สนทนาธรรมที่สหรัฐอเมริกา ๑๙


    สนทนาธรรมที่สหรัฐอเมริกา ๑๙


    ผู้ฟัง เป็นปัญหาติดอกติดใจ รูปคืออะไร นามคืออะไร อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ พวกที่ไม่ได้เรียนเลย จะมีความรู้ ไม่มีความรู้ ...

    ท่านอาจารย์ คำตอบตายตัวสำหรับวันนี้ ทราบแล้วใช่ไหมคะ รูปธรรมมีจริง แต่ไม่ใช่ สภาพรู้ ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย นี่เป็นคำจำกัดความตายตัวของรูปธรรม ทิ้งความ เห็นความคิดเรื่องอื่นทั้งหมด มาพิจารณาดูว่าสิ่งที่มีจริงๆ ลักษณะเป็นอย่างนั้นจริงๆ หรือ เปล่า คือ รูปธรรมก็มีจริง แต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้ ส่วนนามธรรมก็มีจริง แต่ไม่มีรูปร่าง ลักษณะอะไรๆ ทั้งสิ้น เป็นธาตุต่างจากรูป เพราะว่าเป็นธาตุรู้ ซึ่งเมื่อธาตุนี้เกิดขึ้น ต้องรู้ สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏให้รู้

    ผู้ฟัง อะไรระลึกรู้รูป หรือ นาม

    ท่านอาจารย์ ปัญญา แม้แต่ขณะที่ฟังเป็นกุศลจิต อาจจะไม่รู้ เพราะเป็นจิตที่ดีงาม จึงไม่ไปเที่ยว ไม่ไปนอน หรือว่าไม่สนใจเรื่องอื่น แต่ยังมีศรัทธา สภาพผ่องใสที่ขณะนั้น ไม่มีโลภะติดข้องในสิ่งอื่นใด ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ มีศรัทธาที่จะรับฟัง ขณะนั้นเป็นกุศล

    เพราะฉะนั้น ขณะใดที่จิตเป็นกุศล ขณะนั้นมีสติเจตสิก มีปัญญาเจตสิกขณะที่ เข้าใจ ซึ่งสติเจตสิก และปัญญาเจตสิก จากฟังครั้งที่ ๑ ก็เป็นสังขารขันธ์ที่จะปรุงแต่ง ให้เจริญขึ้น ฟังอีกก็เข้าใจขึ้นอีก ไม่ใช่ว่าไม่มีการฟังเลยคิดขึ้นมาเองได้ ปุบปับ ขึ้นมาก็ เป็นปัญญา แล้วไม่มีเหตุที่สมควรแก่ผล เป็นความหวังที่เลื่อนลอย เพราะไม่รู้ว่าปัญญารู้ อะไร แต่ถ้าคนที่รู้ว่าปัญญารู้อะไร เขารู้เลย ต้องเป็นการอบรม ปัญญารู้สภาพที่มีจริงที่ กำลังปรากฏตามความเป็นจริง คือ ไม่ใช่เรา นามธรรมเป็นนามธรรม รูปธรรมเป็นรูปธรรม แล้วเมื่อไรความรู้ของเราจะเป็นอย่างนี้ทั่วทั้งวัน คือ ไม่มีเรา เมื่อระลึกขึ้นมาได้ก็มี ลักษณะของปรมัตถธรรมที่เป็นนามธรรมหรือรูปธรรม จากการฟังจะทำให้ปัญญา และสติ เจริญถึงระดับที่เรียกว่า ปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ เพราะว่ามีลักษณะของปรมัตถธรรมปรากฏ พร้อมด้วยปัญญาที่รู้ในลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม

    เมื่อใช้คำว่าในลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม หมายความว่าเป็นสิ่งที่มีจริง แล้วไม่มี เรา ไม่ใช่เราในสิ่งนั้น เป็นธรรมจริงๆ ที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย

    ผู้ฟัง ผมอยากถามอีกอย่างหนึ่ง คำสอนของคณะนี้กับคำสอนของพระสงฆ์ ต่างกันอย่างไร ผมไม่เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ คำสอนต้องการให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจถูก ความเห็นถูก จากใครก็ตามแต่

    ผู้ฟัง แล้วต่างอย่างไรกับคำสอน

    ท่านอาจารย์ ยังไม่มีใครเป็นผู้สอน สิ่งที่เราฟัง เราฟังเพื่อเข้าใจ แล้วก็พิจารณาว่า สิ่งที่เราได้ยินได้ฟังถูกต้องหรือเปล่ากับสภาพธรรมตามความเป็นจริง เราไม่ได้คิดว่า เป็นของใครทั้งหมด เพราะเหตุว่าไม่มีใครที่จะตรัสรู้ อย่างเรื่องนามธรรมกับรูปธรรม ถ้า ไม่มีการฟัง ถ้าไม่ทรงแสดง เราก็ไม่รู้ เราก็เป็นเรา ตลอดไป

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ไม่ได้ตอบคำถามผม

    ท่านอาจารย์ นี่กำลังจะตอบว่า คำสอนไม่ใช่ของใครที่จะบอกว่า ของคนนี้ของคนนั้น ไม่ใช่

    ผู้ฟัง หมายความว่าแตกต่างกันอย่างไร

    ท่านอาจารย์ คำสอนทุกอย่าง ไม่ว่าเรื่องอะไร สอนเพื่อให้คนเข้าใจ ถ้าสอนเรื่อง บัญชี ธนาคาร เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ ก็สอนให้คนเข้าใจในสิ่งที่สอน ไม่อย่างนั้นเราจะ ไปศึกษา ไปฟังทำไม เพราะฉะนั้น ทุกคำสอนเป็นคำสอนเพื่อให้เราเข้าใจ ทีนี้ถ้าคำ สอนใดให้เราเข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ถูกต้องตามความเป็นจริง คำสอนนั้นถูกหรือผิด นี่เป็นหน้าที่ของผู้ฟังที่จะพิจารณา ไม่ใช่ให้เชื่อ ไม่ใช่บอกว่านี่ของคนนี้ นี่ของคนนั้น

    ผู้ฟัง คือคำตอบไม่แตกต่างกัน

    ท่านอาจารย์ พระธรรมไม่ต่าง

    ผู้ฟัง แต่วิธีการสอนแตกต่างกัน

    ท่านอาจารย์ คือว่าอย่างนี้ ฟังแล้วเข้าใจ ถูกต้อง นั่นคือการศึกษาคำสอนที่ถูกต้องที่ เข้าใจได้ ที่เป็นธรรม แต่ถ้าไม่เข้าใจ ก็ต้องพิจารณาว่า สิ่งที่ได้ยินได้ฟังถูกต้องหรือ เปล่า ต้องพิจารณา อย่าง “ธรรม” หมายความถึงสิ่งที่มีจริงทั้งหมด ถูกไหม เพราะว่ามี จริงๆ ไม่ได้สอนเรื่องเลื่อนลอย พิสูจน์ไม่ได้ แต่สอนถึงสิ่งที่มีจริงๆ ให้เกิดความเข้าใจที่ ถูกว่า สิ่งที่มีจริงมีลักษณะต่างกัน ๒ อย่าง ยังไม่ต้องอ้างพระพุทธเจ้า หรืออะไรๆ ทั้งหมด เพียงแต่ได้ยินอย่างนี้ เราสามารถที่จะเข้าใจตามได้ไหมว่า สิ่งที่มีจริงๆ มีลักษณะต่างกัน ๒ อย่าง คือ อย่างหนึ่ง ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย แล้วคำสอนดั่งเดิมเป็นภาษาบาลี ซึ่ง จะต้องตรงกันทุกประเทศที่นับถือ หรือว่าที่ศึกษาวิชานี้ ก็ต้องใช้ภาษานี้ ถ้าศึกษาเรื่อง คอมพิวเตอร์ก็ต้องใช้ภาษาโน้น ถ้าศึกษาเรื่องธุรกิจ ก็ต้องใช้อีกภาษาหนึ่ง เพราะฉะนั้น เมื่อศึกษาเรื่องนี้ทั่วโลกต้องใช้คำเดียวกัน คือ รูปธรรม เป็นสภาพที่มีจริง แต่ไม่สามารถ จะรู้อะไรได้เลย และก็นามธรรมก็เป็นสิ่งที่มีจริง ต่างจากรูปธรรมโดยสิ้นเชิง เพราะว่า เป็นธาตุที่เกิดขึ้นแล้วต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด

    ผู้ฟัง ผมคิดว่าคงจะกลัวคำว่า ชื่อของธรรม อย่างปรมัตถธรรม หรือพระอภิธรรม คำว่า พระอภิธรรม ธรรมที่ยิ่งใหญ่หรือสูงยิ่ง คนที่พอฟัง ในลักษณะที่เป็น คิดว่าคงจะรับ ไม่ไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากว่าให้ศึกษาเรื่องพระอภิธรรมแล้ว มักจะหลับ ปวดหัว สู้ไม่ไหว ฟังไม่รู้เรื่อง

    ท่านอาจารย์ ถ้าเพียงอ่านก็จะเป็นอย่างนั้น ถ้าเป็นความเข้าใจจะไม่เป็นอย่างนั้น ความเข้าใจจะทำให้เบาสบาย แล้วก็มีความรู้ที่ถูกต้อง อย่างเราเคยยึดถือสภาพธรรม ว่า เป็นเรา เป็นตัวตน เป็นของเรามานานแสนนาน แต่ถ้ารู้ความจริวว่า ไม่มีใครเป็นเจ้าของ สภาพธรรมทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยต่างๆ แม้แต่รูปเกิดขึ้นจากกรรมก็มี จากจิตก็ มี จากอุตุก็มี จากอาหารก็มี ก็แสดงให้เห็นว่า ทุกอย่างที่เกิดต้องมี ธรรมที่ก่อตั้งให้รูปนั้น เกิด ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา เราก็เบาสบายจากการที่เราจะไปยึดถือว่าเป็นเรา

    ผู้ฟัง ผมก็คิดว่า ตามที่ผมถามว่า พระท่านก็สอนไปในลักษณะ แล้วท่าน อาจารย์ก็สอนไปอย่างนี้ แล้วผมประมวลว่า คำว่าที่พระท่านสอนในลักษณะนี้ก็คือ พระ ท่านอาจจะสอนว่าธรรมคือสภาวะที่รักษาผู้ประพฤติปฏิบัติ ไม่ให้ตกไปอธรรม

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่ผิด เพราะเหตุว่าถ้าเป็นปัญญา แต่ถ้าเป็นอกุศล ไม่ใช่ อกุศลจะไป รักษาใครได้

    ผู้ฟัง รูปคือสภาวะที่มองเห็นด้วยตา

    ท่านอาจารย์ นั่นคือรูปหนึ่ง ไม่ใช่รูปทั้งหมด


    หมายเลข 9310
    21 ส.ค. 2567