งานยุ่งเป็นอุปสรรค .. มั้ย


    ผู้ฟัง อย่างคนที่มีงานทำเยอะๆ ไม่ทราบจะมีปัจจัยอะไรที่เกื้อกูลให้สติปัฏฐานเกิด

    ท่านอาจารย์ ไม่เกี่ยวเลยค่ะ ถ้าอย่างนั้นก็มีเราเป็นกฎเกณฑ์ แต่เราสามารถรู้ได้ว่า โลภะจะอยู่ข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง อยู่ข้างๆ บ้าง โดยเราไม่รู้ตัวเลย พยายามหาสถานที่ ไม่ต้องทำอะไรเลย อยากให้สติปัฏฐานเกิด แล้วผลเป็นอย่างไร กับการที่เราไม่ห่วงใย เราอบรมเจริญปัญญาไปเรื่อยๆ แล้วรู้ว่า การที่จะละความเป็นตัวตนได้ ต่อเมื่อปัญญารู้ทั่ว ทั่ว คือ ไม่ว่าเมื่อไรที่สติเกิด ปัญญาก็สามารถรู้ความจริงในขณะนั้น เพราะเวลาที่สติปัฏฐานเกิด เป็นขณะที่อบรมปัญญาที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมที่สติระลึก ไม่มีเวลาอื่นอีกแล้ว ถ้าเป็นเวลาอื่นก็เป็นแต่เรื่องราวที่คิดนึก ตรึกตรอง เป็นระดับขั้นคิด เฉพาะเวลาที่สติระลึกเท่านั้นที่ปัญญาจะค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมนั้นทีละเล็กทีละน้อย ซึ่งน้อยมากเหมือนจับด้ามมีด จนกว่าปัญญาจะถึงความสมบูรณ์ ถึงจะรู้ว่า ถ้าไม่มีสติปัฏฐานเกิดทีละเล็กทีละน้อย ปัญญาระดับนั้นก็เกิดไม่ได้

    อ.กุลวิไล ขณะที่ฝันเป็นวิถีจิตทางมโนทวาร เพราะฉะนั้นขณะที่ฝัน จิตจะมีรูปปรมัตถ์เป็นอารมณ์ได้หรือไม่

    ท่านอาจารย์ เวลาที่นอนหลับ คิดว่าฝัน ได้ยินสลับได้ไหมคะ

    อ.กุลวิไล ได้ค่ะ

    ท่านอาจารย์ เห็นสลับบ้างได้ไหม ใครเปิดไฟจ้าๆ

    อ.กุลวิไล ได้ค่ะ

    ท่านอาจารย์ กลิ่นปรากฏบ้างได้ไหม แต่เรื่องราวในฝันก็ปิดบัง เพราะความรวดเร็วเกิดสืบต่อ เพราะฉะนั้นจิตจึงมีหลายประเภท โมหมูลจิตก็มี ทำให้ไม่รู้สึกตัวในขณะนั้น

    เพราะฉะนั้นสภาพธรรมเกิดดับเร็วมาก ต้องเป็นผู้ที่ตรงจริงๆ ว่า ขณะที่สติปัฏฐานเกิดขณะนี้เป็นอย่างไร มีเหตุปัจจัยที่จะให้สติปัฏฐานเกิดเมื่อไร เราเลือกไม่ได้เลย แต่เราสามารถจะรู้ว่า ขณะใดเป็นสติปัฏฐาน ขณะใดไม่ใช่สติปัฏฐาน อาจจะเป็นสติปัฏฐานชั่วนิดเดียว แล้วก็เป็นเรื่องฝันต่อไปเลย

    เพราะฉะนั้นความเล็กน้อยของขณะที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรม แล้วก็มีเรื่องราวต่างๆ เกิดสืบต่อ ก็จะทำให้เราคิดว่า เราฝัน แต่ต้องเป็นผู้ตรง คือ ถ้าเป็นผู้ที่สติปัฏฐานเกิดจริงๆ ผู้นั้นก็จะรู้ได้ว่าขณะนั้นเป็นสติปัฏฐาน แต่ส่วนใหญ่จะตื่นค่ะ เพราะมีสติที่เกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น แต่ข้อสำคัญที่สุด คือ ทั้งหมดในขณะนั้นไม่ใช่เรื่องสงสัย ไม่ใช่เรื่องอยาก ไม่ใช่เรื่องไม่อยาก แต่เป็นเรื่องที่อะไรจะเกิด แล้วอาจหาญร่าเริงตรงไหน เมื่อไร ที่จะรู้ความจริงว่า ตรงนั้นก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง เพราะว่าจริงๆ แล้ว กว่าจะอาจหาญร่าเริงได้ ก็ต้องเป็นผู้มีความเข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธรรมนั้นมาก มั่นคง ไม่อย่างนั้นเราก็จะหวั่นไหว

    เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจเรื่องมโนทวาร เรื่องปัญจทวารว่า ฝันกับไม่ฝันต่างกันอย่างไร


    หมายเลข 8480
    23 ส.ค. 2567