เพราะเป็นอนัตตา
ทุกคนคงจะชินกับคำว่า “อนัตตา” ใน
ทุกคนคงจะชินกับคำว่า “อนัตตา” ในพระพุทธศาสนา ซึ่งในศาสนาอื่นไม่มีคำนี้เลย อันนี้ไม่ได้หมายความว่า จะเปรียบเทียบกับศาสนาอื่น แต่เป็นความจริงที่ว่า คำว่า “อนัตตา” นั้นมีแต่เฉพาะในพระพุทธศาสนา เพราะพระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย บังคับไม่ได้ การที่ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดจะอยู่ในอำนาจของเรา เป็นไปตามความต้องการของเรา แต่ขึ้นอยู่กับสภาพธรรมนั้นๆ ความหมายนั้นคือ “อนัตตา”
อย่างความโกรธ ทุกคนก็ดู แล้วก็รู้ว่า น่าเกลียด คนที่โกรธ อาจจะไม่รู้ตัว แต่ว่าคนดูจะรู้ได้เลยว่า คนที่โกรธหน้าเปลี่ยน แทนที่จะยิ้มแย้มแจ่มใสเหมือนเดิม ก็อาจจะถมึงทึง มีสีหน้าที่ดู แล้วน่ากลัว ไม่น่ารัก ไม่น่าดูเลย แต่คนที่กำลังโกรธไม่ทราบ เพราะฉะนั้นเขาก็ไม่เห็นโทษของความโกรธ แต่ถ้าเป็นผู้เข้าใจธรรมตามความเป็นจริง จะรู้ได้ว่า ธรรมฝ่ายใดเป็นฝ่ายดี ธรรมฝ่ายใดเป็นฝ่ายไม่ดี และถ้าเรามีธรรมฝ่ายดีเพิ่มขึ้น เราก็สามารถลดคลายทางฝ่ายอกุศลได้ แม้แต่ความโกรธ ถ้าเรารู้จริงๆ ว่า ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลยกับใคร แทนที่เราคิดว่า ต้องโกรธ แต่พระพุทธเจ้าไม่มีเลยในพระไตรปิฎก ไม่ว่าจะส่วนไหน บรรทัดไหน ข้อความไหนที่จะกล่าวว่า ความโกรธเป็นสิ่งที่ดี นั่นต้องไม่ใช่ผู้ที่ตรัสรู้แน่นอน เพราะเหตุว่าสภาพธรรมที่ไม่ดี แม้จะเพียงเล็กน้อยก็เป็นโทษ และไม่ว่าสภาพธรรมนั้นจะเกิดกับใคร ก็ต้องเป็นโทษในขณะนั้น
นี่แสดงให้เห็นว่า ถ้าเราเข้าใจธรรมจริงๆ เข้าใจชีวิตจริงๆ เข้าใจเหตุผลจริงๆ เข้าใจปัญหาจริงๆ เราสามารถแก้ได้ และเริ่มแก้ที่ตัวของเราเอง
พระพุทธศาสนา ซึ่งในศาสนาอื่นไม่มีคำนี้ เลย อันนี้ไม่ได้หมายความว่า จะเปรียบเทียบกับศาสนาอื่น แต่เป็นความจริงที่ว่า คำว่า “อนัตตา” นั้นมีแต่เฉพาะในพระพุทธศาสนา เพราะพระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ว่า ทุกสิ่ง ทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย บังคับไม่ได้ การที่ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดจะอยู่ในอำนาจ ของเรา เป็นไปตามความต้องการของเรา แต่ขึ้นอยู่กับสภาพธรรมนั้นๆ ความหมายนั้น คือ “อนัตตา”
อย่างความโกรธ ทุกคนก็ดู แล้วก็รู้ว่า น่าเกลียด คนที่โกรธ อาจจะไม่รู้ตัว แต่ว่า คนดูจะรู้ได้เลยว่า คนที่โกรธหน้าเปลี่ยน แทนที่จะยิ้มแย้มแจ่มใสเหมือนเดิม ก็อาจจะ ถมึงทึง มีสีหน้าที่ดู แล้วน่ากลัว ไม่น่ารัก ไม่น่าดูเลย แต่คนที่กำลังโกรธไม่ทราบ เพราะ ฉะนั้นเขาก็ไม่เห็นโทษของความโกรธ แต่ถ้าเป็นผู้เข้าใจธรรมตามความเป็นจริง จะรู้ได้ ว่า ธรรมฝ่ายใดเป็นฝ่ายดี ธรรมฝ่ายใดเป็นฝ่ายไม่ดี และถ้าเรามีธรรมฝ่ายดีเพิ่มขึ้น เราก็ สามารถลดคลายทางฝ่ายอกุศลได้ แม้แต่ความโกรธ ถ้าเรารู้จริงๆ ว่า ไม่ได้มีประโยชน์ อะไรเลยกับใคร แทนที่เราคิดว่า ต้องโกรธ แต่พระพุทธเจ้าไม่มีเลยในพระไตรปิฎก ไม่ ว่าจะส่วนไหน บรรทัดไหน ข้อความไหนที่จะกล่าวว่า ความโกรธเป็นสิ่งที่ดี นั่นต้องไม่ ใช่ผู้ที่ตรัสรู้แน่นอน เพราะเหตุว่าสภาพธรรมที่ไม่ดี แม้จะเพียงเล็กน้อยก็เป็นโทษ และ ไม่ว่าสภาพธรรมนั้นจะเกิดกับใคร ก็ต้องเป็นโทษในขณะนั้น
นี่แสดงให้เห็นว่า ถ้าเราเข้าใจธรรมจริงๆ เข้าใจชีวิตจริงๆ เข้าใจเหตุผลจริงๆ เข้าใจปัญหาจริงๆ เราสามารถแก้ได้ และเริ่มแก้ที่ตัวของเราเอง