สนทนาธรรมที่สหรัฐอเมริกา ๒๙


    สนทนาธรรมที่สหรัฐอเมริกา ๒๙


    ผู้ฟัง แล้วเราจะใช้คำว่าพูดอย่าง ... ได้หรือไม่ ... คือ ..อาจจะเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของคน แต่ทีนี้ทำอย่างไรคนเราถึงจะรู้จักกับกิเลสได้

    ท่านอาจารย์ ก็ฟังให้เข้าใจ ไม่อย่างนั้นใครมาบอกเราว่า โลภะเป็นอกุศล เราก็ไม่เชื่อ จนกว่าเราจะฟังแล้วพิจารณาว่าเป็นจริงอย่างนั้นหรือเปล่า ความติดข้องจะเป็นความดีงามได้อย่างไร แล้วจะเป็นความเบาสบายได้อย่างไร

    ผู้ฟัง อาจารย์ อาจารย์บอกว่า ความรักนี้ก็เป็น

    ท่านอาจารย์ โลภะค่ะ

    ผู้ฟัง โลภะ อกุศล

    ท่านอาจารย์ อกุศล ค่ะ

    ผู้ฟัง ลูก รักลูก ไม่ว่าลูกจะอย่างไรก็รัก ซึ่งผมรู้ว่าทำไม่ได้

    ท่านอาจารย์ นี่คือโลภะยิ่งหนักเข้าไปอีก ไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น ฉันรักอย่างเดียว

    ผู้ฟัง อันนั้นหนักเข้าไปอีก

    ท่านอาจารย์ จะเลว จะชั่ว จะอย่างไรฉันก็รัก คือไม่มีความคิดจะแยกแยะว่า รักแล้ว ต้องรักส่วนดี ใช่ไหมคะ นี่รักไปหมด

    ผู้ฟัง ถ้าเผื่อรัก รักส่วนดี ก็ยังถือว่าเป็นโลภะ

    ท่านอาจารย์ เป็นค่ะ เพราะว่าเป็นความติดข้อง

    คือเราต้องแจ่มแจ้งในพระธรรมแม้ว่าเราไม่ถึงระดับนั้น แต่เราเริ่มเข้าใจ ไม่อย่างนั้นจิตใจของเราก็อยู่อย่างนั้นแหละ คือยึดถือสิ่งที่ไม่ดีว่าใช้ได้ ดี แต่ว่าถ้าเราเห็นว่าไม่ดีเพิ่มขึ้นๆ เราก็มีปัญญาที่จะค่อยๆ ห่างจากสิ่งนั้น ด้วยปัญญา ไม่ใช่ด้วยความเป็นเรา ถ้าใครมาบอกเราว่า โลภะไม่ดี เราบอกว่าฉันจะไม่มีโลภะ ไม่มีทาง ไม่มีทางค่ะ ถ้าปัญญาไม่เกิด อย่าไปทำอะไรกับโลภะ ทำไปจนตายก็ไม่ชนะ เพราะว่าทำไปด้วยโลภะทั้งหมด แม้แต่ที่อยากจะชนะ ก็เพราะโลภะ ทำให้อยากชนะโลภะ

    ผู้ฟัง เรารู้คำว่าโลภะไม่ดี แต่ว่าถ้าเรามีความจำเป็น ต้องการมี

    ท่านอาจารย์ โลภะไม่ดี แต่ทุกคนมี ว่าอย่างนั้นดีกว่า

    ผู้ฟัง อยากจะซื้อรถ อย่างนี้ถือเป็นโลภะ

    ท่านอาจารย์ เป็นก็เป็น ก็ไม่ใช่เรา เป็นสภาพติดข้องที่เขาเกิดขึ้น ประเดี๋ยวเขาก็เปลี่ยนไปแล้ว เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นจึงรู้ว่า อาวุธอะไรที่จะดับโลภะ ปราบโลภะ ก็คือปัญญา เพราะฉะนั้น เมื่อรู้อย่างนี้ เราแสวงหาปัญญา เราไม่เดือดร้อนกับโลภะ เพราะเราทำอะไรโลภะไม่ได้ แต่เมื่อมีปัญญา ปัญญาก็ทำหน้าที่ของเขาตามลำดับ อย่างพระโสดาบันละโลภะที่เกิดกับความเห็นผิด เวลาที่เรามีความเห็นผิด เราไม่รู้ว่าเราชอบความเห็นอันนั้น แม้ว่าผิดก็ชอบ มีคนที่เป็นอาจารย์เจ้าลัทธิ แล้วก็รู้ด้วยว่าพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ไหน ไม่เคยไปเฝ้า ยังชอบความเห็นผิดอยู่ กลัวว่าจะหมดความเห็นผิดของตัว

    ผู้ฟัง แล้วเขาจะ ...

    ท่านอาจารย์ ไม่มีทางค่ะ อวิชชา ไม่รู้ ไม่รู้ ไม่รู้ ทั้งหมด ไม่รู้ทุกอย่าง สภาพธรรม กำลังปรากฏ กำลังเกิดดับก็ไม่รู้ หน้าที่ของอวิชชาต้องไม่รู้ อวิชชาจะมาทำหน้าที่ของปัญญาไม่ได้

    ผู้ฟัง คงจะเหมือนกับนักโทษบางคนที่ไปทำความชั่วร้าย อย่างไปฆ่าใครสักคน คือเขาไม่มีความเสียใจ อันนั้นก็ถือว่าเป็นอวิชชา ใช่ไหมคะ

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ถือ เป็น คือถ้าถือหมายความว่ามันไม่เป็นแต่เราถือว่าเป็น แต่นี้เราต้องรู้ความจริงว่า เป็นคือเป็น

    เพราะฉะนั้น เราก็เริ่มเข้าใจตัวเรา เห็นเลยว่า น่าเกลียดมากเลย ใช่ไหมคะ จิต ขณะใดที่อกุศลจิตเกิด เห็นเลย ใช่ไหมคะ แต่ถ้าไม่เห็นก็ช่วยไม่ได้ เพราะว่าอวิชชาไม่เห็น แต่ถ้าปัญญาเริ่มฟัง เริ่มพิจารณา ธาตุรู้ชนิดนี้มี แต่สิ่งที่ไม่ดีเยอะแยะเลย เกิดขึ้นจริง

    ผู้ฟัง ปัญญาที่เกิดขึ้น เพระว่าเราศึกษา มีความรู้ และมีความเข้าใจขึ้นมา เราก็เกิดปัญญา

    ท่านอาจารย์ ปัญญาเกิด

    ผู้ฟัง ปัญญาเกิด เพราะเรามีความเข้าใจ ในเรื่องของธรรม

    ท่านอาจารย์ ปัญญาคือความเข้าใจ ค่อยๆ เจริญขึ้น ต่อไปเราจะกันคำว่าเราออก แล้วก็จะมีสภาพธรรมเกิดบ่อยๆ

    ผู้ฟัง เปลี่ยนภาษาเยอะเลย

    ท่านอาจารย์ แน่นอน ตอนแรกก็อย่างนี้ คือโดยเฉพาะเวลาที่จะพูดกับคนใหม่ๆ เขายังมีความเป็นเรา เพราะฉะนั้น ภาษาที่ใช้เขาจะเข้าใจ ถ้าใช้คำว่าเรา แต่จริงๆ ต้องค่อยๆ ให้เขาเห็นถูกขึ้น เวลาสติเกิด เวลาปัญญาเกิด แต่ถ้าพูดผิดๆ เวลาที่เรามีปัญญาเกิดขึ้น มันก็มีเรา แล้วก็มีปัญญาเกิด

    ผู้ฟัง จับแยกกัน

    ท่านอาจารย์ แต่ความจริงเวลาปัญญาเกิด เราไม่มี เวลาสติเกิด เวลาอกุศลเกิด เวลากุศลเกิด

    ผู้ฟัง นั่นเป็นสิ่งที่ยากมาก ที่จะพูดตอนนี้ พยายามคิดว่า เราจะแยกอย่างไร ว่า OK นี่ตัวอ้อย แต่ความจริงไม่ใช่ตัวอ้อยนะ อะไรอย่างนี้ มัน CONFUSE มาก

    ท่านอาจารย์ ก็คือว่า ทราบว่าเป็นธรรมก่อน แล้วก็ทราบว่าเป็นนามธรรมกับรูปธรรม แล้วก็ทราบว่า นามธรรมคือจิตกับเจตสิก ทีนี้พอโกรธเกิด เราก็รู้ นี่ลักษณะเจตสิก แต่ว่าเมื่อไม่รู้คือเรานี้แหละโกรธมาก ถึงอย่างนั้นอย่างนี้


    หมายเลข 9322
    21 ส.ค. 2567