วิริยเจตสิกไม่เกิดกับจิตบางประเภท
ผู้ฟัง สงสัยโลภมูลจิตที่มีวิริยะเกิดร่วมด้วย เพราะว่าวิริยเจตสิกก็เกิดกับโลภมูลจิตทุกดวงทุกประเภท
ท่านอาจารย์ นี่คือความละเอียด ที่ทรงแสดง จิต ว่าจะต้องมีเจตสิกอะไรเกิดร่วมด้วยบ้าง จำนวนเท่าไหร่ เช่นขณะที่เห็นไม่ต้องมีวิริยเจตสิกเลย เพราะว่าเมื่อถึงกาลที่กรรมใดจะให้ผล ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีอะไรปรากฏเลย กำลังเป็นภวังค์ หมายความว่า ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก
เพราะเหตุว่าถ้าจะแบ่งจิตออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ก็คือจิตที่เป็นวิถีจิต ต้องอาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และก็รู้สิ่งที่ปรากฏทาง ตา หรือหู จมูก ลิ้น กาย ใจ กับจิตอีกประเภทหนึ่งไม่รู้อารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้นเช่นขณะที่หลับสนิท เพราะฉะนั้นสำหรับเรื่องของการที่เห็นจะเกิดขึ้น โดยที่ว่าก่อนนั้นไม่เห็น ใช่ไหม หรือว่าเสียงจะปรากฏ โดยที่ก่อนนั้นเสียงไม่ได้ปรากฏ ขณะนี้เสียงไม่ได้ปรากฏ และเวลาที่เสียงจะปรากฏได้ ก็แสดงให้เห็นว่าจะต้องมีกรรมเป็นปัจจัย แล้วก็มีโสตปสาทเป็นต้น ทั้งโสตปสาท และเสียงมีอายุแค่ ๑๗ ขณะ เร็วมาก แต่กรรมก็สามารถที่จะเป็นปัจจัยให้วิถีจิตเกิด โดยปัญจทวาราวัชชนจิตมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยมากกว่าโสตวิญญาณ เพราะเหตุว่าปัญจทวาราวัชชนจิตไม่ใช่วิบากจิต ถ้าไม่เป็นการกระทบกันของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เป็นผลของกรรม แต่ก่อนที่วิบากจิตจะเกิด กรรมจะให้ผลได้ ต้องมีจิตประเภทนี้เกิดคั่น ระหว่างภวังคจิตกับจิตที่เป็นผลของกรรมที่เป็นจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่าทรงแสดงจิตโดยละเอียดว่า จิตขณะไหน มีเจตสิกอะไรเกิดร่วมด้วย เพราะเหตุใด เพราะฉะนั้นพอถึงปัญจทวาราวัชชนจิตหรือจิตอื่นๆ ซึ่งถ้ากล่าวโดยประเภทของจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ คือโลภะ โทสะ โมหะ เพราะเหตุว่าเป็นเพียงผลของกรรม และเป็นกิริยาจิต ก็ในประเภทของจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ จะไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย เป็นไปตามกระแส เป็นไปตามปัจจัย คือกัมมปัจจัย และปัจจัยอื่นๆ แต่เวลาจิตที่เป็นกุศลหรืออกุศล เปลี่ยนสภาพจากการที่เพียงเห็น ใช่ไหม เพราะฉะนั้นจากการที่เพียงเห็นสิ่งที่ปรากฏ จะเห็นได้ว่าเมื่อสิ่งนั้นดับไปแล้วโดยที่ว่าถ้ากล่าวโดยนัยของพระสูตร เราไม่กล่าวละเอียดถึงจิตประเภทใดบ้างซึ่งเกิดสืบต่อ เพราะเหตุว่าเท่าที่แต่ละคนสามารถที่จะเข้าใจได้ คือ เมื่อเห็นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ก็จะเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต และอกุศลจิตก็แล้วแต่ว่าจะเป็นโลภมูลจิตคือจิตที่ติดข้องพอใจในสิ่งที่ปรากฏ หรือว่าเป็นโทสมูลจิต คือไม่ชอบ สิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นเมื่อเห็นความต่างของจิตสองประเภทก็จะเห็นได้ว่าสำหรับจิตเห็น ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ที่มา ...