ปัญจทวารดีหรือไม่ดี
ผู้ฟัง เห็นก็สังสารวัฏฏ์ โลภะ โทสะ โมหะ
ท่านอาจารย์ ค่ะ เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วก็ต้องเห็นโทษของอวิชชา หรือของกิเลส ของอกุศลทั้งหมด ซึ่งเป็นเหตุทำให้มีการเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นที่จะมีทวารแล้วจะกล่าวว่า ทวารดีหรือไม่ดีต้องต้องพิจารณาละเอียด ไม่ใช่ว่าไม่ชอบทวาร ไม่อยากมีทวาร นั่นก็คือความไม่ชอบซึ่งยังเป็นอกุศล หรือความชอบ อยากจะให้มีทวาร คือ เห็น ก็เป็นโลภะอีก ใช่ไหมคะ ซึ่งทั้งหมดมาจากอวิชชา การไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม
เพราะฉะนั้นจะอยากเห็นแน่นอน ไม่มีใครอยากตาบอด เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่ายังมีโลภะ แต่ก็ต้องอยากเห็นสิ่งที่ดีๆ เมื่อเห็นสิ่งดีๆ แล้วก็เกิดอกุศลอีก ใช่ไหมคะ เลยไม่ทราบจะทำอย่างไร เต็มไปด้วยความไม่รู้ อยากบ้าง ไม่อยากบ้าง
เพราะฉะนั้น ถามอีกว่า ทวารดีหรือไม่ดี อีกความหมายหนึ่ง
อ.ธีรพัรธ์ ผมว่าดีเหมือนกัน เพราะว่าถ้ามีทวารตราบใดที่ยังไม่พ้นทุกข์ เราสามารถได้ฟังพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านอาจารย์ หมายความว่าถ้าเห็นแล้วเป็นกุศล ดี ใช่ไหมคะ ถ้าเห็นแล้วเป็นอกุศลก็ไม่ดีแน่ๆ แต่ก็ห้ามไม่ได้แน่นอน ใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้นดิฉันจะไม่พูดเรื่องนี้อีก เพราะว่าเรารู้เป็นสิ่งซึ่งต้องเกิดเป็นไปอย่างนั้น แต่จะพูดถึงตัวทวารซึ่งมี ๖ ได้แก่ จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป เป็นปัญจทวาร และมโนทวาร แต่ว่าจะขอแยกพูดถึงทวารที่เป็นรูปก่อนว่า จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป รูปทั้ง ๕ ดีหรือไม่ดี ทีนี้เปลี่ยนแล้วนะคะ มาเป็นเรื่องตัวรูป คือตัวทวาร คือ ตัวปสาทรูปดีหรือไม่ดี ตัวรูปนะคะ คือตัวทวาร จักขุปสาทรูป ตัวจักขุปสาทรูป ตัวโสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป ๕ รูป ดีหรือไม่ดี
ผู้ฟัง อย่างนี้เรียกว่าดี เพราะว่าทำให้ได้เห็น แต่ว่าเห็นแล้ว อันนี้เกิดกุศล อกุศลอีกเรื่องหนึ่ง
ท่านอาจารย์ อันนี้ต้องกล่าวถึงพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ว่า กุศลาธรรม หมายความถึง ธรรมใดๆ ที่เป็นกุศล อกุศลาธรรม หมายความถึงธรรมใดๆ ที่เป็นอกุศล ซึ่งจะต้องเป็น นามธรรมซึ่งเกิดขึ้น ได้แก่ จิต เจตสิกเท่านั้น ที่จะเป็นกุศลหรืออกุศล อีกส่วนหนึ่งคือ อัพยากตา ธัมมา ได้แก่ธรรมที่ไม่เป็นกุศล และไม่เป็นอกุศล
เพราะฉะนั้นถ้าจะจำแนกจิต เจตสิก รูป นิพพาน ออกเป็นธรรม ๓ หมู่ คือกุสลา ธัมมา อกุสลา ธัมมา อพยาคตาธัมมา ธรรมนี่ตายตัว เปลี่ยนไม่ได้ ธรรมที่เป็นกุศล ธรรมใดๆ ที่เป็นกุศล จะให้เขาไปเป็นอกุศลก็ไม่ได้ ธรรมใดๆ ที่เป็นอกุศล ก็จะเปลี่ยนให้เขาเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ที่เหลือนอกจากธรรมที่เป็นกุศล และอกุศลแล้ว ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็นอัพยากตธรรม หมายความว่า ธรรมที่ไม่ใช่กุศล และไม่ใช่อกุศล
เพราะฉะนั้นสำหรับจิต เจตสิกที่เป็นอกุศลก็มี จิต เจตสิกที่เป็นกุศลก็มี แต่รูปไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล เพราะฉะนั้นรูปเป็นอัพยากตธรรม นิพพานไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล นิพพานไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิก เพราะฉะนั้นนิพพานเป็นอัพยากตธรรม วิบากจิตเป็นผล ไม่ใช่กุศล อกุศล เพราะฉะนั้นก็เป็นอัพยากตธรรม คือ ธรรมใดๆ ก็ตาม ซึ่งไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล แล้วเป็นอัพยากตะ เพราะฉะนั้นที่ถามว่าจักขุปสาทรูปดีหรือไม่ดี ตอนนี่คำตอบทุกคนตอบได้ใช่ไหมคะ จักขุปสาทรูปดีหรือไม่ดี
ผู้ฟัง ไม่ดี
ท่านอาจารย์ เพราะไม่ใช่จิต เจตสิก รูปไม่รู้อะไรเลย รูปจะดีจะชั่วไม่ได้ อกุศลใดๆ จะไปเกิดกับรูปก็ไม่ได้ กุศลใดๆ จะไปเกิดกับรูปก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้นตัวรูปตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า เราอาจจะเห็นเป็นความผ่องใสสวยงาม สีสันวัณณะที่น่าพอใจ แต่รูปไม่รู้อะไรเลย รูปไม่ใช่สภาพรู้ รูปคิดไม่ได้ รูปดี รูปชั่วไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นก็ต้องทราบโดยที่ว่าไม่จำเป็นต้องไปท่องเลย ถ้ารู้ว่า จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป รวมรูปอื่นทั้งหมด นอกจากนี้ด้วย คือรูปทั้งหมดแล้วไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล
เพราะฉะนั้นถ้าโดยความหมายนี้ ก็ต้องเป็นอัพยากตะ ที่ถามว่า จักขุปสาทรูปดีไหม ก็คงจะชัดเจน ถ้าใช้ภาษาบาลี