ผู้ที่อดทนย่อมเป็นผู้ที่สามารถจะบรรลุผลได้


    ผู้ฟัง ขณะเจริญสติ จิตก็ต้องมีลักษณะของรูปหรือนามธรรมที่กำลังปรากฏ และที่ว่าจิตดวงนั้นจะมีอารมณ์อย่างนั้นหรือมีลักษณะอย่างนั้นเป็นอารมณ์ได้

    ท่านอาจารย์ โดยการรู้ลักษณะของสติปัฏฐานว่า สติปัฏฐานไม่ใช่เป็นขั้นคิด

    ผู้ฟัง อย่างตอนแรกฟังใหม่ๆพอมีอะไรเกิดขึ้น ก็นี่เป็นนามธรรมนั่นเป็น รูปธรรม นานๆ ก็ชักชินพอ... ก็ไม่ใช่สติปัฏฐานอีกพอรู้สึกตัวอีก ตอนนี้ก็ เลยเฉยๆ ไม่อยากคิด ไม่อยากอะไร

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่จะบังคับความรู้สึกว่าจะคิดหรือจะไม่คิด แต่ให้ทราบว่า สติปัฏฐาน คือ ขณะที่ระลึกรู้ลักษณะ อย่าลืมนะคะ รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏในขณะที่ กำลังรู้ลักษณะ จะคิดพร้อมกันไม่ได้ เพราะฉะนั้นสติปัฏฐาน คือ เมื่อลักษณะ ปรากฏแล้ว ศึกษาในขณะนั้นคือ สังเกต น้อมไปที่จะรู้ลักษณะของสิ่งที่ ปรากฏว่า เป็นสภาพรู้ หรือไม่ใช่สภาพรู้ คือต้องชิน หรือน้อมไปที่จะรู้ ลักษณะของสภาพรู้หรือธาตุรู้ ซึ่งเกิดดับสืบต่ออยู่ตลอดเวลา เวลาที่สติ ปัฏฐานไม่เกิด ก็เป็นเรารู้ทั้งหมด คือ เราเห็น เราได้ยิน เราได้กลิ่น เราคิดนึก เราสุข เราทุกข์แต่ให้ทราบว่า ผู้ที่ตรัสรู้แล้วรู้ว่า ขณะนั้นไม่ใช่เรา เป็น ลักษณะของธาตุรู้ สภาพรู้ อาการรู้แต่ละลักษณะ

    เพราะฉะนั้นการที่ปัญญาจะละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นตัวตน เป็นเรา ก็ต่อเมื่อรู้ในลักษณะสภาพรู้หรือธาตุรู้ ค่อยๆเข้าใจเพิ่มขึ้น แล้วก็จะค่อยๆระลึกได้บ่อยขึ้นจนกว่าวันหนึ่งก็จะรู้ชัดในลักษณะของสภาพรู้ จริงๆ

    ผู้ฟัง อย่างนี้ก็น้อมไป พิจารณาไป

    ท่านอาจารย์ เรื่อยๆ ค่ะ อีกนานแสนนานคิดเสียว่าอย่างนั้น อย่าไปคิดว่าจะเร็ว แต่ไม่ต้องท้อถอยค่ะ เพราะว่าผู้ที่อดทนย่อมเป็นผู้ที่สามารถจะบรรลุผลได้


    หมายเลข 7901
    18 ก.ค. 2558