมด ไม่มีสักคนเดียว นี่ก็คือจริงๆ แล้วทุกคนอยู่ในโลกคนเดียว แต่ยิ่ง กว่านั้นก็คือว่าไม่ใช่คนด้วย เป็นจิตแต่ละขณะที่เกิดขึ้น เป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่ง เกิดขึ้นรู้แล้วก็ดับไป รู้แล้วก็ดับไปอยู่เรื่อยๆ
ที่มา ...