รู้ด้วยจิตหรือรู้ด้วยปัญญา
ผู้ฟัง ถ้าสติเกิดไม่ว่าทวารไหน เหมือนกับไม่ได้เจริญสติปัฏฐานนะครับ โดยเฉพาะเรื่องทางกายทวาร ไม่เคยคิดเลย มันก็เป็นอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ ก็มีสภาพธรรมปรากฏ กายวิญญาณก็ปรากฏ เราก็ไม่ได้ไปสนใจมัน
ผู้ฟัง ก็หนีปริยัติไม่พ้น
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ปริยัติอยู่ตอนหนึ่ง เราเรียนมานี่ตอนหนึ่ง และตอนที่กายวิญญาณเกิดเราก็เลยไม่รู้ เราก็ศึกษามาว่า วิญญาณมันเกิดอย่างนี้ ก็เกิดอย่างนี้ นั่นคือให้ศึกษาลักษณะปรมัตถ์ที่ไม่ใช่ตัวตน แต่เรามีความรู้ว่า ปรมัตถธรรมมีจริงๆ และเราฟังมา และเวลานี้ก็มีที่ปรมัตถธรรม เรารู้ว่ามี แข็งมี ได้ยินมี แต่นี่คือไม่ใช่การอบรมเจริญปัญญา เพราะว่าขณะนั้นเราเอาความเข้าใจที่เป็นปริยัติ แล้วเวลาที่กายวิญญาณเกิดรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ เท่านั้นเองที่เรามาบอกว่า นี่มันก็มี และมีเฉยๆ
ผู้ฟัง ผมก็ไม่ได้คิดว่าเป็นกายวิญญาณด้วย
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องคิดค่ะ แต่หมายความว่าเราเข้าใจแล้วไง เราเข้าใจมาแล้ว เพราะฉะนั้นเวลาที่ปรากฏ เราก็รู้เพียงแค่ปรากฏ เหมือนความรู้ขั้นปริยัติซึ่งเราฟังมาตอนหนึ่ง กับสิ่งที่กำลังปรากฏเวลานี้มีลักษณะ แต่ปัญญาไม่ได้เจริญ
ผู้ฟัง ซึ่งก็ผิดกว่าแต่ก่อน ซึ่งเราก็ไม่ได้ไปสนใจอย่างนี้
ท่านอาจารย์ ถูกค่ะ คือแต่ก่อน พอเขาถามว่าขมไหม เราบอกว่าขม ใช่ไหมคะ เราเรียนปริยัติมา เรารู้ว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง เราก็มีความรู้ ๒ ตอน คือก่อนศึกษา ขม หวาน เสียงดัง สุข เจ็บ เราก็มีความรู้ แต่เป็นเราเต็มตัว ทีนี้เวลาที่เราฟังปริยัติ เรารู้ว่า นี่ไม่ใช่เรา ตอนฟังมีความเข้าใจว่าไม่ใช่เรา พอรู้ว่าไม่ใช่เรา พอสภาพธรรม อย่างกายวิญญาณปรากฏ เราก็รู้ว่า นี่คือกายวิญญาณ บางคนก็ใส่ชื่อ บางคนก็ไม่ใส่ชื่อ ไม่ต้องนึก แต่ก็ยังคงเป็นความรู้ขั้นปริยัติ เวลาที่กายวิญญาณปรากฏ เหมือนกับพื้นของมันมีที่จะรู้ว่า นี่คือสภาพธรรม แต่ปัญญาไม่ได้เจริญ
เพราะฉะนั้นหนทางที่ปัญญาจะเจริญ จะต้องรู้ลักษณะที่แยกขาดของนามธรรม และรูปธรรม
ผู้ฟัง คือถึงจุดนี้ก็เป็นเรื่องที่ยากมาก ผมสังเกตดู เมื่อสติเกิด ถ้าทางหู ผมไม่รู้ครับ ผมไม่รู้เรื่อง
ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างนั้นไม่ใช่การพิจารณาลักษณะที่ต่างกันของนามธรรม และรูปธรรม เพราะว่าการที่สติระลึกเพื่อจะรู้ลักษณะที่ต่าง มันมีสภาพธรรม ๒ อย่าง อย่างเย็นก็ปรากฏทางกาย จะไปปรากฏทางอื่นไม่ได้ แต่มันก็คือกายวิญญาณ ธรรมดาๆ เรายังไม่รู้ความต่างของสภาพรู้กับลักษณะเย็น แต่ถ้าเราไม่สามารถรู้ความต่างกันของนามธรรม และรูปธรรม อันนั้นก็ไม่ใช่สติปัฏฐาน
ผู้ฟัง ผมก็รับว่าไม่รู้ว่าเป็นรูปหรือนาม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ใช่สติปัฏฐาน
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นก็ไม่มีใครเป็นสติปัฏฐานสักคน
ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่ จะไปปฏิเสธอย่างนั้นได้อย่างไร ไม่ต้องถามใครเลยเรื่องการศึกษาธรรม เป็นเรื่องเฉพาะตัวที่เรารู้ เราเข้าใจ และเมื่อมีสติเกิด
ผู้ฟัง แล้วเป็นสติอะไรครับ
ท่านอาจารย์ เวลาที่สติเกิด เราจะรู้เลยว่า ขณะนี้ปัญญารู้หรือเปล่า ถ้าปัญญาไม่รู้ ทางที่ปัญญาจะรู้คืออย่างไร ทุกคนเป็นปัจจัตตังที่จะมีความเข้าใจของตัวเองค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนกระทั่งรู้ว่า ทางที่ปัญญาเกิด ไม่ใช่ปล่อยให้ไม่คิด นั่นก็ไม่ใช่เราเป็นตัวตนที่ปล่อย เกิดไม่คิดขึ้นมา และความรู้ที่เราเคยรู้มาก่อนว่านี่เป็นสติ อย่างที่จี๊ดหยิบส้ม มีสติของเขาที่จะระลึกว่า นี่เป็นสติ แต่นั่นเขาไม่รู้ลักษณะของสติที่ไม่ใช่เขา แต่มีความรู้อาการที่เกิดระลึก แล้วเขาก็ใส่ชื่อเลยว่า นี่สติเกิด ลักษณะของสติก็มี แต่ไม่ใช่ขั้นที่จะรู้ว่า ไม่ใช่ตัวตน จะต้องมีความละเอียดเข้าไปอีกเรื่อยๆ
ผู้ฟัง ถ้าสติเกิดแล้วไม่รู้ ก็ไม่เป็นสติปัฏฐาน ที่อาจารย์บอก
ท่านอาจารย์ เป็นสติหลายขั้น สติปัฏฐานอาจจะมีน้อยมาก หรือไม่มีเลย แต่ว่ามีสติขั้นระลึกเรื่องราวได้
เพราะฉะนั้นปัจจัตตังแต่ละคนคือตรงนี้ ไม่ใช่ไปรู้ของคนอื่น แต่รู้เฉพาะตัวจริงๆ ว่า ขณะนี้กายวิญญาณกำลังมีเย็นปรากฏ
ผู้ฟัง เราตอบไม่ได้ครับว่า นั่นนามเป็นอารมณ์ หรือรูป
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นมันก็ไม่เจริญ จะเจริญได้อย่างไร เมื่อไม่ค่อยรู้ขึ้นในลักษณะที่ต่างกันของนามธรรม และรูปธรรม อยู่อย่างนี้ก็จะไม่มีการรู้ จะไม่มีการเจริญที่จะรู้
ผู้ฟัง แล้วเจริญให้รู้ ทำอย่างไร
ท่านอาจารย์ หมายความว่าเราฟัง แล้วเรารู้ว่า ไม่ใช่เพียงแต่สภาพธรรมปรากฏ ไม่ใช่เพียงเท่านั้น ยังจะต้องค่อยๆ รู้ลักษณะที่เป็นธาตุรู้ กับขณะที่เป็นลักษณะที่เย็นหรือร้อน
ผู้ฟัง สติเกิดหรือไม่ เรารู้ ใช่ไหมครับ
ท่านอาจารย์ สติเกิดหรือกายวิญญาณเกิด
ผู้ฟัง สติเกิดครับ
ท่านอาจารย์ แล้วกายวิญญาณเกิดหรือเปล่า
ผู้ฟัง เกิดด้วยครับ
ท่านอาจารย์ ต่างกันอย่างไร
ผู้ฟัง เราไม่มีวัตถุประสงค์ในการรู้สติ แต่เราต้องการรู้สภาวธรรมของนาม และรูป
ท่านอาจารย์ ค่ะ กายวิญญาณก็รู้อยู่เวลานี้ว่าแข็ง กายวิญญาณก็รู้อยู่ว่าเย็น นี่คือกายวิญญาณที่รู้