ธรรมที่ไม่ใช่กุศลและอกุศล ๒


    ท่านอาจารย์ คำว่า อพยากตะ หมายความถึงธรรมทั้งหมดที่ไม่ใช่กุศล และอกุศล อันนี้เป็นคำจำกัดความที่สั้น และก็กว้าง ธรรมทั้งหมดที่ไม่ใช่กุศล และอกุศล

    เพราะฉะนั้นเมื่อปรมัตถธรรมมี ๔ รูปเป็นกุศลหรือเปล่า เป็นอกุศลหรือเปล่า เมื่อรูปไม่ใช่กุศล ไม่ใช่ อกุศล รูปเป็นอพยากตะ นิพพานเป็นกุศลหรืออกุศลหรือเปล่า นิพพานไม่ใช่กุศล และอกุศล เพราะฉะนั้นนิพพานเป็นอพยากตะ จิตเป็นกุศลหรืออกุศลหรือเปล่า จิตที่เป็นอกุศลไม่เป็นอพยากต จิตที่เหลือ คือ วิบากจิต และกิริยาจิต เป็นอพยากตะ รวมทั้งเจตสิกด้วย โลกุตตรจิต ๘ เป็นอพยากตะหรือเปล่า

    ผู้ฟัง โลกตุตรจิต กระผมก็

    ท่านอาจารย์ โลกุตตรกุศล ๔ โลกุตตรวิบาก ๔ รวมเป็นโลกุตตรจิต ๘ โลกุตตรจิต ๘เป็นอพยากตะหรือเปล่า

    ผู้ฟัง อย่างพระโสดาบันบุคคลก็เป็นโลกุตตรจิตแล้ว ใช่ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ พระโสดาบันบุคคลไม่ใช่มีแต่เฉพาะโสดาปัตติมรรคจิตหรือโสดาปัตติผลจิต จิตเห็นก็มี จิตได้ยินก็มี เพราะฉะนั้นจิตเห็นของพระโสดาบันไม่ได้มีนิพพานเป็นอารมณ์ ไม่ใช่โลกุตตระ ก็เป็นจิตเห็นธรรมดา ซึ่งมีสีเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้นขณะที่มีสีเป็นอารมณ์ไม่ใช่โลกุตตรจิต

    เพราะฉะนั้นเวลาพูดถึงโลกุตตรจิต ให้ทราบว่า หมายเฉพาะโลกุตตรจิต ๘ ดวง เท่านั้นจริงๆ คือ โสดาปัตติมรรคจิต ๑ โสดาปัตติผลจิต ๑ ตลอดไปจนถึงอรหัตตมรรค อรหัตตผล รวมเป็นโลกุตตรกุศล ๔ โลกุตตรวิบาก ๔ เพื่อที่จะให้ตอบคำถามนี้ให้ได้ว่า

    โลกุตตรจิตเป็นอพยากตธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นอพยากตะหรือเปล่า อพยากตะเป็นเฉพาะรูป

    ท่านอาจารย์ ธรรมทุกอย่างที่ไม่ใช่กุศล และไม่ใช่อกุศล ยืนยันไปได้เลย ตลอดทั้ง ๓ ปิฎก ในปรมัตถธรรม ๔ รูป นิพพาน เป็นอพยากตะ เพราะว่ารูปเป็นกุศลไม่ได้ เป็น อกุศลไม่ได้ นิพพานเป็นกุศลไม่ได้ เป็นอกุศลไม่ได้ แต่จิตที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นกิริยาก็มี เพราะฉะนั้นจิตใดเป็นกุศล จิตนั้นไม่ใช่อพยากตะ จิตใดเป็นอกุศล จิตนั้นไม่ใช่อพยากตะ เฉพาะวิบากจิตกับกิริยาจิตเป็นอพยากตะ

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ค่ะ ต้องบอกว่าเป็นอพยากตะ ๔ ดวง ไม่เป็นอพยากตะ ๔ ดวง ที่เป็นอพยากตะ คือ โลกุตตรวิบาก ที่ไม่เป็นอพยากตะ คือ โลกุตตรกุศล ธรรมต้องตรง และตายตัว ไม่ใช่ ก็ได้ๆ

    ผู้ฟัง มันเป็นเหตุปัจจัยไม่เหมือนกันนี่ครับอาจารย์ เพราะว่าอย่างคำว่าจิต พูดกันชัดๆ ว่า กิริยาจิตก็มี

    ท่านอาจารย์ ถูกค่ะ ถึงมีก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ก็ได้ ไม่ได้ ต้องเป็นกิริยาจิต แล้วก็โดยชาติ ๔ เราทราบว่า มีชาติ ๔ แต่ที่นี้เรากล่าวถึงธรรมโดยหมวด ๓ ย่อเป็น กุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา อพยากตาธัมมา กล่าวเฉพาะกุศลธรรม อกุศลธรรม อพยากตธรรม อันนี้เพื่อความเข้าใจกว้างขวาง และถูกต้องของผู้ศึกษาธรรมที่จะมีการทรงแสดงธรรมโดยนัยต่างๆ เพื่อผู้ฟังเข้าใจจริงๆ หรือเปล่า ถ้าเข้าใจจริงๆ ก็ตรงกัน เหมือนกันหมด แต่ว่ากล่าวได้โดยนัยต่างๆ แล้วตอบว่าอย่างไร ตอบอีกทีสิคะ

    ผู้ฟัง แม้คำว่า โลกุตตรจิต ตอนนี้ก็ยังหาคำจำกัดความที่ชัดเจน จะว่ามั่นใจ ก็ยังมั่นใจยาก ว่าจริงๆ แล้วคืออะไร โลกุตตรจิต

    ท่านอาจารย์ โลกุตตรจิต คือ จิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ นี่ทั้ง ๘ ดวง ไม่ว่าจะเป็นกุศลจิตหรือวิบากจิต มีนิพพานเป็นอารมณ์ สำหรับโลกุตตรกุศลจิตซึ่งเป็นมรรคจิต เป็นจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ และดับกิเลส แล้วสำหรับโลกุตตรวิบากจิตซึ่งเป็นผลของ โลกุตตรกุศลจิต มีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่ต่างกับโลกุตตรกุศลจิต คือ มรรคจิต เพราะ เป็นจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์โดยสภาพที่ดับกิเลสแล้ว ซึ่งเป็นผลสืบต่อจากมรรคจิต แต่ถ้าเป็นจิตอื่นซึ่งก็มีนิพพานเป็นอารมณ์ เช่น โคตรภูจิต ซึ่งเกิดก่อนมรรคจิต แต่ไม่ใช่โลกุตตระ เพราะไม่ได้ดับกิเลส

    เพราะฉะนั้นจึงจำกัดความว่า สำหรับโลกุตตรจิต ๑. มีนิพพานเป็นอารมณ์ และ ๒. แยกเป็น ถ้าเป็นโสดาปัตติมรรคจิต แล้วก็เป็นโลกุตตรจิตซึ่งดับกิเลส ถ้าเป็นผลจิตก็คือโลกุตตรจิตซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ โดยสภาพที่ดับกิเลสแล้ว

    ผู้ฟัง โลกุตตรจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นอพยากตะ

    ท่านอาจารย์ ทั้ง ๒ อย่างมีนิพพานเป็นอารมณ์ค่ะ

    ผู้ฟัง ทั้ง๒ อย่าง

    ท่านอาจารย์ แต่เฉพาะวิบากเท่านั้น

    ผู้ฟัง ขอบพระคุณครับ


    หมายเลข 9107
    14 ส.ค. 2567