ควรได้ประโยชน์จากโทสะที่เกิด


    ผู้ฟัง สำหรับเหตุให้เกิดโทสมูลจิต หรือปฏิฆะสัมปยุตตจิต ๔ ประการที่ได้สนทนากันไป จะมีท่านผู้ใดทีปัญหาอีกไหมคะ

    ท่านอาจารย์ คืออยากจะให้ทุกคนได้นับประโยชน์จากโทสะที่เกิดบ้าง แม้ว่าเล็กน้อย เพราะถึงอย่างไรโทสะก็ต้องเกิด คนที่ไม่เกิดโทสะไม่มีเลย ถ้าไม่ใช่พระอนาคามีบุคคล แต่ถ้าโทสะเกิดแล้ว จะได้ประโยชน์อะไรบ้าง ก็คงจะไม่ปล่อยให้ผ่านไป เพราะรู้ว่าขณะนั้นก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งที่มีลักษณะอย่างนั้นจริงๆ เกิดขึ้น แล้วก็จะรู้ความจริงว่า ที่เราพูดถึงว่าโทสะ หรือปฏิฆะ แล้วก็มีเหตุให้เกิดต่างๆ ก็คือขณะนั้นมีสภาพธรรมนี้กำลังปรากฏให้เห็นตามความเป็นจริง ก็อาจจะทบทวนย้อนไปถึงที่เราฟังว่า เพราะเหตุว่ายังมีเชื้อของโทสะ เพราะฉะนั้นโทสะก็เกิด แล้วลักษณะของโทสะก็คืออย่างนี้ ต่างกับสภาพธรรมอื่น แต่ถ้าระลึกได้ก็รู้ว่า ขณะนั้นก็เป็นแต่เพียงลักษณะธรรมหรือธรรมชาติ หรือธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นขณะใดก็เป็นอย่างนั้น

    ผู้ฟัง ก็เพราะว่ายังมีเชื้อของโทสะอยู่ก็ จะเกิดก็ต้องเกิด ใช่ไหมคะ

    ท่านอาจารย์ ให้เห็นตัวจริงๆ เพราะว่าเราพูดถึงเรื่องโทสะ พูดมาก โทสะอย่างนั้น โทสะอย่างนี้ โทสะตอนนั้น โทสะตอนนี้ แต่เวลาที่โทสะเกิดจริงๆ ควรจะรู้ตัวโทสะ ลักษณะของโทสะแท้ๆ ที่กำลังปรากฏให้รู้

    ผู้ฟัง จึงจะเป็นประโยชน์ที่จะได้รับจากการที่โทสะเกิดขึ้น

    ท่านอาจารย์ สมกับที่เราพูดเรื่องโทสะ

    ผู้ฟัง ขอบพระคุณค่ะ ก่อนที่จะผ่านเรื่องปฏิฆะสัมปยุตตจิตไป ก็มีพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคที่จะเป็นของฝากไว้สำหรับผู้ที่ร่วมสนทนาธรรม คือ พระผู้มีพระภาคตรัสเกี่ยวกับโทสะตอนหนึ่งในสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส ข้อที่๒๒ ทรงตรัสว่า

    โทสะยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โทสะยังจิตให้กำเริบ โทสะเป็นภัยเกิดขึ้นเป็นภายใน พาลชนย่อมไม่รู้สึกถึงภัยนั้น คนผู้โกรธย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้โกรธย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใดความโกรธเข้าครอบงำนรชน เมื่อนั้นเขาย่อมมืดมน

    ก็คิดว่าเป็นพระดำรัสที่จะเป็นเครื่องให้ระลึกถึงเวลาที่เกิดโทสะ

    ผู้ฟัง สำหรับเหตุให้เกิดโทสมูลจิต หรือปฏิฆะสัมปยุตตจิต ๔ ประการที่ได้สนทนากันไป จะมีท่านผู้ใดทีปัญหาอีกไหมคะ

    ท่านอาจารย์ คืออยากจะให้ทุกคนได้นับประโยชน์จากโทสะที่เกิดบ้าง แม้ว่าเล็กน้อย เพราะถึงอย่างไรโทสะก็ต้องเกิด คนที่ไม่เกิดโทสะไม่มีเลย ถ้าไม่ใช่พระอนาคามีบุคคล แต่ถ้าโทสะเกิดแล้ว จะได้ประโยชน์อะไรบ้าง ก็คงจะไม่ปล่อยให้ผ่านไป เพราะรู้ว่าขณะนั้นก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งที่มีลักษณะอย่างนั้นจริงๆ เกิดขึ้น แล้วก็จะรู้ความจริงว่า ที่เราพูดถึงว่าโทสะ หรือปฏิฆะ แล้วก็มีเหตุให้เกิดต่างๆ ก็คือขณะนั้นมีสภาพธรรมนี้กำลังปรากฏให้เห็นตามความเป็นจริง ก็อาจจะทบทวนย้อนไปถึงที่เราฟังว่า เพราะเหตุว่ายังมีเชื้อของโทสะ เพราะฉะนั้นโทสะก็เกิด แล้วลักษณะของโทสะก็คืออย่างนี้ ต่างกับสภาพธรรมอื่น แต่ถ้าระลึกได้ก็รู้ว่า ขณะนั้นก็เป็นแต่เพียงลักษณะธรรมหรือธรรมชาติ หรือธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นขณะใดก็เป็นอย่างนั้น

    ผู้ฟัง ก็เพราะว่ายังมีเชื้อของโทสะอยู่ก็ จะเกิดก็ต้องเกิด ใช่ไหมคะ

    ท่านอาจารย์ ให้เห็นตัวจริงๆ เพราะว่าเราพูดถึงเรื่องโทสะ พูดมาก โทสะอย่างนั้น โทสะอย่างนี้ โทสะตอนนั้น โทสะตอนนี้ แต่เวลาที่โทสะเกิดจริงๆ ควรจะรู้ตัวโทสะ ลักษณะของโทสะแท้ๆ ที่กำลังปรากฏให้รู้

    ผู้ฟัง จึงจะเป็นประโยชน์ที่จะได้รับจากการที่โทสะเกิดขึ้น

    ท่านอาจารย์ สมกับที่เราพูดเรื่องโทสะ

    ผู้ฟัง ขอบพระคุณค่ะ ก่อนที่จะผ่านเรื่องปฏิฆะสัมปยุตตจิตไป ก็มีพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคที่จะเป็นของฝากไว้สำหรับผู้ที่ร่วมสนทนาธรรม คือ พระผู้มีพระภาคตรัสเกี่ยวกับโทสะตอนหนึ่งในสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส ข้อที่๒๒ ทรงตรัสว่า

    โทสะยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โทสะยังจิตให้กำเริบ โทสะเป็นภัยเกิดขึ้นเป็นภายใน พาลชนย่อมไม่รู้สึกถึงภัยนั้น คนผู้โกรธย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้โกรธย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใดความโกรธเข้าครอบงำนรชน เมื่อนั้นเขาย่อมมืดมน

    ก็คิดว่าเป็นพระดำรัสที่จะเป็นเครื่องให้ระลึกถึงเวลาที่เกิดโทสะ


    หมายเลข 9054
    21 ส.ค. 2567