แตกต่างโดยชื่อ
ผู้ฟัง โทสมูลจิตต้องมีปฏิฆสัมปยุตต์เสมอไป ใช่ไหมคะ
อ.สมพร ปฏิฆะกับโทสะต่างกันโดยชื่อ ความหมายเป็นจิตไม่ดีเหมือนกัน ปฏิฆะแปลว่ากระทบกระทั่ง โทสะแปลว่าประทุษร้าย กระทบกระทั่งจิต คือ ปฏิฆะ ประทุษร้ายจิต คือ โทสะ แต่หมายความว่าชื่อต่างกัน แล้วองค์ธรรมคือ สภาวะอย่างเดียวกัน
ผู้ฟัง ไม่แตกต่างกันสักนิดเลยหรือ นิดๆ หน่อยๆ
อ.สมพร แตกต่างกันโดยชื่อ โดยภาวะ
ผู้ฟัง ชื่อต่างคือ ยกว่า นารี สตรี หรือ ...
ท่านอาจารย์ เจตสิกมี ๕๒ ของโทสเจตสิก ๑ และมีชื่อเยอะ แต่ยังคงเป็นโทสเจตสิก
ผู้ฟัง อันนี้ก็เป็นเจตสิกอันหนึ่ง ปฏิฆะ
ท่านอาจารย์ ถ้าใช้คำว่าสัมปยุตต์แล้ว เป็นเจตสิกทั้งนั้น เพราะว่าเกิดกับจิต
ผู้ฟัง ไม่แยกต่างหาก ระหว่างโทสเจตสิก กับปฏิฆเจตสิก
ท่านอาจารย์ มิได้ค่ะ หมายความว่าจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ ต้องประกอบด้วยเจตสิก เป็นสัมปยุตต์ธรรม แต่ที่ยก เช่น ทิฏฐิคตสัมปยุตต์บ้าง หรือว่าปฏิฆสัมปยุตต์บ้าง ก็เพื่อที่จะให้รู้ว่า จิตต่างๆ เหล่านี้สามารถที่จะรู้ได้ เมื่อมีเจตสิกเหล่านี้สัมปยุตต์ด้วย เช่น โทสะเป็นปฏิฆสัมปยุตต์ เป็นโทสเจตสิกเกิดกับจิต จิตนั้นจึงชื่อว่าโทสมูลจิตเพราะมีโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วยจึงชื่อว่า ปฏิฆสัมปยุตต์ เวลาที่มีลักษณะขุ่นใจขึ้นมาก็ยังสามารถจะรู้ได้ ทั้งๆ ที่เจตสิกอื่นก็เป็นสัมปยุตตธรรมทั้งนั้น ผัสสะก็เป็นสัมปยุตตธรรม เจตสิกทั้งหมดที่เกิดกับจิตต้องเป็นสัมปยุตตธรรม เป็นสัมปยุตตปัจจัย แต่ว่าอันไหนที่ว่าเมื่อเกิดแล้วสามารถที่จะรู้ได้
ผู้ฟัง ความสำคัญของคนที่ศึกษามีความรู้สึกว่า ถ้าชื่อๆ หนึ่งปรากฏเกิดขึ้น ควรจะมีความหมายที่คนละแบบกัน อย่างเช่นว่าโทสะก็ควรจะเป็นว่า โทสะโกรธรุนแรงกว่า ส่วนปฏิฆะเริ่มขุ่นๆ แล้วนะ ยังไม่ถึงขนาดว่าเอาจริงเอาจังลงไม้ลงมือทุบตีกัน แต่ตัวโทสะอาจจะถึงขนาดลงมือลงไม้
ท่านอาจารย์ ก็มีร้อยชื่อพันชื่อตามขั้น ถ้าจะใช้
ผู้ฟัง ตามขั้นนะครับ
ท่านอาจารย์ แต่จริงๆ แล้วก็คือลักษณะสภาพที่กระทบจิต
ผู้ฟัง อันนี้ก็ชัดเจนขึ้น ท่านผู้ฟังที่เคารพครับ ปฏิฆสัมปยุตต์ ไม่ทราบว่าจะผ่านไปหรือยัง เพราะว่าก็สนทนากันมานานพอสมควร
ท่านอาจารย์ ขอประทานโทษ แต่อย่าลืมจุดประสงค์ของการศึกษาทั้งหมดไม่ว่าเรื่องจิต เจตสิก ตลอดจนพระอภิธรรม จะเป็น ๙ ปริจเฉท หรือว่าพระอภิธรรมปิฎก อะไรก็ตาม อย่าลืมว่า เพื่อให้เหมือนอย่างท่านพระสารีบุตร หรือว่าพระอริยสาวกทั้งหลายที่ท่านชินต่อลักษณะของสภาพธรรม ท่านไม่ได้ไปฟังแต่เพียงชื่อ แต่ท่านรู้ว่า ชื่อที่ทรงใช้เพื่ออธิบายให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ แล้ววิธีพิสูจน์ของเราก็คือว่า ท่านพระสารีบุตรฟังกถานั้นสั้นๆ ท่านเป็นพระโสดาบันบุคคล แต่คนที่ได้ยินร้อยครั้งพันครั้ง ก็ยังไม่สามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพเห็นทางตา ซึ่งไม่ใช่สิ่งซึ่งปรากฏ เพราะฉะนั้นการฟังว่า จักขุวิญญาณมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๗ ดวง เป็นจิตที่ไม่มีกำลัง ยังไม่มีเจตสิกที่เป็นเหตุใดๆ เกิดร่วมด้วย ยังไม่มีโลภะ โทสะ โมหะใดๆ ทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้นในขณะที่กำลังเห็นขณะนี้ ก็เป็นเรื่องที่จะเป็นปัจจัยให้สติมีการระลึกได้ ไม่ว่าเราศึกษาเรื่องจิตกี่ประเภทก็ตาม ถ้าจิตประเภทนั้นๆ เกิดกับเรา ก็เป็นปัจจัยที่จะให้สติระลึก นี่คือจุดที่สำคัญที่สุด เพื่อที่จะได้รู้จักตัวจริงของสภาพธรรม ไม่ใช่ฟังแต่เรื่องธรรมเท่านั้น