ความเข้าใจมีหลายระดับ


    ผู้ฟัง การที่จะเห็นสัมมาทิฏฐิ คือ สมมติว่าขณะที่ดิฉันไหว้ต้นกล้วย

    ท่านอาจารย์ สัมมาหรือมิจฉาคะ

    ผู้ฟัง มิจฉาทิฏฐิ ก็ไหว้ต้นกล้วย เพราะขณะนั้นรู้สึกตรงนี้มันผิดแล้ว ตรงนั้นเราจะเห็นอะไรคะ เห็นมิจฉาทิฏฐิใช่ไหมคะ

    ท่านอาจารย์ เข้าใจไหมว่า ขณะนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ

    ผู้ฟัง เข้าใจค่ะ

    ท่านอาจารย์ เข้าใจก็ไม่ใช่ ความเข้าใจถูกมีหลายระดับ

    ผู้ฟัง ความเข้าใจถูกก็เป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว

    ท่านอาจารย์ ระดับไหน

    ผู้ฟัง อีกเรื่องหนึ่ง ตามที่ได้ยินท่านอาจารย์กล่าวอยู่บ่อยๆ ว่า ต้องรู้ความต่างกันระหว่างสติเกิดกับหลงลืมสติ ตรงนี้รู้สึกจะเป็นแบบเริ่มต้นที่สติเกิดระลึก แต่ถ้าเราพิจารณาดูแล้ว เรารู้ว่า หลงลืมสติเกิดขึ้น ขณะนั้นที่จริงแล้วเป็นนามธรรม ไม่ใช่รูป

    ท่านอาจารย์ เวลาหลงลืมสติ คุณบงรู้อะไรคะ

    ผู้ฟัง ไม่ทราบ แต่ขณะที่รู้ว่า หลงลืมสติ แสดงว่าต้องมีสติเกิดรู้

    ท่านอาจารย์ ขณะที่สติเกิดรู้ว่า สติเกิด ถ้าไม่ใช่ขณะนั้นก็คือหลงลืม

    ผู้ฟัง ถ้าลึกไปอีกนิด ก็คือยังไม่รู้เลยว่า รูปธรรมหรือนามธรรม

    ท่านอาจารย์ ค่อยๆ อบรม นี่คือศึกษาที่เป็นอธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นก็จะพูดได้ว่า การที่ท่านอาจารย์กล่าวอยู่บ่อยๆ ว่า จะต้องรู้สภาพระหว่างมีสติเกิดกับหลงลืมสติ รู้สึกจะเป็นเบื้องต้น แล้วหลังจากนั้นถึงจะรู้ลักษณะของรูปบ้าง นามบ้าง

    ท่านอาจารย์ ที่สติระลึก


    หมายเลข 8618
    23 ส.ค. 2567