อเหตุกจิต ๑๖ ดวงไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเมื่อเห็นความต่างของจิตสองประเภท ก็จะเห็นได้ว่าสำหรับจิตเห็น ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่สำหรับประเภทที่เป็นโลภมูลจิต โทสมูลจิตรึกุศลจิต ต้องมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยแล้ว ตามกิจการงาน ตามประเภทของจิตนั้นๆ โดยที่เราก็เลือกไม่ได้

    ผู้ฟัง ถึงแม้จะไม่ได้ปรากฏให้รู้

    ท่านอาจารย์ แม้จะไม่รู้ แต่ผู้รู้มี และได้ทรงแสดงไว้ และก็มีเหตุผลที่ได้ทรงแสดงถึงปัจจัยต่างๆ ของสภาพธรรมที่ทำให้เกิดความต่างของจิตประเภทนั้นๆ ด้วย

    ผู้ฟัง อย่างนั้น ถ้าในชีวิตประจำวันที่เราพอจะสังเกตได้ อย่างเช่น โลภมูลจิตเกิดขึ้นกับเราๆ มีความต้องการที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด อันนั้นก็ไม่ใช่สภาพของวิริยเจตสิก ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถ้าโลภะเกิด ต้องมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง กุศลจิตประเภทใด อกุศลจิตประเภทใด ต้องมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยพร้อมเจตสิกอื่นๆ ซึ่งมากกว่า ๗ ประเภท

    ผู้ฟัง แต่ลักษณะของวิริยะที่เกิด ร่วมกับโลภมูลจิต ก็เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถที่จะรู้ได้ แต่การที่เราต้องการหรือว่ามีการกระทำออกไปทางกายหรือทางวจีกรรมอย่างนี้ มันก็เป็นอีกชนิดหนึ่งแล้ว ซึ่งไม่เกี่ยวกับวิริยเจตสิกซึ่งเกิดร่วมกับโลภมูลจิต หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้นที่กำลังต้องการจะทำอะไรนั่น เป็นจิตประเภทไหน

    ผู้ฟัง ต้องการจะทำ เป็นโลภมูลจิต

    ท่านอาจารย์ มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยหรือเปล่า (ก็มี)

    ผู้ฟัง แต่ว่าพอเราทำ

    ท่านอาจารย์ โลภมูลจิตหรือเปล่า ที่ทำ

    ผู้ฟัง ก็โลภะเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ แล้วมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยไหม

    ผู้ฟัง แสดงว่าเกิดเป็นสายต่อกันไปเรื่อย จนกว่าเราจะทำเสร็จ

    ท่านอาจารย์ ต้องรู้ว่าจิตประเภทใดไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย นอกจากนั้น มี ถ้านอกจากนั้นมี ก็แสดงว่าเพียงแค่มีความติดข้อง ยังไม่ทันรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร ก็มีวิริยเจตสิกเกิดแล้ว หรือกำลังทำโลภมูลจิต โทสมูลจิต โมหมูลจิต หรือว่ากุศลจิต ก็มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยแล้ว

    เพราะฉะนั้นจะมีสภาพธรรมที่เกิดดับ โดยเราไม่รู้ เพียงศึกษาแล้วก็รู้ว่าขณะนี้มีผัสสเจตสิก แล้วใครรู้ลักษณะของผัสสเจตสิก

    ผู้ฟัง จิตประเภทใดที่ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย

    ผู้ฟัง ก็ต้องเป็นวิบากจิตที่เป็นอเหตุกะ

    ท่านอาจารย์ ทั้งหมดเป็นอเหตุกจิต ๑๖ ดวง อเหตุกจิตทั้งหมดมี ๑๘ ที่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย จะได้แก่มโนทวาราวัชชนจิตกับหสิตุปปาทจิตเท่านั้น โดยเหตุผลก็ต้องมีว่าขณะนั้นต้องมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย เช่น เรานอนหลับ ตื่นขึ้นมาคิดๆ นี่ต้องมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย


    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 136


    หมายเลข 9224
    29 ส.ค. 2567