ทำลายความเห็นผิดด้วย..
ผู้ฟัง ไม่ทราบว่ามีท่านผู้ใดจะมีปัญหา เรียนถามท่านวิทยากรในเรื่องเกี่ยวกับทิฏฐิตอนนี้บ้างไหมคะ
แล้วคราวที่แล้วก็ได้พูดถึงคำว่า “มิจฉาทิฏฐิ” ได้แก่ ความเห็นไม่ใช่ตามความเป็นจริง ความเห็นที่คลาดเคลื่อน หรือเพราะยึดถือผิดๆ ก็ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ ที่ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิด้วยอรรถว่า เป็นความเห็นที่พวกบัณฑิตเกลียด เพราะนำมาแต่อนัตถะ ซึ่งคราวที่แล้วท่านอาจารย์สมพรก็กรุณาอธิบายว่า “อนัตถะ” ก็หมายถึงว่าไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ แล้วอีกอย่างหนึ่งชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ ด้วยอรรถว่า เป็นเหตุเห็นผิด หรือด้วยอรรถว่าเห็นผิดเอง หรือด้วยอรรถว่า นี้เป็นความเห็นผิดเท่านั้น
อ.สมพร เรื่องความเห็นผิดนี้ก็ละเอียดอ่อน เราก็ทำลายความเห็นผิดด้วยการเจริญสติปัฏฐาน เพราะว่าความเห็นผิดอันนี้ ยังมีอีกอันหนึ่งซึ่งมีเห็นผิดที่เรียกว่าสักกายทิฏฐิ หรือว่าความเห็นผิดที่หยาบช้า ถ้าหากว่าผู้ใดละแล้วก็ละอบายไปได้ ไม่เกิดในอบาย ทิฏฐิทั่วไปมันก็ยังมีความหนัก และเบาต่างกัน ถ้าสักกายทิฏฐิมุ่งถึงความเห็นผิดที่ร้ายแรงที่ไปอบายอย่างเดียว พระโสดาบันท่านละได้ ก็รวมทั้งทิฏฐิอย่างนี้ด้วยเหมือนกัน