ลักษณะของทิฏฐิ กับ ปัญญา


    ข้อความในอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา อรรถกถาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๒ แสดงลักษณะที่ต่างกันของทิฏฐิกับปัญญา ซึ่งมีข้อความว่า

    ปัญญา คือ ญาณนั้นรู้อารมณ์ได้ตามสภาพที่เป็นจริง แต่ทิฏฐิ คือ ความ เห็นผิดนั้นละสภาพตามที่เป็นจริง ถือเอาโดยสภาพที่ไม่จริง เพราะฉะนั้น ทิฏฐิจึงมีลักษณะที่เชื่อมั่นอย่างผิดๆว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า

    นี่เป็นความต่างกันของมิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิ ถ้าพูดถึงทิฏฐิเฉยๆ อาจ จะเป็นอกุศลก็ได้ หรืออาจจะเป็นกุศลก็ได้ เพราะฉะนั้นเวลาที่กล่าวถึงเรื่อง ของอกุศลธรรมและใช้คำว่า “ทิฏฐิ” ย่อมหมายความถึงมิจฉาทิฏฐิ แต่เวลาที่ กล่าวถึงกุศลธรรม แล้วใช้คำว่า“ทิฏฐิ”ย่อมหมายความถึงสัมมาทิฏฐิ หรือ ปัญญา


    หมายเลข 7899
    18 ก.ค. 2558