อุเบกขาเป็นเวทนาและสังขารขันธ์
ผู้ฟัง ไม่ทราบว่าจะมีผู้ร่วมสนทนามีปัญหาเกี่ยวกับความเป็นใหญ่ของเวทนาที่เสวยอารมณ์ ถ้ามีขอเชิญ ถ้ายังไม่มี ก็ขอเรียนถามท่านอาจารย์สมพรต่อไปเรื่องอุเบกขาเวทนา ก็มีชื่อเรียก ๒ ชื่อว่า อุเบกขาเวทนาก็มี อทุกขมสุขเวทนาก็มี ซึ่งก็คงเป็นชื่อของสภาพธรรมเดียวกัน คือ ความรู้สึกเฉยๆ แต่ว่าโดยศัพท์แล้ว ไม่ทราบว่าทั้ง ๒ ศัพท์มีความต่างกันหรือไม่อย่างไร และเมื่อไรควรจะใช้คำว่า อุเบกขาเวทนา และเมื่อไรใช้ควรจะใช้คำว่า อทุกขมสุขเวทนา หรือว่าใช้ทั้ง ๒ คำนี้แทนกันได้ในทุกที่หรืออย่างไร เรียนเชิญอาจารย์สมพร
อ.สมพร คำว่าอุเบกขาเวทนากับอทุกขมสุข ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข ทีนี้เมื่อไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขแล้ว คำว่าอุเบกขา แปลว่าเฉยๆ สภาวะ ศัพท์มันต่างกัน แต่ความหมายก็เหมือนกัน อย่างเดียวกัน เฉยๆ อทุกขมสุขกับเฉยๆ คือหมายความว่าอุเบกขานั้นก็ไม่ทุกข์ไม่ใช่สุขเหมือนกัน แล้วสภาวะที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็คืออุเบกขานั่นเอง เพราะว่าสุขนั้นเป็นชื่อของสุขทางกายก็มี สุขทางใจก็มี ทุกข์นั้นเป็นทุกข์ทางกายก็มี ทุกข์ทางใจก็มี เวทนาเหล่านี้ที่แบ่งออกเป็น ๒ พวก อย่างที่อาจารย์กล่าวแล้ว แล้วอีกอย่างหนึ่งที่ท่านกล่าวว่าโดยการเสวยอารมณ์ การเสวยอารมณ์นี้เขาหมายถึงความสุข จึงจัดเวทนาเป็น ๓ จะเป็นสุขอะไรก็แล้วแต่ สุขทางกายหรือสุขทางใจก็คือสุข ดังนั้นสุขกาย สุขใจ เรียกว่า สุข จึงเป็น ๑ ทุกข์ก็เช่นเดียวกัน ทุกข์กายหรือทุกข์ใจ การเสวยอารมณ์ก็เรียกว่าทุกข์ จึงจัดเป็น ๑ ก็รวมเป็น ๒ ส่วนอุเบกขานั้นก็ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ จึงเป็นอีก ๑ เป็น ๓ ส่วนเวทนา ๕ นั้น หมายความว่าสภาวะที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน มีหน้าที่โดยเฉพาะทางกายก็ต้องทางกาย ทางใจก็ต้องทางใจ ไม่ปะปนกัน เช่น สุข สุขเวทนา ไม่ใช่โสมนัส โสมนัสเวทนา มีความสบายทางใจ มีความปีติยินดีทางใจ เหมือนอย่างที่กล่าวว่าโลภะประกอบด้วยโสมนัส หรือสรคตด้วยโสมนัส หรือมหากุศลประกอบด้วยโสมนัส
กุศลเกิดทางใจ กุศลไม่ได้เกิดทางกาย ทางกาย สุขหรือทุกข์เป็นวิบาก ไม่ใช่ชาติกุศล เป็นชาติวิบาก ส่วนทางใจนั้น ส่วนมากเป็นชาติกุศลก็มี อกุศลก็มี เป็นชาติวิบากมีบางอย่างบางแห่ง
ท่านอาจารย์ อาจารย์หมายความว่า ถ้าใช่คำว่า อทุกขมสุขเวทนา เฉพาะเวทนาเจตสิกเท่านั้นใช่ไหม
อ.สมพร เวทนาเจตสิก กว้างขวางอย่างที่อาจารย์ว่าก็ถูกแล้ว ถ้าใช้คำว่าอุเบกขา กว้าง เป็นเวทนาก็ได้ เป็นสังขารขันธ์ก็ได้ ถูกอย่างที่อาจารย์กล่าว ถ้าคำว่า อทุกขมสุขหมายถึงเวทนาอย่างเดียว ถ้าคำว่า อุเบกขา เป็นเวทนาก็ได้ เป็นเวทนาขันธ์ เป็นขันธ์อื่นก็ได้ เป็นสังขารขันธ์ก็ได้ กว้างกว่ากัน แต่ว่าถ้าเปรียบกับเวทนาเหมือนกัน
ผู้ฟัง เดี๋ยวขออีกนิดหนึ่ง อยากจะขอให้ท่านอาจารย์สมพรช่วยกรุณาอธิบายคำศัพท์บางคำ อย่างมีคำว่า สุขสหคตัง ทุกขสหคตัง โสมนัสสหคตัง โทมัสสหคตัง อุเบกขาสหคตัง คำว่า สหคตัง อาจารย์สมพรช่วยกรุณาอธิบายว่าหมายความว่าอย่างไร
อ.สมพร สหคตัง ถ้าแปลตามตัวจริงๆ สห แปลว่าพร้อม คตัง แปลว่า ไป ถ้าแปลตามตัว ตามศัพท์ แปลว่า ไปแล้วพร้อมกัน แต่ถ้าเราตีความหมาย หมายความว่าประกอบกัน เกิดร่วมกัน บางครั้งท่านก็ใช้คำว่า สหรคต ซึ่งเป็นสันสกฤต เช่นเดียวกัน หมายความว่าเกิดพร้อมกันนั่นเอง
ผู้ฟัง ขอบคุณ สหรคต กับ สหคตัง แปลว่าไปแล้วพร้อมกัน