ความติดข้องในรูป
ต้องเข้าใจคำว่า “กาม” หมายความถึงรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นสิ่งที่น่าใคร่ เพราะว่ากามมี ๒ ความหมาย วัตถุกาม ที่ตั้งของความยินดีพอใจ และโลภะซึ่งเป็นสภาพที่เป็นกาม คือ ความพอใจ ความติดข้อง
เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีในโลกนี้ก็ไม่พ้นตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือสิ่งที่ปรากฏให้เห็นทางตาขณะนี้ เป็นที่ตั้งของความติดข้อง ความพอใจหรือเปล่า
นี่คือธรรม แล้วก็ลืม ทั้งๆ ที่จะติดข้อง ก็ไม่ได้ติดข้องอย่างอื่น นอกจากสิ่งที่ปรากฏให้เห็น เสียงก็เช่นเดียวกัน กลิ่น รส โผฏฐัพพะทั้งวัน ที่เคยกล่าวไว้ว่า “พอตื่นขึ้นก็แสวงหารูป” เพราะพอใจในรูป สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นรูปอย่างหนึ่ง ที่สามารถจะปรากฏให้เห็นเท่านั้นเอง แต่ก็เป็นที่ตั้งที่พอใจของความยินดีที่แสวงหา มีใครบ้างคะที่ไม่แสวงหาสิ่งที่ปรากฏทางตาตั้งแต่เช้า ๑ แล้วนะคะ แสวงหาเสียงไหมคะ ฟังข่าว อีกแล้ว ทุกคนตื่นขึ้นมาก็ไม่พ้นที่จะฟังข่าวคราวต่างๆ ก็เสียง แต่เสียงนั้น มีความติดข้องเพราะว่ามีการคิดนึกถึงเรื่องของเสียง เป็นเรื่องต่างๆ ด้วย
เพราะฉะนั้นความติดข้องตลอดเวลาไม่ปรากฏ ในขณะที่กำลังติดข้อง จะไม่รู้ว่า ขณะนั้นกำลังเป็นธรรมที่ติดข้อง ถ้าไม่มีการได้ยินได้ฟังเลย ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะเหตุว่าไม่เคยรู้เลยว่า ติดข้องอยู่มากมาย ยับยั้งไม่ได้เลย ทางจมูก เมื่อเช้านั่งรถมาก็มีดอกไม้ในรถ หอมด้วย ดอกสายหยุด คนที่นำดอกไม้มาใส่รถก็บอกว่า เดี๋ยวกลิ่นก็หมด และสมชื่อจริงๆ พอตอนสายก็หยุด ก็เป็นที่ติดข้อง เพียงแค่ปรากฏ จะมาก จะน้อย จะช้า จะเร็ว ขณะใดที่กำลังปรากฏ ก็ติดข้องในสิ่งนั้น ทางลิ้น ติดข้องมาก ไม่ว่าเด็กหรือผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุอาจจะคลายความติดข้องในหลายเรื่อง แต่รสยังไม่ได้คลาย
เพราะฉะนั้นสำหรับทุกวัยก็จะมีความติดในรส และในสิ่งที่กระทบสัมผัส เย็น ทนได้ไหมคะ ร้อน ทนได้ไหมคะ ก็ต้องการสบายๆ ที่ต้องการ คือ ร่างกายไม่เจ็บไข้ได้ป่วย
นี่ก็แสดงว่า เกิดมาเพื่อติดข้องในภูมิซึ่งเต็มไปด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ยังไม่สามารถจะคลาย และจากไปสู่ภูมิอื่นที่สูงกว่านี้ คือ ภูมิที่ละความติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ตามสมควร เพราะเหตุว่าถึงแม้จะติดข้องในสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ไม่เห็นก็เป็นโทษ เพราะเหตุว่าจะไม่รู้เลยว่า สิ่งที่ปรากฏเป็นธรรมอย่างหนึ่ง และยังไม่คลายความติดข้องเลย เพียงแต่เมื่อไม่ปรากฏ ก็ไม่ติดข้อง
เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าจะมีการละคลายความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นความสงบของจิตระดับหนึ่ง ซึ่งถ้าไม่เสื่อม สามารถเป็นความสงบระดับนั้นก่อนจากโลกนี้ไป คือ ก่อนจุติจิตซึ่งเป็นจิตสุดท้ายจะเกิด ความมั่นคงของความสงบนั้นก็เป็นปัจจัยให้เกิดในอีกภูมิหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ภูมิที่เต็มไปด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แต่ก็ยังมีรูปซึ่งเป็นที่ตั้งให้จิตสงบเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้นภูมินั้นก็เป็นที่เกิดของรูปพรหมบุคคล จึงเป็นรูปพรหมภูมิ ไปมาแล้วหรือยัง จะกลับมาอีกไหมคะ ไปมาแล้ว แต่ก็ยากที่จะกลับไป เพราะเหตุว่าต้องเป็นผู้มีปัญญาที่มั่นคงที่เห็นโทษว่า การติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นำมาซึ่งอะไร แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่พ้นจากต้องมีการเห็นอีก ได้ยินอีก ไม่ว่าจะเกิดที่ไหนก็ตาม
นี่คือธรรมซึ่งเป็นอนัตตา ถ้าไม่ศึกษาก็ไม่รู้เลยว่า ที่เกิดของสัตว์โลก ไม่ใช่มีแต่ในมนุษย์เท่านั้น แต่ยังมีภพอื่นตามควรแก่กรรมนั้นๆ ด้วย แต่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้หนทางที่จะดับความยินดีติดข้องทุกอย่างเป็นสมุจเฉท ไม่เกิดอีกเลย สงบไหมคะ สบายไหม ถึงได้ไหม แต่ต้องด้วยปัญญา ความเห็นถูก ตามลำดับ เพราะต้องเป็นผู้รู้สภาพธรรมที่สะสมมาตามความเป็นจริงแล้วรู้ว่า แม้ขณะนี้กำลังเห็น ก็ยังไม่รู้ว่าเลยว่า ติดข้องในสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วจะละได้อย่างไร
เพราะฉะนั้นทางเดียว ที่พึ่งจริงๆ ก็คือว่า ความเข้าใจธรรมตามความเป็นจริงโดยถูกต้อง จึงสามารถที่จะรู้ว่า เป็นธรรม ซึ่งไม่ใช่เรา ยากที่