แล้วเราอยู่ที่ไหน ๒


    ผู้ฟัง ที่อาจารย์พูดผมก็เข้าใจว่า เวลานี้ไม่มีปอด ไม่มีตับ

    ท่านอาจารย์ มีความจำ

    ผู้ฟัง ครับ มีแต่ความจำ ผมก็เข้าใจอีกว่า ในขณะที่เห็นก็ไม่ได้ยิน ในขณะที่ได้ยินก็ไม่เห็น เพราะฉะนั้นก็แสดงว่าเกิดทีละอย่าง หรือว่ามีการเกิดดับ แต่การเกิดดับอันนี้ก็เป็นการ

    ท่านอาจารย์ อันไหนเป็นหมอคะ ดับไปแล้ว ก็ไม่มีเลย นอกจากความจำ เกิดแล้วดับแล้ว อันใหม่มีความหมายตลอด คือ ได้ยินขณะก่อนดับแล้ว เป็นตัวหมอชั่วขณะที่ได้ยินแล้วดับ พอได้ยินใหม่ก็เป็นตัวหมอได้ยิน เพราะความยึดมั่นในสิ่งที่เกิดดับว่าเป็นเรา แต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ค่ะ ว่าไม่มีตัวตนที่เที่ยง มีแต่สภาพธรรมซึ่งเป็นธาตุแต่ละอย่างซึ่งอาศัยเหตุปัจจัยเกิดแล้วก็ดับ

    ผู้ฟัง ที่ท่านอาจารย์กล่าวมาว่า หมายความว่า แม้แต่คำว่า “มี” แล้วก็เหมือนไม่มี ถ้าจะมีต่อเมื่อสิ่งนั้นปรากฏ

    ผู้ฟัง เขาเรียกว่า มีแล้วหามีไม่

    ผู้ฟัง นั่นโดยความหมายว่าดับไปก็ได้ ใช่ไหมครับ แต่เวลานี้หมายความว่า มีแล้วเสมือนว่าไม่มี เพราะสิ่งนั้นยังไม่ปรากฏ หรือไม่กระทบ ไม่สัมผัส อย่างท่านอาจารย์ยกตัวอย่างว่า เช่นมีปอด มีตับ ถ้าเรากล่าวโดยสมมติบัญญัติ ก็ต้องยอมรับว่า สิ่งนี้เรียกว่าปอด สิ่งนี้เรียกว่าตับ

    ท่านอาจารย์ โดยสมมตินะคะ จริงๆ แล้วก็มีแต่รูป

    ผู้ฟัง ถึงแม้ว่าจะมีอยู่ ใช่ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ ซึ่งไม่ต้องเรียกปอด ตับ แต่ลักษณะแท้ๆ ของเขา จะเป็นอ่อนหรือแข็ง เย็นหรือร้อน

    ผู้ฟัง ทีนี้เมื่อเรากล่าวถึงลักษณะที่เกิด หรือมีการกระทบ มีการรู้ต่อเมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้น จึงรู้ว่าสิ่งนั้นมี เพราะฉะนั้นพวกตับ ไต ไส้ พุงที่อยู่ภายใน มีอยู่ก็เหมือนไม่มี เพราะไม่มีการกระ

    ท่านอาจารย์ ค่ะ ไม่ปวด ไม่เจ็บ ต่อปวดเจ็บเมื่อไร กายกระทบสัมผัส ก็เป็นปัจจัยให้จิตเกิดตรงนั้นให้รู้ รูปไม่เดือดร้อนเลย

    ผู้ฟัง แต่ว่าทุกวันนี้ถึงแม้จะกล่าวว่า รูปเป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ หรือเป็นสิ่งที่เกิดดับ แต่ก็ยังความผูกพัน เป็นห่วง แสวงหา โดยเฉพาะทุกวันนี้ก็กล่าวเรื่องของคุณหมอนิดหน่อย คุณหมอก็สนใจเรื่องสุขภาพมาก ก็พยายามระวังรักษา เช่น อาหาร การควบคุมอะไรต่างๆ ก็รู้สึกว่า เพิ่มขึ้นๆ หมอมีความสนใจในความรู้ทางโลกมาก นี่ผมก็มาสังเกตดูว่า ถึงคุณหมอจะแสวงหาหรือค้นคว้าตามตำรับตำรา ถ้าเป็นโอกาสของอกุศลกรรมให้ผล การแสวงหา การกิน การรักษาก็คงจะไม่มีผลอะไรเลย

    ท่านอาจารย์ อย่างนี้คุณศุกลจะถูกเขาว่า ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ต้องทำอะไรซิ แล้วแต่กรรมใช่ไหมคะ

    ผู้ฟัง แต่ว่าถ้ามีโอกาสจะรักษาป้องกันก็เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องระมัดระวัง แต่ถ้าระมัดระวังไปแล้ว แล้วยิ่งระมัดระวังเท่าไร ยิ่งกลัวเท่าไร ยิ่งมีการป้องกันมากขึ้น ก็เป็นเรื่องของความวุ่นวายในชีวิตประจำวัน ผมคิดในประเด็นนี้ที่ว่าวุ่นวาย ก็เลยกลายเป็นว่า

    ท่านอาจารย์ หมออาจจะวุ่นวายเกี่ยวกับสุขภาพของหมอ แล้วคุณศุกลวุ่นวายเรื่องอะไร

    ผู้ฟัง ไปวุ่นวายเรื่องของคุณหมอ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า แต่ละคนก็มีความวุ่นวายตามการสะสมว่า ใครจะวุ่นวายเรื่องอะไร อย่างคุณหมอวุ่นวายตัวหมอ แต่คุณศุกลวุ่นวายคนอื่น

    ผู้ฟัง เพราะไปเห็น เช้าก็เห็น และเวลากลางวันก็เห็นคุณหมอมีความกระตือรือร้น

    ท่านอาจารย์ ก็เรื่องของคุณหมอ นั่นแสดงถึงการสะสมที่ต่างกันจริงๆ นะคะ


    หมายเลข 8625
    22 ส.ค. 2567