หนทางละความเห็นผิดคือการศึกษาโดยลำดับ
ผู้ฟัง ขอให้เห็นความแตกต่าง ระหว่างเห็นผิดด้วยความเป็นเรากับว่าเป็นของเรา จำได้ว่าเป็นของท่าน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็จะมีความจำที่เกิดกับจิตทุกประเภท ก็แสดงให้เห็นว่าเราจะต้องมีความเข้าใจสิ่งที่เราเคยได้ยินบ่อย ซ้ำ เช่น บัญญัติ ปรมัตถ์ สัญญาหรือว่าความจำ แต่ธรรมเป็นสิ่งที่ต้องค่อยๆ เข้าใจขึ้น ถูกต้องขึ้น ตรงขึ้นที่จะเห็นว่าไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น สิ่งที่ทุกคนควรจะคำนึงถึงก็คือความเห็นผิดซึ่งเป็นอันตรายมาก คำสอนที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงๆ แล้วก็กำลังปรากฏด้วย เพราะฉะนั้น แม้แต่เพียงการศึกษาธรรมที่ถูกต้องก็จะทำให้ถึงลักษณะของสภาพธรรมนั้นโดยสติสัมปชัญญะที่กำลังเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ จะเว้นไม่ใช้คำว่าสติก็ได้ เพราะเหตุว่ามีสิ่งที่กำลังปรากฏแล้วเข้าใจ กำลังเข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ นั่นคือต้องมีสติแล้ว และนอกจากสติแล้วต้องมีปัญญาด้วย ไม่ใช่มีแต่สติแล้วก็ไม่รู้ไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ นี้คือหนทางเดียวที่จะดับความเห็นผิดทุกประการได้โดยรู้ว่าขณะนั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ถ้าดับสภาพธรรมที่ยึดถือว่าเป็นเรา ทิฏฐิความเห็นหลากหลายมากมายต่างๆ นาๆ ก็เกิดไม่ได้เลย แต่ที่ยังมีความเห็นผิดต่างๆ มากมายก็เพราะเหตุว่าไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วก็มีการยึดถือสภาพธรรมนั้นว่าเป็นเรา ซึ่งสำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอริยบุคคลแล้ว ไม่ใช่พระโสดาบันก็ยังคงมีกาละที่จะเกิดการยึดถือว่าขณะนั้นเป็นเรา แต่ว่าปกติในชีวิตประจำวันก็พิจารณาได้ว่ามีโลภมูลจิตประเภทไหน มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วยหรือว่าไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย และความเห็นผิดมีตั้งแต่อย่างหยาบ เห็นได้ง่ายๆ เช่น ไปกราบไหว้ต้นกล้วย งูขาวหรืออะไรก็แล้วแต่ และมีความคิดว่าจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ ลงอาบน้ำในแม่น้ำคงคา บางคนก็ขอน้ำคงคากลับมาฝากจากแม่น้ำคงคา นี่ก็เป็นเรื่องที่แล้วแต่ว่าความคิดในขณะนั้นคิดอะไร ซึ่งคนอื่นไม่สามารถที่จะรู้ได้เลย แต่ตัวเองสามารถที่จะรู้ได้ ยิ่งเมื่อมีการศึกษาธรรมแล้ว ธรรมไม่ได้อยู่ในหนังสือ แต่เวลาที่มีความเข้าใจลักษณะของธรรม ก็จะมีสติสัมปชัญญะอีกขึ้นหนึ่ง ซึ่งเมื่อธรรมใดเกิดปรากฏ แต่ก่อนไม่เคยรู้ลักษณะนั้นเลย แต่ขณะใดที่มีการเริ่มมีลักษณะนั้นปรากฏให้ค่อยๆ รู้ ให้ค่อยๆ เข้าใจ นั่นคือการอบรมเจริญปัญญาที่จะเห็นตามความเป็นจริงว่า เป็นหนทางเดียวที่จะละความยึดถือความเห็นผิดซึ่งจะเป็นมูลรากของความเห็นผิดอื่นๆ ทั้งหมดได้ แต่ถ้าไม่ละเอียด และก็ไม่ละ คิดว่าจะไปทำอะไร ให้รู้ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย เพราะว่าการศึกษาต้องเป็นไปตามลำดับขั้นคือปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวท แต่น่าสนใจมากที่จะรู้ว่าความเห็นผิดในวันหนึ่งๆ ของแต่ละคนมีหรือไม่ และมีแบบละเอียดหรือมีแบบหยาบ หรือก่อนนั้นตอนเป็นเด็กๆ เคยหรือไม่ อยากจะสอบได้ก็ให้ใครไม่ทราบ เช่น พระ หรืออะไร มาเป่ามาเสกปากกา
ที่มา ...