อเหตุกะ - สเหตุกะ ๒


    อ.นิภัทร โมหมูลจิตเป็นสเหตุกจิต โมหเจตสิกเป็นอเหตุกะ เพราะว่าไม่มีเหตุอื่น เกิดร่วมด้วย แต่ทำไมโมหมูลจิตไม่มีเหตุอื่นเกิดร่วมด้วย มีแต่โมหเจตสิกเกิดร่วมด้วยถึงเป็นสเหตุกะ

    ผู้ฟัง อันนี้ดิฉันก็เคยงงเหมือนนิภัทร

    ท่านอาจารย์ อันนี้ไม่งง เพราะเหตุว่าสภาพธรรมก็ตามซึ่งเกิดร่วมกับเจตสิกที่เป็นเหตุ ภาษาบาลีใช้คำว่า สเหตุกะ คือเราคิดถึงเรื่องธรรมดาๆ แปล สเหตุกะ ออกมาก็หมายความถึง สภาพธรรมใดซึ่งเกิดร่วมกับเจตสิกซึ่งเป็นเหตุ สภาพธรรมนั้นมีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย ภาษาบาลีเรียกว่า สเหตุกะ

    เพราะฉะนั้นโมหมูลจิต พูดถึงจิต มีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นโมหมูลจิตเป็นสเหตุกจิต พูดถึงผัสสเจตสิกในโมหมูลจิต ก็เป็นสเหตุกะ เพราะเหตุว่ามีโมหะเกิดร่วมด้วย พูดถึงเวทนา สัญญา สังขาร เจตสิกใดๆ ที่เกิดร่วมกับโมหมูลจิต เว้นโมหเจตสิกที่เกิดกับโมหมูลจิตเท่านั้น ซึ่งไม่มีเหตุเจตสิกอื่นมาเกิดร่วมด้วย

    เพราะฉะนั้นถ้ากล่าวถึงโมหเจตสิกในโมหมูลจิต เป็นอเหตุกะ โมหเจตสิกในโมหมูลจิต แต่ถ้าในโลภมูลจิตเป็น สเหตุกะ เพราะเหตุว่ามีโลภเจตสิก เกิดร่วมด้วยที่เป็นเหตุ

    อ.นิภัทร ผมน่ะงง แต่เชื่อว่าทุกท่านก็อาจจะงงได้ คือถ้าพูดถึงเรื่องจิต เว้นจิต ๑๘ ดวงแล้ว นอกนั้นก็เป็นสเหตุกจิตทั้งนั้น คือ มีเหตุเกิดร่วมด้วย จะเหตุเดียว ๒ เหตุ ๓ เหตุ อะไรก็แล้วแต่ ก็เรียกว่า เป็นสเหตุกะทั้งนั้น เพราะมีเหตุเกิดร่วมด้วย แต่ถ้าพูดถึงเจตสิกที่ในโมหมูลจิต เป็นอเหตุกะ ไม่มีเจตสิกอื่นที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วย ก็จัดเป็นอเหตุกะ แต่ไม่ใช่อเหตุกจิตนะ

    ผู้ฟัง คำถามที่น่าจะงง ที่ตัวโมหะ เมื่อสักครู่นี้ กระผมก็อยากจะขอถามเพิ่มเติมว่า เพราะเหตุว่าจิตเกิดแล้วจะต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ถึงจะต้องบอกว่าจิตที่ประกอบด้วยโมหเจตสิก ร่วมกับโมหะ ก็เป็นอเหตุกะ

    ท่านอาจารย์ โมหะเป็นเหตุเจตสิก

    ผู้ฟัง โมหะเป็นเหตุ

    ท่านอาจารย์ เหตุเจตสิก ไม่ว่าจะเป็นโลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ไปเกิดร่วมกับจิตหรือเจตสิกใดๆ ก็ตาม จิต และเจตสิกนั้นๆ ชื่อว่า มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย ซึ่งภาษาบาลีใช้คำว่า สเหตุกะ เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นโมหมูลจิต มีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วย จึงเป็นโมหมูลจิต ใช่ไหมคะ

    ผู้ฟัง ครับ แต่มันไปขัดแย้งตรงนี้ ขัดแย้ง คำว่า อเหตุกะ แล้วก็ เหตุกะ ก็เรียงมาเลย โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ

    ท่านอาจารย์ นี่คือเหตุ ๖

    ผู้ฟัง นี่คือเหตุ ๖

    ท่านอาจารย์ นอกจากนั้นเป็นนเหตุทั้งหมด

    ผู้ฟัง นอกจากนั้นเป็นนเหตุทั้งหมด

    ท่านอาจารย์ คือภาษาไทยธรรมดา ไม่ใช่เหตุ นเหตุ คือ ไม่ใช่เหตุ จิตไม่ใช่เหตุ เจตสิก๔๖ ไม่ใช่เหตุ รูปไม่ใช่เหตุ นิพพานไม่ใช่เหตุ แต่พอถึง สเหตุกะ เหตุเจตสิก คือ โลภะ โทสะ โมหะ หรืออโลภะ อโทสะ อโมหะ เกิดกับจิต เจตสิกใด จิตเจตสิกนั้น ภาษาไทยเราก็บอกว่า มีโมหะเกิดร่วมด้วย ซึ่งภาษาบาลีใช้คำว่า สเหตุกะ คือ มีเหตุ โดยที่ยังไม่ได้แจ้งว่าเหตุอะไรเท่านั้นเอง แต่เป็นจิตที่มีเหตุหรือเจตสิกที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย

    สำหรับโมหเจตสิก แล้วแต่ว่าเขาจะเกิดกับจิตดวงใด ถ้าเกิดกับโลภมูลจิต โมหเจตสิกนั้นแน่นอนต้องเป็นสเหตุกะ เพราะว่ามีโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วย ถ้าพูดถึงโมหเจตสิกล้วนๆ ทีนี้พอถึงโทสมูลจิตก็เหมือนกัน โมหเจตสิกในโทสมูลจิต ก็ต้องเป็นสเหตุกะ เพราะมีโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย แล้วลองคิดถึงโมหมูลจิต ไม่มีโลภเจตสิก ไม่มีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วย มีแต่โมหเจตสิก ที่เป็นเหตุๆ เดียว

    เพราะฉะนั้นจิต และเจตสิกอื่นที่ไม่ใช่โมหเจตสิก มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ตัวโมหเจตสิก จะไปเอาเหตุ หรือไปเอาโมหะไหนมาเกิดอีกกับเขา ไม่มี เพราะฉะนั้นโมหเจตสิกในโมหมูลจิต จึงไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ซึ่งภาษาบาลี ก็ใช้คำว่า อเหตุกะ เท่านั้นเอง ธรรมตรงไปตรงมา แต่ต้องเข้าใจให้ละเอียด


    หมายเลข 9109
    14 ส.ค. 2567