สักกายทิฏฐิ - ศีลพรตปรามาส ๓
ผู้ฟัง ถ้าจะกล่าวอย่างนี้ได้ไหมว่า มิจฉาทิฏฐิมีอยู่หลายประการ แล้ว สีลัพพตปรามาสก็เป็นมิจฉาทิฏฐิประการหนึ่ง
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ค่ะ มิจฉาทิฏฐิมี แล้วก็ทำให้เกิดการประพฤติปฏิบัติ เพราะเหตุว่า ถ้าคนที่นับถือโค เขาก็ไม่ทำร้ายโคเลย กราบไหว้ ล้างทำความสะอาดบูชาไป นั่นก็คือสีลัพพตปรามาส เพราะมีความคิดผิดเชื่อผิด
ผู้ฟัง แสดงว่า สีลัพพตปรามาสที่กระทำผิดก็
ท่านอาจารย์ เป็นการกระทำจากความเห็นผิด
ผู้ฟัง ค่ะ เป็นการกระทำจากความเห็นผิด คุณเสกสรรคงจะเข้าใจดีขึ้นแล้ว
ผู้ฟัง ครับเข้าใจครับ ทีนี้ประเด็นอยู่ที่ว่าจะวัดขอบเขต ก็คงจะไม่มี ก็หมายความว่า บุคคลใดที่มีมิจฉาทิฏฐิอยู่ ก็แน่นอนต้องมีสีลัพพตปรามาสร่วมด้วย
ท่านอาจารย์ บางคนไม่ทำอะไร เป็นคนเจ้าความเห็นเฉยๆ แต่ถ้าเขาประพฤติปฏิบัติด้วย มีลัทธิต่างๆ เกิดขึ้น พวกลัทธิทั้งหลายก็คือลีลัพพตปรามาส
ผู้ฟัง ก็หมายความว่า ผู้ใดก็ตาม มีความเห็นถูก ประจักษ์แจ้งในความเห็นถูกแล้ว ความเห็นกับความคิด ความจริงมันเฉียดกันมาก ผมคิดว่าความเห็นจะครอบความคิด หมายความว่าถ้าหากมีความเห็นถูกสักอย่างหนึ่งแล้ว ความคิดผิดก็ไม่น่าจะมี ในลักษณะเช่นนั้น หมายความว่าถ้าเห็นถูกก็ต้องคิดถูกแน่นอน
ท่านอาจารย์ ความเห็นถูกมีหลายระดับ ความเห็นถูกขั้นปริยัติ มี ศึกษามาแล้วก็ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน เป็นจิต เจตสิก รูป ขณะนี้กำลังปรากฏเป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม แต่ถ้าไม่อบรมเจริญปัญญาตรงที่จะรู้อย่างนี้ ก็ต้องเป็นสีลัพพตปรามาส
อ.สมพร พระอรรถกถาท่านอธิบายอย่างนี้ครับ ไอ้การลูบคลำ บางทีทานก็เรียกว่ายึดถือ บางทีก็เรียกว่าลูบคลำข้อวัตรปฏิบัติโดยลัทธิอื่น หมายความว่าท่านกล่าวไว้สั้น โดยลัทธิอื่น เรายึดถือโดยลัทธิอื่น ไม่ยึดถือตามพระพุทธศาสนา ท่านกล่าวไว้สั้นๆ ก็เราลองพิจารณาดู ถ้ายึดถือโดยลัทธิอื่นแล้ว ถ้าว่าโดยปรมัตถ์แล้ว ปฏิบัติเท่าไรๆ ก็ไม่ถึงพระนิพพาน อันนี้ว่าโดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ว่า ลัทธิอื่น เพราะว่าลัทธิอื่นไม่ถึงนิพพานอยู่แล้ว นิพพานของเขามันคนละอย่างกัน
ท่านอาจารย์ ถ้าคิดถึงสภาพธรรม ปรมัตถธรรม ทิฏฐิ ความเห็นผิด เห็นผิดจากความเป็นจริง เมื่อเห็นผิดจากความเป็นจริงแล้วก็มีการกระทำเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นการกระทำที่เกิดขึ้นจากความเห็นผิด เป็น ศีล เป็นพรต เป็นการประพฤติปฏิบัติของผู้ที่เห็นผิด เพราะฉะนั้นเราไม่จำเป็นที่ต้องไปพูดถึงเรื่องพระนิพพาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก เพราะเหตุว่าแม้แต่ผู้ที่มีความเห็นถูกบางขั้น เช่นขั้นการศึกษาหรือขั้นปริยัติก็ ยังมีความเห็นผิดในเรื่องการปฏิบัติได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่ไม่มีความเห็นถูกเลยในเรื่องของการศึกษาสภาพธรรม ไม่มีความเข้าใจในเรื่องสภาพธรรมเลย มีความเห็นผิดเต็มที่เต็มตัว เพราะฉะนั้นการประพฤติปฏิบัติของเขาก็เกิดจากการเห็นผิดอันนั้น ซึ่งก็เป็นศีลพรต เป็นการประพฤติปฏิบัติที่ผิด แน่นอนที่สุดพวกนี้ไม่มีทางที่จะถึงพระนิพพานแน่นอน แต่ว่าขณะใดก็ตาม ทิฏฐิเป็นสภาพปรมัตถธรรม เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้น มีความยึดมั่นเป็นเหตุให้มีความประพฤติผิด การประพฤติศีลพรตที่ผิดก็เป็น สีลัพพตปรามาส รวมกินความถึงผู้ที่ศึกษาธรรมด้วย
ผู้ฟัง กำลังจะพูดถึงฝ่ายเรานี้เอง สมมติว่าเรารู้ว่าปัญญาเป็นหนทางเจริญสติปัฏฐาน เจริญวิปัสสนาสติปัฏฐานเป็นหนทาง กระผมมีความเห็นถูกหมด แต่เผอิญผมก็ไม่ทราบว่าข้อปฏิบัติอันนี้ มันผิดไม่สามารถเข้าถึงนิพพานได้โดยสภาวะ จะชื่อว่าเป็นสีลัพพตปรามาสด้วยนั้นผมไม่ได้เห็นด้วย แต่ชื่อว่าตกอยู่ในความเห็นผิด
ท่านอาจารย์ ผู้ที่ดับสีลัพพตปรามาส ก็คือพระโสดาบัน ดับเป็นสมุจเฉท เพราะฉะนั้นขณะที่เพียงสติเกิด ผู้นั้นจะรู้ได้เลยว่า ยังมีความเข้าใจผิดหลงเหลือบ้างหรือเปล่า ซึ่งปัญญาจะต้องละเอียดที่จะรู้แล้วละ จนกว่าจะดับหมดเป็นสมุจเฉท เพราะเหตุว่าแต่ละคนจะมีความรู้สึกว่า แม้ว่าสติเกิด ความจงใจ ความตั้งใจมี ขณะนั้นผู้นั้นต้องระลึกได้แล้วว่า นี่ไม่ใช่หนทาง เพราะฉะนั้น นี่คือ สีลัพพตปรามาสกายคันถะด้วย ถ้าใครไม่ละ เพราะเหตุว่าปัญญาไม่รู้ความจริง คนนั้นก็จะติดอยู่ตรงนี้ไม่สามารถที่จะดับความเห็นผิดที่ทำให้เกิดการปฏิบัติที่ผิดได้
ผู้ฟัง คือประเด็นสำคัญอยู่ที่ตัวทิฏฐิ คือความเห็นผิด
ท่านอาจารย์ ก็ต้องสอดคล้องกับการเข้าใจถูกในเรื่องของมรรคมีองค์ ๘ เพราะเหตุว่าผู้ที่จะดับอกุศลกรรมได้ต้องเป็นพระโสดาบัน ที่เป็นศีล ๕ เว้นได้ โดยไม่เกิดอีกเลย สมบูรณ์จริงๆ ต้องเป็นพระโสดาบัน
เพราะฉะนั้นผู้ที่นับถือพุทธศาสนาก็ยังคงปฏิเสธไม่ได้ว่า บางท่านก็มีการฆ่าสัตว์แต่ว่าไม่ใช่ด้วยความเห็นผิด ขณะใดที่อกุศลจิตเกิดมีกำลัง เห็นความเป็นอนัตตาเลย ที่ฟังในวิทยุเมื่อเร็วๆ นี้ว่า เคยตบเยอะๆ หลายๆ ตัว ก็ตบเฉพาะบางตัวซึ่งจะกัดหรืออะไรอย่างนี้ ก็หมายความว่าค่อยๆ เข้าใจขึ้นแล้วก็ละเว้นไป
นี่ก็แสดงให้เห็นว่าถึงแม้มีความเห็นถูกแล้วแต่ว่า ใครก็ไม่สามารถที่จะไปมีศีล ๕ สมบูรณ์ได้ตราบใดที่ยังไม่เป็นพระโสดาบันบุคคล แต่เพิ่มกำลังของการรักษาศีลขึ้นได้จากความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นต้องแยกกัน เรื่องของอกุศลจิต เรื่องของความเห็นผิด กับเรื่องของการเข้าใจผิดในการประพฤติปฏิบัติ