สภาวลักษณะของจิต ๑
ผู้ฟัง ประเด็นที่กำลังสนทนาตอนนี้ เป็นเรื่องสามัญลักษณะของจิต ซึ่งก็ได้แก่ไตรลักษณะ ซึ่งท่านวิทยากรก็ได้กรุณาเพิ่มพูนความเข้าใจ ให้พวกเราได้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น โดยสรุปแล้วคือ
อนิจจลักษณะก็หมายถึงลักษณะที่ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปไม่สามารถที่จะดำรงอยู่ได้ แล้วลักษณะที่ไม่เที่ยงเกิดขึ้นแล้วดับไป นั่นก็เป็นทุกข์ สภาพที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ก็เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน แล้วท่านก็กรุณาชี้แจงให้ทราบว่า ไตรลักษณะนี้เป็นลักษณะที่ไม่แยกจากกัน คือ จะไม่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ที่จะมีเพียงลักษณะเดียว สำหรับสังขารธรรม ถ้าสำหรับวิสังขารธรรมคือ พระนิพพานแล้วก็จะมีเฉพาะอนัตตลักษณะเท่านั้น อันนี้ก็เป็นเรื่องสามัญลักษณะที่เราได้สนทนากันเป็นประเด็นแรก ไม่ทราบจะมีอะไรเพิ่มเติมอีกไหมคะ ถ้าไม่มีอะไรเพิ่มเติมจะได้เลื่อนไปสู่ประเด็นต่อไป เรื่องสภาวลักษณะ
ต่อไปก็เป็นเรื่องสภาวลักษณะของจิต ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของจิต เราก็จะพูดกันใน ๔ หัวข้อ
๑. อารัมมนวิชานนลักขณัง มีการรู้แจ้งอารมณ์เป็นลักษณะ
๒. ปุพพังคมรสัง มีการถึงก่อน คือมีความเป็นหัวหน้า เป็นใหญ่ในการรู้อารมณ์ เป็นรส คือเป็นกิจ หน้าที่ของจิต
๓. สันตานปัจจุปัฏฐาน มีการสืบเนื่องกัน คือการเกิดดับสืบต่อกันเป็นปัจจุปัฏฐาน คือ เป็นอาการปรากฏ
๔. นามรูปปทัฏฐานัง มีนามธรรม และรูปธรรมเป็นปฎัทฐาน คือเป็นเหตุใกล้ให้เกิด ที่ว่ามีการรู้แจ้งอารมณ์เป็นลักษณะ
ข้อที่ ๑ อันนี้ก็ตรงกับที่ได้สนทนากันไปในเรื่องลักษณะของจิตประการที่ ๑ ไปแล้วที่ว่า จิตเป็นสภาพธรรมที่รู้แจ้งอารมณ์
สำหรับข้อที่ ๒ ปุพพาคมรสัง มีการถึงก่อนเป็นรส เป็นกิจ ก็ไม่ทราบผู้ร่วมสนทนาจะมีข้อคิดเห็นประการใด เมื่อสักครู่คุณเรียมบอกจะถามหรือว่าแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับสภาวลักษณะ ตอนนี้ถึงวาระแล้ว เชิญคะ
ผู้ฟัง จะถามท่านอาจารย์สมพรเรื่องศัพท์ สภาวลักษณะแล้วก็ปัจจัตตลักษณะ มีความหมายกว้างแคบกว่ากันแค่ไหน ครับ
อ.สมพร สภาวลักษณะ ลักษณะที่มีอยู่ของตน
ผู้ฟัง อย่างเช่นผัสสะก็มีลักษณะกระทบอารมณ์ สัญญามีลักษณะจำอารมณ์อย่างนี้เรียกสภาวลักษณะ
อ.สมพร สภาวลักษณะ
ผู้ฟัง แล้วทีนี้ปัจจัตตลักษณะ
อ.สมพร ปัจจัตตลักษณะ หมายถึงลักษณะเฉพาะตน คือว่ากล่าวเฉพาะศัพท์เดียว อย่างเดียว ธรรมอย่างเดียว อย่างผัสสะ ก็มีลักษณะเฉพาะของผัสสะ เวทนาก็มีเฉพาะลักษณะของเวทนา แต่ละอย่างๆ ปัจจัตต มาจาก ปฏิ กับอัตต ปฏิ แปลงสระ อิ เป็น จะจะ บวกกับอัตตะเป็น ปัจจัตตะ ลักษณะเฉพาะตน เฉพาะศัพท์หนึ่ง บทหนึ่ง ก็เป็นของเขา แต่สภาวะลักษณะนี้ทั่วไป ที่เป็นปรมัตถ์แล้วต้องมีลักษณะของตน ไม่ได้กล่าวว่า เป็นลักษณะของตนของตน ก็หมายความว่ากว้างๆ
ผู้ฟัง หมายความว่าสภาวะลักษณะกว้างกว่า มี ๔ ลักษณะใช่ไหมครับ สภาวะลักษณะ
ผู้ฟัง ขอเรียนถามท่านอาจารย์สมพรต่อ จากเรื่องศัพท์ เพราะเมื่อกี้พูดค้างอยู่ที่ข้อที่ ๒ ที่เรียกว่าปุพพคมรสัง อาจารย์สมพรกรุณาให้ความกระจ่างบาลีตรงนี้
อ.สมพร จิตมีลักษณะ มีกรรรู้อารมณ์เป็นลักษณะ หน้าที่ของจิต คือการงานของจิต ท่านใช้คำว่า ปุพพคมรสัง มีการถึงก่อน ในการถึงก่อน หมายความว่า เป็นประธาน จิตทำกิจ ทำหน้าที่รู้อารมณ์ โดยความเป็นประธานในการรู้อารมณ์ ไม่เหมือนเจตสิก ส่วนเจตสิกบางดวงเกิดก็ได้ ไม่เกิดก็ได้ จิตที่ว่าเป็นประธาน เพราะว่าต้องเกิดขึ้นทุกครั้ง ปุพพัง ท่านหมายความว่าเกิดขึ้นก่อน หมายความว่าเป็นประธาน เป็นประธานในการรู้อารมณ์ คือการทำกิจรู้อารมณ์
ผู้ฟัง ถึงก่อนหมายความว่าถึงอารมณ์ก่อน เป็นประธาน
อ.สมพร เป็นประธาน
ผู้ฟัง เป็นประธานเป็นการรู้อารมณ์
คุณอดิศักดิ์ พูดถึงสภาวลักษณะ สภาวลักษณะกับวิเสสลักษณะ เป็นอันเดียวกัน ใช่ไหมครับ อาจารย์สมพร
อ.สมพร คำว่า วิเสสลักษณะ ลักษณะที่แตกต่างกัน หมายความว่าผัสสะนี้มีลักษณะแตกต่างจากเวทนา เวทนาก็มีลักษณะแตกต่างผัสสะ จิตก็มีลักษณะแตกต่างจากเจตสิก เจตสิกก็มีลักษณะแตกต่างจากจิต เรียกว่าวิเสสลักษณะ คือมันแตกต่างกันไปเลย
คุณอดิศักดิ์ อย่างนั้นมันเป็นที่ใช้แทนกันได้ไหมครับ สภาวลักษณะ วิเสสลักษณะ แล้ว ก็ลักขณาทิจตุกะ
อ.สมพร เป็นปรมัตถ์ทั้งหมด เป็นของจริงทั้งหมด แต่ท่านใช้ศัพท์คนละอย่าง เป็นปรมัตถ์ เป็นของจริงทั้งหมด เป็นรูปหรือเป็นนาม อะไรก็แล้วแต่
คุณอดิศักดิ์ บางแห่งก็ใช้คำว่าวิเสสลักษณะ
อ.สมพร วิเสสลักษณะ หมายถึงลักษณะที่แตกต่างกัน ท่านกล่าวแต่ละดวง เช่น ผัสสะมีลักษณะอย่างนี้ๆ หมดแล้ว ก็กล่าวถึงเวทนาว่าลักษณะเวทนาเป็นอย่างนี้ๆ เพราะว่ามันแตกต่างจากเวทนา ผัสสะมีลักษณะแตกต่างจากเวทนา คำว่าแตกต่างนี้ท่านใช้คำว่าวิเสสะ แปลว่าแตกต่าง
คุณอดิศักดิ์ ทีนี้มันแตกต่าง ทั้ง ๔ ลักษณะเลยหรือเปล่า
อ.สมพร ก็ทั้งหมดเลย
คุณอดิศักดิ์ ทั้งหมด คือสภาวลักษณะ หมายถึง
อ.สมพร สภาวลักษณะ ลักษณะที่มีอยู่จริง
คุณอดิศักดิ์ ที่มีอยู่จริง ก็ต้องเอา ๔ ใช่ไหมครับลักษณะที่จริง
อ.สมพร ลักษณะจริงนี้มันกว้าง ยังไม่ได้กล่าวแต่ละอัน แต่ละอัน
คุณอดิศักดิ์ แต่ละอัน ถือเป็นวิเสสะ
อ.สมพร วิเสสะ แต่แตกต่างกัน ลักษณะของจิตแตกต่างกัน ลักษณะของเจตสิก คำว่าแตกต่างนี้ เรียกว่า วิเสสะ ลักษณะที่แตกต่าง
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่า ลักษณะกับกิจก็คล้ายๆ กัน
คุณอดิศักดิ์ อย่างโลภะเราก็จำได้ว่าติด ติดในอารมณ์ เท่าที่เรียนๆ มา ลักษณะโลภะก็ติดในอารมณ์ ถ้าเอา ๔ ก็คงเรียงไม่ได้ จำไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องเรียง แล้วก็ไม่ต้องจำ แต่ว่าเข้าใจให้ถูก เพราะเหตุว่าการฟังเดี๋ยวนี้ เรื่องจิต ไม่ใช่ให้ไปจำลักษณะทั้ง ๔ แต่ให้รู้ที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ฟังอย่างไรใน ๔ อย่างให้เข้าใจขึ้นถึงลักษณะของจิตที่กำลังมีอยู่ทุกขณะ แล้วก็กำลังเกิดดับ
คุณอดิศักดิ์ อย่างยกตัวอย่าง ลักษณะ เห็นอย่างนี้
ท่านอาจารย์ จิตทั้งหมดที่กำลังมี ทุกคนกำลังมี จะต้องรู้ว่าเป็นสภาพรู้อารมณ์ เป็นสภาพรู้อารมณ์ ไม่ใช่เป็นสภาพสั่ง