สนทนาธรรมที่วัดวังตะกู ๓
พระคุณเจ้า การศึกษาพระปริยัติธรรมกับการปฏิบัติธรรม ค่อนข้างจะไม่ไปด้วยกันได้ ตอนนี้ฟังคุณโยมอาจารย์ตอบแล้ว ก็คงจะทราบว่า จริงๆ แล้วการศึกษาปริยัติธรรมกับการปฏิบัติธรรมอยู่คู่กันได้ ถ้าเราไม่มีคำว่า ตัวกู ของกู หรือตัวเราเข้าอยู่ในการศึกษา หรือตัวเราเข้าอยู่ในการปฏิบัติธรรมนั้น สรุปอย่างนี้ถูกต้องหรือไม่
ท่านอาจารย์ คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มี ๓ ระดับ ปริยัติศาสนา คือ ศึกษาให้เข้าใจเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงก่อน เพราะว่าถ้าไม่มีการฟังพระธรรมเลย จะไม่เข้าใจว่า ธรรมคืออะไร ธรรมอยู่ที่ไหน ขณะนี้เป็นเราหรือว่าเป็นธรรม แต่เมื่อมีความเข้าใจถูก ก็จะถึงอีกระดับหนึ่งคือมีปัจจัยที่ทำให้มีการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่แต่เพียงฟังเรื่องราวของสภาพธรรมเดี๋ยวนี้ ขณะที่ฟัง สภาพธรรมเกิดดับ ทำหน้าที่ของสภาพธรรมแต่ละประเภท แต่ว่าไม่มีการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมเลย เพียงแต่กำลังฟังให้เข้าใจเรื่องราวของสภาพธรรมเท่านั้น ต่อเมื่อใดมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น เป็นปัจจัย เป็นสังขารขันธ์ทำให้มีการระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่ศึกษาฟังเข้าใจแล้ว แล้วค่อยๆ ศึกษาอีกระดับหนึ่ง คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา จนกว่าจะประจักษ์แจ้งสภาพธรรมตรงตามที่ได้ศึกษา
เพราะฉะนั้นปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ต้องตรงกัน แยกกันไม่ได้เลย ใครก็ตามที่ไม่มีปริยัติ ไม่มีการศึกษาให้เข้าใจเรื่องสภาพธรรม แล้วจะปฏิบัติต้องผิด ใครก็ตามเมื่อไม่ได้ศึกษาแล้วปฏิบัติ ก็หมายความว่าคนนั้นไม่ได้มีพระธรรมเป็นสรณะ เพราะว่าคิดเอง ไม่ได้ศึกษาพระธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย แล้วก็ต้องผิด เพราะเหตุว่าใครจะมีความรู้ หรือมีความสามารถที่จะเข้าใจธรรมโดยไม่ศึกษาพระธรรม
เพราะฉะนั้นต้องเป็นสิ่งที่ค่อยๆ พิจารณาในความสมบูรณ์ของพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ทั้งในขั้นปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
พระคุณเจ้า คิดว่า เชื่อได้ว่า เรากำลังเข้าสู่ขบวนการของมหาสติปัฏฐานแบบไหลรินอย่างชนิดที่เราไม่ค่อยรู้สึกตัว หรือรู้สึกตัวก็ตาม ผมมั่นใจว่า วิธีนี้น่าจะเป็นวิธีที่ตรง และถูกต้อง และเป็นวิธีที่เราค่อยๆ เติมให้เต็มในที่สุด เป็นวิธีที่ทำให้เราสามารถเข้าใจบ้าง ถึงแม้ว่าหลายท่านจะงงอยู่บ้าง ตอนนี้เปิดโอกาสให้คุณโยมอาจารย์ได้นำพาเราเข้าสู่มหาสติปัฏฐานสูตร ที่เป็นความเข้าใจล้วนๆ ความรู้สึกล้วนๆ ซึ่งไม่มีคำว่า ตัวตนของเราอยู่ในขบวนการศึกษานั้นอีกสักครั้งหนึ่ง
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ทำให้ผู้ฟัง ผู้ศึกษา ผู้เป็นพุทธศาสนิกชน ผู้ที่เป็นพุทธบริษัทเกิดปัญญาของตนเอง
นี่คือประโยชน์สูงสุดที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมอบให้ ไม่ได้มอบทรัพย์สินเงินทอง เพราะเหตุว่าทรัพย์สินเงินทองก็มีวันหมดสิ้นไป แต่สิ่งที่จะได้มาแสนยาก คือ ปัญญา ซึ่งกว่าพระองค์จะได้บำเพ็ญพระบารมีจนกระทั่งตรัสรู้ ก็ถึง ๔ อสงไขยแสนกัป สำหรับผู้ที่ยิ่งด้วยปัญญา ถ้าสำหรับผู้ที่ยิ่งด้วยศรัทธา ก็ถึง ๘ อสงไขยแสนกัป ถ้าเป็นผู้ที่ยิ่งด้วยวิริยะ ก็ถึง ๑๖ อสงไขยแสนกัป
เพราะฉะนั้นปัญญาเป็นสิ่งที่ประเสริฐสุด ซึ่งผู้ที่เป็นพุทธศาสนิกชนต้องทราบว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสมบูรณ์ด้วยพระปัญญาระดับทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะทรงแสดงพระธรรมให้ผู้ฟังได้ฟัง ได้พิจารณา จนเป็นปัญญาของตนเอง
เพราะฉะนั้นที่พระคุณเจ้ากล่าวเมื่อกี้นี้ ใช้คำว่า เริ่มเข้าสู่ขบวนการของสติปัฏฐาน ก็หมายความว่า เริ่มมีความเข้าใจ มีความเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรม ในเรื่องราวของธรรม แต่ไม่มีใครทำ ไม่มีใครจะปฏิบัติ แม้แต่ในขั้นฟังต้องค่อยๆ เข้าใจให้ถูกต้องว่า ไม่มีเรา แต่มีสภาพธรรม การที่รู้ว่าเป็นธรรม จะเป็นการเตือน เป็นสัญญา ความจำ ที่จะทำให้สติปัฏฐานระลึกลักษณะของสภาพธรรม เพราะคำว่า “สติปัฏฐาน” หมายความถึงสิ่งที่มีจริงซึ่งสติกำลังระลึก เพื่อรู้ความจริงของสิ่งนั้น อย่างเช่นขณะนี้กำลังเห็น สติปัฏฐานต้องหมายความว่าระลึกที่ลักษณะของนามธรรม หรือระลึกที่ลักษณะของรูปธรรม แต่แม้แต่คำว่า “ระลึก” ก็ไม่ใช่หมายความว่า พอพูดแล้วก็จะระลึกได้
ตามที่ได้ยินได้ฟังกันมาก็ทราบว่า มีขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ ๑ เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑ แต่ไม่เข้าใจจริงๆ เพราะเหตุว่าเราจะทำ ถ้าผู้ที่จะทำ หมายความว่าไม่เข้าใจขันธ์ ๕ ไม่เข้าใจธรรม ไม่เข้าใจปรมัตถธรรม ไม่เข้าใจอภิธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ และทรงแสดง แต่ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจธรรม รู้ว่าเป็นปรมัตถธรรม รู้ว่าเป็นอภิธรรม รู้ว่าจำแนกเป็นขันธ์ ๕
จิต เจตสิก รูป รูปทุกชนิด ทุกประเภท เป็นรูปขันธ์ หมายความเป็นส่วนของรูป เป็นประเภทรูป ซึ่งไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น ไม่ว่ารูปในอดีต รูปขณะนี้ รูปอนาคต รูปก็เป็นสภาพที่ไม่รู้อะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นตา หรือหู หรือจมูก หรือลิ้น หรือกาย หรือดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ไม่ใช่สภาพที่รู้อะไรเลย
เพราะฉะนั้นรูปขันธ์ก็หมายความถึงธรรมส่วนของรูปที่เป็นกอง หรือส่วนของรูป เป็นรูป ไม่ว่าจะในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ไกล ใกล้ หยาบ ละเอียด ภายใน ภายนอก เพราะว่ารูปเปลี่ยนไป เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยแล้วก็ดับไป ทั้งอดีต และในขณะนี้ และข้างหน้า ก็คงเป็นเพียงรูปขันธ์
เวทนาเจตสิก เป็นสภาพที่รู้สึก ต้องเกิดกับจิตทุกดวง ส่วนสัญญาเจตสิก เป็นสภาพจำ ในอดีตก็จำเรื่องต่างๆ แม้ขณะนี้ก็กำลังจำทุกขณะ สัญญาเจตสิกต้องเกิดกับจิตทุกดวง สังขารขันธ์ ได้แก่ เจตสิก ๕๐ สติเป็นสังขารขันธ์ ปัญญาเป็นสังขารขันธ์ ความเพียรเป็นสังขารขันธ์ โลภะเป็นสังขารขันธ์ สิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวันทั้งหมดซึ่งเป็นนามธรรม ที่ไม่ใช่จิต ไม่ใช่เวทนา ไม่ใช่สัญญา เป็นสังขารขันธ์ทั้งหมด
เพราะฉะนั้นไม่มีเราจะทำ ปัญญาเป็นสังขารขันธ์ ขณะที่ฟังเข้าใจ เริ่มสะสม ปรุงแต่งที่จะให้มีการระลึกได้ รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้นสติปัฏฐานเป็นเรื่องเฉพาะตัว ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ใครคนหนึ่งคนใดจะบอก หรือจะทำ แต่ผู้นั้นจะเข้าใจได้ถูกต้องว่า มีความเข้าใจในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏพอที่จะรู้ว่าเป็นธรรมจริงๆ หรือเปล่าในขั้นการศึกษา
ในขั้นการศึกษาเมื่อรู้ว่า เป็นธรรมจริงๆ จากการฟังโดยละเอียด ก็มีปัจจัยที่จะทำให้สติระลึกที่ลักษณะของนามธรรมหรือรูปธรรมเมื่อไร สตินั้นจึงเป็นเป็นสติปัฏฐาน ซึ่งจำแนกเป็นกาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งก็ได้แก่ จิต เจตสิก รูปนั่นเอง
พระคุณเจ้า การศึกษาพระปริยัติธรรมกับการปฏิบัติธรรม ค่อนข้างจะไม่ไปด้วยกันได้ ตอนนี้ฟังคุณโยมอาจารย์ตอบแล้ว ก็คงจะทราบว่า จริงๆ แล้วการศึกษาปริยัติธรรมกับการปฏิบัติธรรมอยู่คู่กันได้ ถ้าเราไม่มีคำว่า ตัวกู ของกู หรือตัวเราเข้าอยู่ในการศึกษา หรือตัวเราเข้าอยู่ในการปฏิบัติธรรมนั้น สรุปอย่างนี้ถูกต้องหรือไม่
ท่านอาจารย์ คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มี ๓ ระดับ ปริยัติศาสนา คือ ศึกษาให้เข้าใจเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงก่อน เพราะว่าถ้าไม่มีการฟังพระธรรมเลย จะไม่เข้าใจว่า ธรรมคืออะไร ธรรมอยู่ที่ไหน ขณะนี้เป็นเราหรือว่าเป็นธรรม แต่เมื่อมีความเข้าใจถูก ก็จะถึงอีกระดับหนึ่งคือมีปัจจัยที่ทำให้มีการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่แต่เพียงฟังเรื่องราวของสภาพธรรมเดี๋ยวนี้ ขณะที่ฟัง สภาพธรรมเกิดดับ ทำหน้าที่ของสภาพธรรมแต่ละประเภท แต่ว่าไม่มีการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมเลย เพียงแต่กำลังฟังให้เข้าใจเรื่องราวของสภาพธรรมเท่านั้น ต่อเมื่อใดมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น เป็นปัจจัย เป็นสังขารขันธ์ทำให้มีการระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่ศึกษาฟังเข้าใจแล้ว แล้วค่อยๆ ศึกษาอีกระดับหนึ่ง คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา จนกว่าจะประจักษ์แจ้งสภาพธรรมตรงตามที่ได้ศึกษา
เพราะฉะนั้นปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ต้องตรงกัน แยกกันไม่ได้เลย ใครก็ตามที่ไม่มีปริยัติ ไม่มีการศึกษาให้เข้าใจเรื่องสภาพธรรม แล้วจะปฏิบัติต้องผิด ใครก็ตามเมื่อไม่ได้ศึกษาแล้วปฏิบัติ ก็หมายความว่าคนนั้นไม่ได้มีพระธรรมเป็นสรณะ เพราะว่าคิดเอง ไม่ได้ศึกษาพระธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย แล้วก็ต้องผิด เพราะเหตุว่าใครจะมีความรู้ หรือมีความสามารถที่จะเข้าใจธรรมโดยไม่ศึกษาพระธรรม
เพราะฉะนั้นต้องเป็นสิ่งที่ค่อยๆ พิจารณาในความสมบูรณ์ของพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ทั้งในขั้นปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
พระคุณเจ้า คิดว่า เชื่อได้ว่า เรากำลังเข้าสู่ขบวนการของมหาสติปัฏฐานแบบไหลรินอย่างชนิดที่เราไม่ค่อยรู้สึกตัว หรือรู้สึกตัวก็ตาม ผมมั่นใจว่า วิธีนี้น่าจะเป็นวิธีที่ตรง และถูกต้อง และเป็นวิธีที่เราค่อยๆ เติมให้เต็มในที่สุด เป็นวิธีที่ทำให้เราสามารถเข้าใจบ้าง ถึงแม้ว่าหลายท่านจะงงอยู่บ้าง ตอนนี้เปิดโอกาสให้คุณโยมอาจารย์ได้นำพาเราเข้าสู่มหาสติปัฏฐานสูตร ที่เป็นความเข้าใจล้วนๆ ความรู้สึกล้วนๆ ซึ่งไม่มีคำว่า ตัวตนของเราอยู่ในขบวนการศึกษานั้นอีกสักครั้งหนึ่ง
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ทำให้ผู้ฟัง ผู้ศึกษา ผู้เป็นพุทธศาสนิกชน ผู้ที่เป็นพุทธบริษัทเกิดปัญญาของตนเอง
นี่คือประโยชน์สูงสุดที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมอบให้ ไม่ได้มอบทรัพย์สินเงินทอง เพราะเหตุว่าทรัพย์สินเงินทองก็มีวันหมดสิ้นไป แต่สิ่งที่จะได้มาแสนยาก คือ ปัญญา ซึ่งกว่าพระองค์จะได้บำเพ็ญพระบารมีจนกระทั่งตรัสรู้ ก็ถึง ๔ อสงไขยแสนกัป สำหรับผู้ที่ยิ่งด้วยปัญญา ถ้าสำหรับผู้ที่ยิ่งด้วยศรัทธา ก็ถึง ๘ อสงไขยแสนกัป ถ้าเป็นผู้ที่ยิ่งด้วยวิริยะ ก็ถึง ๑๖ อสงไขยแสนกัป
เพราะฉะนั้นปัญญาเป็นสิ่งที่ประเสริฐสุด ซึ่งผู้ที่เป็นพุทธศาสนิกชนต้องทราบว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสมบูรณ์ด้วยพระปัญญาระดับทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะทรงแสดงพระธรรมให้ผู้ฟังได้ฟัง ได้พิจารณา จนเป็นปัญญาของตนเอง
เพราะฉะนั้นที่พระคุณเจ้ากล่าวเมื่อกี้นี้ ใช้คำว่า เริ่มเข้าสู่ขบวนการของสติปัฏฐาน ก็หมายความว่า เริ่มมีความเข้าใจ มีความเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรม ในเรื่องราวของธรรม แต่ไม่มีใครทำ ไม่มีใครจะปฏิบัติ แม้แต่ในขั้นฟังต้องค่อยๆ เข้าใจให้ถูกต้องว่า ไม่มีเรา แต่มีสภาพธรรม การที่รู้ว่าเป็นธรรม จะเป็นการเตือน เป็นสัญญา ความจำ ที่จะทำให้สติปัฏฐานระลึกลักษณะของสภาพธรรม เพราะคำว่า “สติปัฏฐาน” หมายความถึงสิ่งที่มีจริงซึ่งสติกำลังระลึก เพื่อรู้ความจริงของสิ่งนั้น อย่างเช่นขณะนี้กำลังเห็น สติปัฏฐานต้องหมายความว่าระลึกที่ลักษณะของนามธรรม หรือระลึกที่ลักษณะของรูปธรรม แต่แม้แต่คำว่า “ระลึก” ก็ไม่ใช่หมายความว่า พอพูดแล้วก็จะระลึกได้
ตามที่ได้ยินได้ฟังกันมาก็ทราบว่า มีขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ ๑ เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑ แต่ไม่เข้าใจจริงๆ เพราะเหตุว่าเราจะทำ ถ้าผู้ที่จะทำ หมายความว่าไม่เข้าใจขันธ์ ๕ ไม่เข้าใจธรรม ไม่เข้าใจปรมัตถธรรม ไม่เข้าใจอภิธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ และทรงแสดง แต่ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจธรรม รู้ว่าเป็นปรมัตถธรรม รู้ว่าเป็นอภิธรรม รู้ว่าจำแนกเป็นขันธ์ ๕
จิต เจตสิก รูป รูปทุกชนิด ทุกประเภท เป็นรูปขันธ์ หมายความเป็นส่วนของรูป เป็นประเภทรูป ซึ่งไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น ไม่ว่ารูปในอดีต รูปขณะนี้ รูปอนาคต รูปก็เป็นสภาพที่ไม่รู้อะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นตา หรือหู หรือจมูก หรือลิ้น หรือกาย หรือดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ไม่ใช่สภาพที่รู้อะไรเลย
เพราะฉะนั้นรูปขันธ์ก็หมายความถึงธรรมส่วนของรูปที่เป็นกอง หรือส่วนของรูป เป็นรูป ไม่ว่าจะในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ไกล ใกล้ หยาบ ละเอียด ภายใน ภายนอก เพราะว่ารูปเปลี่ยนไป เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยแล้วก็ดับไป ทั้งอดีต และในขณะนี้ และข้างหน้า ก็คงเป็นเพียงรูปขันธ์
เวทนาเจตสิก เป็นสภาพที่รู้สึก ต้องเกิดกับจิตทุกดวง ส่วนสัญญาเจตสิก เป็นสภาพจำ ในอดีตก็จำเรื่องต่างๆ แม้ขณะนี้ก็กำลังจำทุกขณะ สัญญาเจตสิกต้องเกิดกับจิตทุกดวง สังขารขันธ์ ได้แก่ เจตสิก ๕๐ สติเป็นสังขารขันธ์ ปัญญาเป็นสังขารขันธ์ ความเพียรเป็นสังขารขันธ์ โลภะเป็นสังขารขันธ์ สิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวันทั้งหมดซึ่งเป็นนามธรรม ที่ไม่ใช่จิต ไม่ใช่เวทนา ไม่ใช่สัญญา เป็นสังขารขันธ์ทั้งหมด
เพราะฉะนั้นไม่มีเราจะทำ ปัญญาเป็นสังขารขันธ์ ขณะที่ฟังเข้าใจ เริ่มสะสม ปรุงแต่งที่จะให้มีการระลึกได้ รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้นสติปัฏฐานเป็นเรื่องเฉพาะตัว ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ใครคนหนึ่งคนใดจะบอก หรือจะทำ แต่ผู้นั้นจะเข้าใจได้ถูกต้องว่า มีความเข้าใจในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏพอที่จะรู้ว่าเป็นธรรมจริงๆ หรือเปล่าในขั้นการศึกษา
ในขั้นการศึกษาเมื่อรู้ว่า เป็นธรรมจริงๆ จากการฟังโดยละเอียด ก็มีปัจจัยที่จะทำให้สติระลึกที่ลักษณะของนามธรรมหรือรูปธรรมเมื่อไร สตินั้นจึงเป็นเป็นสติปัฏฐาน ซึ่งจำแนกเป็นกาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งก็ได้แก่ จิต เจตสิก รูปนั่นเอง