อารมณ์ของตทาลัมพนะ


    ผู้ฟัง ดิฉันก็อยากจะเรียนถามท่านอาจารย์สมพร ช่วยกรุณาอธิบายคำว่า ตทาลัมพนะ แล้วที่อ่านในหนังสือท่านอาจารย์สุจินต์ ก็พบว่าตทาลัมพนะกับรัมมนะ ช่วยอธิบาย ๒ คำนี้ให้ด้วย

    อ.สมพร ตทาลัมพนะ ก็มาจาก ตัง อารัมณัง ตังก็หมายความว่าเป็นสรรพนาม คืออารมณ์ที่เกิดขึ้นในชวนะดับไปแล้ว ตทาลัมพนะหมายความว่าจิตเป็นวิบาก มีอารมณ์เช่นเดียวกัน มีอารมณ์นั้น พูดง่ายๆ อารมณ์นั้น อารมณ์ที่เป็นชวนะนั้น

    ผู้ฟัง ขอบพระคุณ แล้วทีนี้ถ้าเผื่อ ตทารัมมนะ อันนั้นตัวเดียวกัน ใช่ไหม

    อ.สมพร กับตทาลัมพนะ ตทารัมมนะภาษาไทยเป็นอย่างเดียวกัน

    ผู้ฟัง รัมมนะ ในนั้นเขียน รัมมนะ

    อ.สมพร ภาษาบาลีก็อารัมมนะ อาลัมพนะ ก็เหมือนกัน ภาษาบาลีใช้ ๒ อย่างแต่ภาษาไทยใช้อย่างเดียว แปลว่าอารมณ์

    ท่านอาจารย์ ธรรมดาเวลาที่อารมณ์ไม่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จิตเป็นภวังค์ ต้องเป็นภวังค์แน่นอน เพราะว่ายังไม่ตาย หลังจากปฏิสนธิแล้วต้องเป็นภวังค์ เพราะฉะนั้นเวลาที่อารมณ์มากระทบทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ขณะนั้นไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์ เพราะว่าจิตรู้อารมณ์ ซึ่งไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์จึงเป็นวิถีจิต ซึ่งจะต้องอาศัยทวารหนึ่งทวารใดเกิด แล้วถ้าเป็นอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จะมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ธรรมดาถ้ารับอารมณ์เสร็จแล้ว จิตก็ต้องเป็นภวังค์เสมอไปคั่นระหว่างอารมณ์หนึ่งกับอีกอารมณ์หนึ่ง แต่เมื่ออารมณ์นั้นทั้งๆ ที่กระทบกับอตีตภวังค์ดับไป ภวังคจลนะดับไป ภวังค์คุปัจเฉทะดับไป ปัญจทวาราวัชชนจิตดับไปจักขุวิญญาณ หรือโสตวิญญาณพวกนี้ดับไปแล้ว สัมปฏิฉันนจิตดับไป สันตีรณจิตดับไป โวฏฐัพพนจิตดับไป ชวนะ ๗ ขณะซึ่งเป็นกุศลหรืออกุศลก็ตามแต่ดับไป อารมณ์ยังไม่ดับ ซึ่งถ้าดับ จิตต้องเป็นภวังค์ เพราะว่าไม่มีอารมณ์ใหม่ที่ยังเหลืออยู่ เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นภวังคจิตสืบต่อไว้ แต่เพราะเหตุว่าอารมณ์ยังอยู่ ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้วิบากจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น ซึ่งยังไม่ดับต่อจากชวนจิต

    ผู้ฟัง หมายความว่า หลังจากชวนจิตดับไปแล้ว ก็จะมีปัจจัยให้วิบากจิตเกิดขึ้น

    ท่านอาจารย์ อารมณ์ยังไม่ดับ ถ้าอารมณ์ดับก็ต้องเป็นภวังค์ แต่เมื่ออารมณ์ยังไม่ดับ ก็เป็นปัจจัยให้วิบากจิต ซึ่งต้องเป็นกามาวจรจิต กามาวจรวิบากเท่านั้นที่จะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ยังไม่ดับ นี่พูดถึงทางปัญจทวาร

    ผู้ฟัง เป็นกามวิบากหมายความว่าจะต้องทางกามอารมณ์ หรือกามวิถี เท่านั้น ถ้าไมใช่กามอารมณ์หรือกามวิถี ตทาลัมพนะก็

    ท่านอาจารย์ คือถ้าอารมณ์ดับ ก็หมดปัญหา ก็ไม่มีเหตุที่จะทำให้จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นได้ เพราะเหตุว่าอารมณ์นั้นดับ แต่เพราะอารมณ์ยังไม่ดับ

    ผู้ฟัง อันนี้มันเป็นเรื่องของเหตุ และผล ถ้าเผื่อสมมติว่าเฉพาะกามอารมณ์ในกามบุคคล และกามวิถีเท่านั้นที่จะมีตทาลัมพนะ คำถามต่อไปก็คือว่า ตทาลัมพนะจะไม่เกิดในวิถีที่ไม่ใช่กาม คือ อย่างโลกุตตรวิถี

    ท่านอาจารย์ แน่นอน ไม่มี เฉพาะรูปที่ยังไม่ดับ

    ผู้ฟัง คำถามก็ต่อไปอีกว่า เมื่อมันเป็นกามวิถี ก็คือว่าเขาพอใจ พอใจในรูป จึงไม่ยอมทิ้งรูป

    ท่านอาจารย์ เป็นเรื่องของวิบาก เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นใคร เอาชื่อออกหมด แต่ถ้ารูปนั้นยังไม่ดับ ก็เป็นปัจจัยให้กามาวจรวิบากเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น ซึ่งไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล เพราะฉะนั้นก็ไม่ใช่มีความสำคัญอะไร เพียงแต่ว่าเป็นวิบากจิต ซึ่งเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ยังไม่ดับต่อจากชวนะเพียง ๒ ขณะเอง และต่อจากนั้นเมื่ออารมณ์ดับเป็นภวังคจิตต่อไป

    ผู้ฟัง ทีนี้พอรู้อารมณ์ที่ยังไม่ดับ ทำไมเขาถึงเกิด ๒ ในเมื่อคนอื่นเกิด ๑ๆ ๆ แล้วก็มาอันนี้ ๗ แล้วมาแนมเป็น ๒

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องนับอารมณ์ว่าเหลืออีกกี่ขณะ เมื่ออารมณ์เหลือ ๒ ขณะ ตทาลัมพนะก็ ๒ ขณะ

    ผู้ฟัง ถ้าเผื่อมีอารมณ์มากกว่านั้น

    ท่านอาจารย์ มีอารมณ์มากกว่านั้นไม่ได้ เกิน ๑๗ ขณะไม่ได้

    ผู้ฟัง ๑๗ ขณะมันบังคับอยู่ เข้าใจ เชิญค่ะ


    หมายเลข 8919
    22 ส.ค. 2567