อกุศลไม่แยบคาย
ผู้ฟัง สำหรับเหตุที่ทำให้เกิดทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ที่ว่ามิจฉาวิตก เป็นผู้มากด้วยมิจฉาวิตก ก็พอสรุปจากที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวไว้สักครู่ว่า ถ้ามีมิจฉาวิตกแล้วก็มีความโน้มเอียงไปในทางที่จะมีความเห็นผิดด้วย อันนั้นก็จะเป็นเหตุให้เกิดทิฏฐิคตสัมปยุตต์ แต่ว่าโดยปกติธรรมดาแล้ว เราๆ ก็มีกันอยู่ไม่ว่าจะเป็นกามวิตก หรือว่าพยาบาทวิตก หรือว่าวิหิงสาวิตก แต่ว่าถ้าไม่มีความโน้มเอียงที่จะมีความเห็นผิดก็เป็นเรื่องธรรมดา ก็ไม่เป็นไร
สำหรับเหตุที่จะทำให้เกิดทิฏฐิคตสัมปยุตต์ประการต่อไป ก็คือการไม่พิจารณาโดยแยบคาย การไม่พิจารณาโดยแยบคายภาษาบาลีมีว่า อโยนิโสกุมมุชนัง ซึ่งในหนังสือพระอภิธรรมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๑ เล่มเดิมก็ได้อธิบายไว้ว่า อ แปลว่าไม่ โยนิโส แปลว่าแยบคาย โดยแยบคาย กุมุตชนัง แปลว่าการโผล่ขึ้น คือการพิจารณา
เพราะฉะนั้น อโยนิโสกุมมุชฉนัง หมายถึงการพิจารณาโดยไม่แยบคาย ทีนี้เมื่อพูดถึงการพิจารณาตามที่ดิฉันเข้าใจ พิจารณาก็คงจะหมายถึงการไตร่ตรอง ซึ่งต้องเป็นการตรึกนึกคิด ทีนี้คำว่าอโยนิโส ที่แปลว่า โดยไม่แยบคาย ก็จะขอให้ท่านวิทยากร ท่านอาจารย์สมพร กรุณาตีความคำว่าโดยไม่แยบคาย หมายความว่าอย่างไร ลักษณะอย่างไรที่เรียกว่าโดยไม่แยบคาย ขอเรียนเชิญค่ะ
อ.สมพร โดยไม่แยบคาย ก็หมายความว่าไม่ใช่โดยความเป็นจริง ภาวะที่เกิดขึ้นไม่แยบคาย เช่นยกตัวอย่างนิดหนึ่ง เช่น เราเห็นสิ่งที่ชอบใจน่าปรารถนา แล้วเราก็ชอบใจ การชอบใจก็เป็นเหตุให้อกุศลเกิดขึ้น อันนี้หมายความว่าอกุศลก็เป็นจริงเหมือนกัน โดยไม่แยบคายก็มีหลายอย่าง นี่พูดถึงว่าอกุศลเกิดขึ้นแล้วเพราะอาศัยพิจารณาโดยไม่แยบคาย คือไม่เป็นไปโดยปรมัตถ์ หรือสภาวะ มักจะอาศัยบัญญัติ
ผู้ฟัง คือไม่พิจารณาไปตามสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถ์ อย่างนั้นใช่ไหมคะ ท่านอาจารย์สุจินต์มีความเห็นอะไรจะเพิ่มเติมไหมคะ ตรงนี้
ท่านอาจารย์ คิดว่าในขณะที่มีความเห็นผิดเกิดขึ้น ให้ทราบได้เลยว่า ขณะนั้นเพราะ อโยนิโสมนสิการ อย่างตัวอย่างของคุณอดิศักดิ์ ถ้าเราจะพูดถึงเรื่องรูปซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริง แล้วก็เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็จะเห็นได้ว่า ถ้าเรามีความเข้าใจจริงๆ ในเรื่องลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมด้วยโยนิโสมนสิการ เราก็รู้ว่า การที่ไปพิจารณาหรือนึกถึงท่าทางหรือรูปร่าง ไม่ใช่การรู้ลักษณะของปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏ นี่คือขณะใดที่โยนิโสมนสิการเกิดก็พิจารณาได้ตรง แต่ถ้าเป็นอโยนิโสมนสิการะก็คิดว่า ในพระไตรปิฎกมีอริยาปถบรรพ แล้วก็มีข้อความว่า เมื่อนั่งก็รู้ว่าเรานั่ง เพราะฉะนั้นก็ต้องรู้ว่า เรานั่งเป็นท่าเป็นทาง อย่างนั้นก็แสดงให้เห็นว่าอโยนิโสมนสิการ
ผู้ฟัง อาจารย์คะ ทีนี้อโยนิโสมนสิการก็เรียกว่าไม่ฉลาดหรือไม่ประกอบด้วยปัญญาได้ไหม
ท่านอาจารย์ ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง ไม่แยบคาย คือ ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง
ผู้ฟัง จิตที่พิจารณาโดยไม่แยบคาย ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงนั้นเป็นจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาใช่ไหมคะ
ท่านอาจารย์ ประกอบด้วยความเห็นผิดได้
ผู้ฟัง ประกอบด้วยความเห็นผิดได้ คือดิฉันมีจุดสงสัยอยู่ตรงที่ว่าต้องไม่ประกอบด้วยปัญญาใช่ไหม
ท่านอาจารย์ อโยนิโสมนสิการเกิดขณะใด จิตเป็นอกุศล
ผู้ฟัง เป็นอกุศล แล้วถ้าเป็นจิตที่ไม่ใช่เป็นอกุศล อย่างเช่นเป็นมหากุศลจิตก็ดี หรือเป็นมหากิริยาจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นกุศลขณะใด ต้องเป็นโยนิโสมนสิการ จึงเป็นกุศล
ผู้ฟัง มาแบ่งกันตรงที่เป็นกุศล กับ เป็นอกุศล
ท่านอาจารย์ ค่ะ ไม่ใช่ต้องเกี่ยวกับประกอบด้วยปัญญา แม้แต่จะเป็นกุศลก็ต้องเป็นโยนิโสมนสิการ อย่างตัวอย่างเมื่อกี้ สมน้ำหน้า ถ้าจะเป็นกุศลต้องเป็นโยนิโสมนสิการ เพียงแค่ที่จะให้คิดให้ถูกต้องว่า ไม่ควรจะสมน้ำหน้า แล้วกุศลจิตเกิด เมตตาเกิด นี่ก็ยังจะต้องเป็นโยนิโสมนสิการ มิฉะนั้นก็ยังไม่ยอม ต้องสมน้ำหน้าต่อไป ใช่ไหมคะ ถ้าเป็นอโยนิโสมนสิการ
เพราะฉะนั้นเพียงแค่คั่นจากกุศลเป็นอกุศล ยังต้องอาศัยโยนิโสมนสิการ
ผู้ฟัง แล้วที่ว่าการพิจารณาโดยที่ไม่แยบคายนั้นคงจะหมายถึงพิจารณาอารมณ์ที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
ท่านอาจารย์ ถ้าเกี่ยวกับความเห็นผิด แต่ว่าถ้าโดยทั่วไปอกุศลจิตเกิดขณะใด ขณะนั้นก็อโยนิโสมนสิการ กุศลจิตเกิดขณะใด ขณะนั้นก็โยนิโสมนสิการ จึงเป็นกุศล เพราะว่าโดยมากคนมักจะตามคำแปลที่ว่า กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย แล้วก็ชิน หรือถนัดต่อการที่กระทำเสียจริงๆ เพราะฉะนั้นก็จะพยายามจะกระทำให้แยบคาย ใช่ไหมคะ แต่จริงๆ ขณะนั้นที่กำลังกระทำไม่แยบคาย เพราะเหตุว่าไม่มีความเข้าใจในเรื่องสภาพธรรมว่า เป็นเรื่องของสภาพธรรม
ผู้ฟัง ไม่แยบคายโดยไม่รู้ตัวด้วย
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วจิตเกิดดับเร็วมาก แล้วก็เวลาที่คิดเป็นกุศลวิตกหรือว่าอกุศลวิตก ต้องทราบว่า ไม่ใช่เราที่คิด แต่เป็นสภาพของจิตซึ่งถ้าไม่ใช่พระอรหันต์แล้ว ขณะนั้นก็มี ๒ อย่าง คือ เป็นกุศลวิตกอย่างหนึ่ง และอกุศลวิตกอย่างหนึ่ง ถ้าคิดเป็นในเรื่องของบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ขณะนั้นเป็นกุศลวิตก แต่ถ้าไม่ใช่ ขณะนั้นก็เป็นอกุศล
ทีนี้เราจะทราบได้อย่างไรว่า ทำไมจิตถึงเป็นอกุศล ทั้งๆ ที่ไม่อยากเป็นอกุศล แต่ก็มีปัจจัยที่จะทำให้อกุศลจิตเกิดขึ้น แล้วปัจจัยหนึ่งซึ่งทำให้เป็นอกุศลก็คือ อโยนิโสมนสิการ ซึ่งไม่มีเราไปทำเลย แต่มีปัจจัยที่จะเกิดขึ้นกระทำในใจไว้โดยอุบายไม่แยบคาย เป็นภาษาแปล แต่เราต้องทราบว่า ไม่ว่าจะแปลเป็นไทยออกมา ไม่มีใครทำทั้งสิ้น เช่นผัสสะเป็นสภาพกระทบ ก็ต้องไม่มีใครไปทำให้ผัสสะกระทบ หรือว่าไม่มีใครใช้ให้ผัสสะกระทบ เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ก็ไม่มีเราเป็นตัวตนที่จะไปกระทำให้แยบคาย แต่ว่าขณะใดก็ตามที่กุศลจิตเกิด ให้ทราบว่าขณะนั้น โยนิโสมนสิการเกิด
ผู้ฟัง แล้วเมื่ออกุศลจิตเกิด ขณะนั้นเป็นอโยนิโสมนสิการ
ท่านอาจารย์ อโยนิโสมนสิการสำหรับอกุศล
ผู้ฟัง กุศลจิตเกิดเป็นโยนิโมนสิการ ทีนี้โยนิโมนสิการต้องเป็นระดับสติปัฏฐาน หรือไม่จำเป็น
ท่านอาจารย์ ไม่จำเป็น อย่างตัวอย่างที่ยกเมื่อกี้ เพียงจากอกุศลให้เป็นกุศล แยบคายหรือยัง ถ้าไม่แยบคายก็สมน้ำหน้าไปเรื่อยๆ ก็เป็นอกุศลไปเรื่อยๆ แต่ถ้าแยบคายเมื่อไร เมื่อนั้นก็เลิกสมน้ำหน้า แต่ว่ามีเมตตา ขณะนั้นเพราะสภาพที่เป็นโยนิโมนสิการเกิดจึงเป็นกุศล ไม่ใช่เราไปกระทำ แต่ว่าการสั่งสมของสังขารขันธ์ที่จะเป็นปัจจัยทำให้กุศลวิตกเกิด