ความสงสัยในเรื่องราว
คุณอดิศักดิ์ การสงสัยในเรื่องราวก็ไม่เป็นวิจิกิจฉา ผมก็เคยได้ฟังได้ยินมาว่า สงสัยว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริงไหม มีไหมเจ้าชายสิทธัตถะ อย่างนี้ถือว่าเป็นสงสัยในเรื่องราวหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ แต่เขาต้องรู้ว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นใครถึงได้สงสัย สงสัยในความที่มีปัญญาเลิศอย่างนั้น จะมีหรือ
คุณอดิศักดิ์ ก่อนจะถึงปัญญา เพราะว่าเอาตัวตนก่อน
ท่านอาจารย์ มิได้ค่ะ แต่หมายความว่า ถ้าพูดถึงคำว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่คนธรรมดา แล้ว
คุณอดิศักดิ์ ตอนผมศึกษาพระธรรมใหม่ๆ ผมก็ยังไม่เชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะ มีจริงหรือไม่ จนกว่าจะได้ศึกษาพระธรรมไป แล้วพอสมควรว่า จากประวัติศาสตร์ จากพงศาวดารต่างๆ จึงเชื่อว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริง และมีปัญญา ก็มาเรียนเอาอีกทีหลัง
ผู้ฟัง ใช่ อันนี้มันก็ต้องมาจากเรื่องราวก่อน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้าเราจะพูดถึงเรื่องราว เราก็มีเรื่องราวตลอดทั้งวัน ไม่ใช่เรื่องนี้ก็ต้องเรื่องนั้น
คุณอดิศักดิ์ ทีนี้ ถ้าเป็นเรื่องอื่นก็ไม่น่าจะเป็นวิจิกิจฉา
ท่านอาจารย์ รวมความว่า ทั้งหมดคือความสงสัยในเรื่อง ไม่ว่าจะเรื่องพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านพระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ และบุคคลในพระไตรปิฎก ก็เป็นที่สงสัยได้ทั้งนั้น ไม่ใช่แต่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ถ้าจะพูดถึงว่า สงสัยเป็นวิจิกิจฉา แล้ว กลายเป็นวิจิกิจฉาในเรื่องราว แต่ทีนี้เราต้องแยกว่า ผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจธรรม แล้วยังมีความคิดอย่างนี้หรือเปล่าว่า ขณะนี้พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ไหน ที่สาวัตถีหรือว่าที่พาราณสี อย่างนี้จะเป็นวิจิกิจฉาได้หรือ ในเมื่อเป็นเรื่องราว ไม่ใช่เป็นเรื่องของสภาพธรรม เพราะเหตุว่าผู้นั้นไม่มีความสงสัยในลักษณะของสภาพธรรม แต่คนที่ไม่รู้เรื่องของสภาพธรรมเลย ในชีวิตของเขาก็มีแต่เรื่องราวที่เป็นสมมติบัญญัติ เพราะฉะนั้น ในโลกของความคิดของเขาเต็มไปด้วยเรื่องราว เพราะฉะนั้นเขาก็คิดได้ พระสารีบุตรมีไหม พระอานนท์มีไหม สบู่นี้สีอะไร ซื้อทีไหน อะไร เหมือนกันหมด ถ้าพูดอย่างนี้เป็นเรื่องราวทั้งหมด
เพราะฉะนั้นขณะนั้นเราก็ต้องทราบว่าจิตเป็นอะไร ถ้าเป็นอกุศลเป็นแน่ เพราะเหตุว่าขณะนั้นพูดด้วยความยินดีหรือความไม่ยินดี เราใช้คำว่าสงสัย แต่จริงๆ แล้วในขณะนั้นเขามีความต้องการพูดเรื่องนั้น มีความยินดีที่จะพูดเรื่องนั้นหรือเปล่า เป็นเรื่องราว แล้วก็ถ้าจะเป็นอย่างนี้ โดยการที่ว่าเอาจิตของคนนั้นวันนั้น คนนี้คิดอย่างนั้นถามอย่างนี้ ไม่มีจบ เพราะว่าเรื่องคนทั้งโลกที่จะคิดอย่างนี้
เพราะฉะนั้นดิฉันเองพอใจที่จะให้ทุกท่านได้รู้สภาพธรรมด้วยตัวเอง แม้แต่ในหนังสือที่เขียนก็ไม่มีคำตอบ เพราะเหตุว่าให้คิดเอง ถ้าคิดถูก ต้องเป็นเหตุเป็นผล แล้วสิ่งที่เป็นคำตอบก็มีอยู่ในหนังสือนั้น แล้ว ไม่ใช่ว่าต้องเฉลย
เพราะฉะนั้นทุกอย่างที่เกิดขึ้นเราไม่วิจารณ์ คือไม่ไปพิจารณาสภาพจิตหรือคำพูดหรือความคิดของคนอื่น เพราะเหตุว่าเป็นสิ่งที่เกิด แล้วก็หมดไป แล้ว แต่ว่าสภาพธรรมที่กำลังมีจริงๆ ที่จะให้เรารู้ลักษณะ เกิดดับเร็วมาก เพราะฉะนั้นเราจะรู้ไหมว่าขณะนั้นเป็นโลภะหรือเปล่า ที่กำลังอยากจะรู้ที่พูด หรือว่าเป็นจิตประเภทไหน
ผู้ฟัง กระผมคิดว่าวิจิกิจฉาเป็นธรรมที่พระโสดาบันบรรลุ แล้ว เพราะฉะนั้นถ้าถามคำว่า “วิจิกิจฉา” ก็ต้องหมายความว่า พระโสดาบันท่านบรรลุธรรมอะไร แต่ถ้าเป็นอื่น แล้วกลัวจะเป็นเรื่องของการตรึก วิตก วิจารไป อย่างนั้น ไม่ทราบว่าข้อสรุปนี้พอที่จะสรุปได้หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ในสมัยโน้นก็มีเจ้าสรกานิ ซึ่งท่านก็เสวยน้ำจันท์ เป็นประจำ แล้วก็ท่านก็ได้เป็นพระโสดาบันบุคคล คนในครั้งนั้นก็สงสัยว่า เจ้าสรกานิเป็นพระโสดาบันหรือ
นี่ก็แสดงให้เห็นว่า สงสัยในความเป็นอริยสงฆ์ ก็เท่ากับว่าคนนั้นสงสัยในข้อปฏิบัติ ในหนทางปฏิบัติว่า จะมีหนทางที่เจ้าสรกานิจะได้รู้แจ้งอริยสัจธรรมหรือ ในเมื่อท่านมีความประพฤติอย่างนั้น แต่ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจในเรื่องของการอบรมเจริญปัญญา ก็จะรู้ได้เลยว่า แม้จะเป็นเจ้าสรกานิ แต่ถ้าได้อบรมเจริญปัญญา แล้วก็สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ ก็หมดความสงสัยในสิกขา ถ้าผู้นั้นรู้จักหรือว่าเข้าใจ แต่ถ้าไม่เข้าใจก็ต้องสงสัย