ตัวตนที่แฝงอยู่


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นผู้ที่ได้ฟังพระธรรมจากพระโอษฐ์ เราเห็นจากพระไตรปิฎกเลย ไม่มากเลย แต่สภาพธรรมกำลังปรากฏ แล้วเวลาที่ตรัสถามคนนั้น คนนั้นก็บอกตามความเป็นจริง จักขุวิญญาณ เห็น เที่ยงไหม สามารถตามได้ด้วยปัญญาของเขาเอง เพราะว่าเขาสะสมมาที่จะเข้าใจ และสภาพธรรมก็ปรากฏ จนกระทั่งสามารถตอบได้

    นี่เป็นเหตุที่บางคนก็คิดว่า ทำไมในพระสูตรฟังไม่มาก แล้วก็บรรลุมรรคผล ก็แน่นอนค่ะ สภาพธรรมก็มีอยู่ แล้วก็สั้นมาก น้อยมาก เร็วมาก เพราะฉะนั้นกว่าปัญญาจะรู้จริงๆ ว่า ขณะนั้นเป็นสภาพธรรม แล้วความเป็นตัวเรา อย่างสักกายทิฏฐิที่เราพูดถึงวันนั้น ๒๐ ใช่ไหมคะ พอถึงเวลาจริงๆ เขาก็จะปรากฏได้ว่า ซ่อนอยู่ตรงไหน เร้นอยู่ตรงไหน แฝงอยู่ตรงไหน และปัญญาเท่านั้นที่สามารถเอาสักกายทิฏฐิออกได้ ไม่อย่างนั้นก็ไม่มีทางเลย เพราะว่าถ้าผิดนิดเดียว อย่างดูรูปนั่ง ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลย เพราะเหตุว่าตัวกำลังดู นี่ก็แล้วใช่ไหมคะ ก็อยู่ในสักกายทิฏฐิ ๒๐ แล้วยังมีรูปทั้งหมด ซึ่งขณะนั้นเป็นความต้องการ เป็นความทรงจำว่าเป็นเรา แต่การที่จะรู้จริงๆ ว่า เป็นสภาพธรรม ไม่ใช่ใครเลย ไม่มีที่นะคะ

    เพราะฉะนั้นก็เป็นเห็นนามในรูป อย่างที่เขาบอก เราฟังดูก็จะเป็นไปได้ยังไง เห็นนามในรูป มีใช่ไหมคะ สักกายทิฏฐิ ๒๐ จิต เจตสิก อยู่ในนี้ แต่ตามความจริง แม้อย่างนั้นก็ต้องละ เพราะอะไรคะ เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นก็ยังเที่ยง หมายความว่ายังเป็นที่อยู่ที่อาศัยอยู่ตรงนั้น แต่การที่จะละจริงๆ แม้แต่สภาพธรรมซึ่งเป็นสภาพรู้หรือธาตุรู้ ซึ่งถ้าขณะที่กำลังเข้าใจลักษณะของนามธรรมซึ่งเป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ ตรงนั้นจะไม่มีที่ เพราะเหตุว่าความเป็นเรายังหาที่ให้นามธรรม เพราะว่าความเป็นเราลึกมาก เอาแล้วค่ะ ตรงไหน ก็ต้องอยู่ที่ตัวตรงหนึ่งตรงใด ใช่ไหมคะ นี่ก็คือนามอยู่ในรูป กว่าจะเห็นความจริงว่า กว่าจะค่อยๆ ละทั้งหมดได้ ความรู้จริงๆ ต้องเกิด

    นี่คือสิ่งที่เราจะต้องสะสม เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราเรียน ที่เราคิดว่าเราเข้าใจมาก น้อยมาก เมื่อเทียบกับขณะที่สัมมาสติไม่ได้เกิด ไม่ได้ระลึกลักษณะของสภาพธรรม แล้วยังจะต้องรู้ตามความเป็นจริงว่า ความติดข้องต้องการมากมายมหาศาลอยู่ตรงไหน และจะค่อยๆ ละคลายลงไปได้ ก็ต่อเมื่อปัญญาสามารถจะเข้าใจลักษณะของนามธรรมว่าเป็นนามธรรม รูปธรรมว่าเป็นรูปธรรม

    เพราะฉะนั้นสีลัพพตปรามาสจะมีอยู่ตลอดเวลา เช่น หาที่ให้นามธรรมอยู่ อย่างเช่นโลภะเกิดที่หทยวัตถุ ก็ต้องมีที่อยู่ว่าอยู่ตรงนี้ แต่ความจริงถ้าเป็นอย่างนั้น คิดว่าหทยวัตถุเที่ยง เพราะเหตุว่าเมื่อหทยวัตถุไม่ได้ปรากฏ เกิดแล้วดับแล้ว แล้วขณะนั้นสัมมาสติไม่ได้ระลึกลักษณะของทหยวัตถุ ซึ่งเป็นรูป แล้วจะไปรู้รูปได้อย่างไร เพียงแค่รู้นิดเดียวก็ดับแล้ว

    เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่ต้องค่อยๆ ฟังอย่างละเอียด แล้วก็ต้องรู้ประโยชน์จริงๆ ว่า เราศึกษาเพื่อที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังมี แต่เวลาที่สัมมาสติเกิด ถ้าเรามีความเห็นผิดหลงเหลืออยู่ อย่างสักกายทิฏฐิ ๒๐ เราก็ต้องหาว่าจิตจะต้องเกิดตรงนั้น ซึ่งความจริงรูปนั้นเกิดแล้วดับแล้ว เพราะว่าขณะที่สัมมาสติระลึกลักษณะของนามธรรม รูปธรรมไม่ได้มีให้ระลึกตรงนั้นเลย มิฉะนั้นเราจะปนหรือสับสนลักษณะของนามธรรม ต้องไปหาที่ให้นามธรรมตลอดเวลาด้วยความเป็นเรา ความเป็นเราตรงนี้ที่จะต้องค่อยๆ ละ

    ผู้ฟัง ตรงนี้ผมคิดว่า ปริยัติจะแยกจากปฏิบัติตรงนี้

    ท่านอาจารย์ คือเราจะต้องเข้าใจว่า นั่นคือปริยัติ แต่สัมมาสติระลึกลักษณะของสภาพธรรมทีละอย่าง อันนี้เราลืมไม่ได้เลย ถ้าเราระลึกลักษณะของนามธรรม แต่ยังเอาความคิดของเรา มีรูปธรรมแฝงหรือเจืออยู่ ก็เหมือนกับว่า เรามีความเข้าใจว่า นามธรรมอยู่ในรูปธรรมบ้าง ซึ่งเราบอกว่า วันๆ เราไม่เคยคิดเลย แต่จริงๆ เวลาฟังธรรม แล้วเราก็รู้ว่า แต่เวลาที่สติเกิดจะรู้ลักษณะของสภาพธรรมทีละอย่าง ถ้าเรายังคงเป็นอย่างนั้นอยู่ นามกับรูปก็แยกจากกันไม่ได้ เพราะจะมีความแอบแฝงที่ต้องการให้มีรูปอยู่ตรงนั้น ทั้งๆ ที่กำลังจะรู้ลักษณะของนาม

    เพราะฉะนั้นเวลาที่สัมมาสติเกิด มันจะมีเยื่อใยของการที่จะรู้ตรงนั้น หรือรู้ตรงนี้ เพราะความรู้ว่า มันอยู่ตรงนั้น มันอยู่ตรงนี้ ความที่ยังมีตัวตนอยู่ จะทำให้สีลัพพตปรามาสซึ่งแฝงอยู่ ถ้าขณะนั้นไม่มีปัญญาที่จะรู้ เราก็ไม่ได้ละตรงนั้น แล้วเราก็จะสงสัยว่า นามธรรมเป็นอย่างไร บางคนก็จะคิดว่ามันอยู่ตรงไหน เพราะว่าจะอยู่นอกตัว นี่อยู่ไม่ได้ แต่เวลาใช้คำว่า “อยู่ในตัว” อย่างคนที่เห็นผิด เขายังไม่ได้ประจักษ์การเกิดดับของนามธรรม และรูปธรรม

    เพราะฉะนั้นสำหรับเขา ตรงนั้นต้องมีรูปอยู่ในความรู้สึกของเขา เมื่อสติเกิดก็จะต้องมีการศึกษาลักษณะของสภาพธรรม ค่อยๆ เข้าใจขึ้นในลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม

    เพราะฉะนั้นเวลาที่มีเยื่อใยความเป็นตัวตนอยู่ตรงไหน คนนั้นก็จะรู้ว่า ตรงนั้นยังมีความเป็นเราอยู่ จนกระทั่งที่จะรู้จริงๆ ที่จะไม่มีเราเหลือเลย ลักษณะของสภาพนามธรรมหรือรูปธรรมแท้ๆ คือ ไม่มีการที่จะไปมีสักกายทิฏฐิ ๑ ใน ๒๐


    หมายเลข 8614
    23 ส.ค. 2567