สนทนาธรรมที่สหรัฐอเมริกา ๓๒
สนทนาธรรมที่สหรัฐอเมริกา ๓๒
ผู้ฟัง อาจารย์ อย่างนั้นนามธรรมก็คือก็คือจิต
ท่านอาจารย์ จิต และเจตสิก
ผู้ฟัง จิต และเจตสิก ๒ อย่าง
ท่านอาจารย์ ๒ อย่าง ที่จริงแล้วนิพพานเป็นนามธรรม โดยอรรถที่ว่าไม่ใช่รูปธรรม แต่นิพพานต่างจากจิต เจตสิก เพราะว่านิพพานเป็นนามธาตุที่ไม่เกิด ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง เพราะฉะนั้น นามธรรมมี ๒ อย่าง คือ นามธรรมที่รู้อารมณ์ นามธรรมที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์กับนามธรรมที่ไม่เกิดแล้วไม่รู้อารมณ์ คือ นิพพาน
จิต หมายความว่าเขาเป็นธาตุรู้ เราเกิดขึ้นแล้วเขาไม่ทำอะไรเลย ทำอะไรไม่ได้นอกจากรู้ นั่นคือกิจหน้าที่ของเขา คือรู้ เจตสิกเขาเกิดกับจิตมี ๕๒ ชนิด แต่ละชนิดทำหน้าที่แต่ละอย่าง มีลักษณะแต่ละอย่าง อย่างโลภะเป็นเจตสิก เกิดกับจิตที่เป็นอกุศล เพราะฉะนั้น เจตสิกก็จะแยกเป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตได้ทุกชนิด แล้วถ้าจิตนั้นเป็นอะไร เขาก็เป็นอย่างนั้น ถ้าจิตเป็นวิบาก เจตสิกก็เป็นวิบาก จิตเป็นกุศล เพราะเจตสิกฝ่ายดีเกิดร่วมด้วยจึงเป็นกุศล อาศัยกัน และกันเกิดขึ้นปรุงแต่งให้เป็นประเภทต่างๆ เพราะเป็นแต่เพียงธาตุรู้อย่างเดียว ไม่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย เป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่จะเกิดต้องมีกรรมเป็นปัจจัยปรุงแต่งให้เกิด ใครจะรู้หรือไม่รู้ว่า นามธรรมซึ่งเป็นจิต แม้มองไม่เห็น ไม่มีรูปร่าง ก็มีเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่เกิดร่วมกัน เป็นปัจจัย
ผู้ฟัง แล้วเรามีวิธี control ว่า เจตสิกกำลังจะเกิด แต่ทางโลกนี้เราไม่ได้เกิด
ท่านอาจารย์ เราไม่มี เพราะฉะนั้นลองคิดดูอะไรจะ control นอกจากความคิด เป็นจิตที่คิดเกิดแล้วก็ดับไป เท่านั้น แค่คิด
ผู้ฟัง เจตสิก เจตสิกมันคล้ายๆ กับ reaction ของจิต
ท่านอาจารย์ ไม่อยากจะใช้คำอื่น เพราะว่าถ้าเราสามารถจะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมได้ว่า เขาเป็นนามธรรม ซึ่งจะต้องเกิดในจิต หรือเกิดกับจิต เกิดนอกจิต หรือเกิดกับอย่างอื่นไม่ได้เลย
ผู้ฟัง จิตเกิดขึ้น จิตเป็นสภาพรู้ แล้วเจตสิกเป็นสภาพ
ท่านอาจารย์ รู้ที่เกิดร่วมกัน รู้ที่เกิดร่วมกัน แต่ทำหน้าที่คนละอย่าง คือ เขาไม่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้อย่างจิต คือ จิตสามารถที่จะรู้แจ่มแจ้งในอารมณ์ที่กำลังปรากฏ หน้าที่ของเขาหน้าที่เดียว แต่ว่าเวลาที่เขาเกิดขึ้นเจตสิกที่รู้อารมณ์เดียวกับจิตเขาชอบหรือไม่ชอบในสิ่งนั้นเป็นหน้าที่ของเจตสิก เขารู้สึกดีใจ หรือเสียใจ หรือเฉยๆ เวลาที่กำลังรู้อารมณ์นั้น เป็นหน้าที่ของเจตสิก
เพราะฉะนั้น จิตไม่ทำอะไรทั้งนั้นนอกจากเกิดขึ้นรู้ เป็นใหญ่ เป็นประธานเป็นอินทรีย์ เรียกว่า มนินทรีย์ ในการรู้แจ้งอารมณ์ ไม่มีเขา เจตสิกก็เกิดไม่ได้ แต่ไม่มีเจตสิก เขาก็เกิดไม่ได้ แต่ระหว่าง ๒ คนใครเป็นใหญ่
ผู้ฟัง จิต
ท่านอาจารย์ เพราะว่าจิตเกิดตลอดเวลา แล้วก็มีเจตสิกที่บางครั้งเกิดกับจิตนี้ บางครั้งเกิดกับจิตนั้น
ผู้ฟัง อาจารย์บอกว่าทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วหายไป
ท่านอาจารย์ ดับ ดับ
ผู้ฟัง ดับไป จิตเกิดขึ้นขณะเดียวกันเจตสิกเกิดด้วย
ท่านอาจารย์ เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน เกิดที่เดียวกัน แยกกันไม่ออกเลย เป็นสิ่งที่ผสมกลมกลืน เป็นนามธรรมด้วยกัน ลองคิดดู เราเอารูปมารวมกันอย่างละเอียดมาก เรายังแยกไม่ออกเลย พริก หอม กระเทียม กะทิ ผสมกันไปหมด ไม่รู้จะแยกอย่างไร
ดีใจหรือเสียใจก็เป็นเจตสิก
ภวังคจิตเป็นกิจหน้าที่ของจิต จิตทั้งหมดจะมีหน้าที่หนึ่งหน้าที่ใดใน ๑๔ กิจ จิตเกิดขึ้นทำหน้าที่การงานเฉพาะอย่างๆ จิตนี้ทำหน้าที่อะไร
ผู้ฟัง ปฏิสนธิจิตทำหน้าที่อะไร
ท่านอาจารย์ ทำหน้าที่ปฏิสนธิ ภวังคจิตก็ทำหน้าที่ภวังค์ ดำรงภพชาติ จิตเห็นก็ทำหน้าที่เห็น นี่ก็นับได้ตั้งหลายจิตแล้ว ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ นี่ก็ได้ตั้ง ๓ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส อีก ๕ รวมเป็น ๘ แล้ว เหลืออีกนิดเดียว
ผู้ฟัง อาจารย์คะ ขณะที่ฝัน คิดหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ คิด
ผู้ฟัง ไม่ใช่จิตหรือคะ
ท่านอาจารย์ อ้าว แล้วอะไร ๒ อย่างนามธรรมกับรูปธรรม
ผู้ฟัง เพราะว่าตอนที่เราหลับนี้เราไม่รู้
ท่านอาจารย์ ค่ะ แล้วที่ฝันนี้ไม่ใช่หลับ ถ้าหลับก็ไม่รู้อะไรเลย ไม่ฝันด้วย คือ หลับสนิท
ผู้ฟัง ระบบจิตคนเราส่วนมากหลับแล้วฝัน
ท่านอาจารย์ ฝันก็จริง ฝันคือคิด เพราะขณะนั้นที่ฝัน ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น จำ เรื่องราว เพราะฉะนั้นฝันเป็นบัญญัติ นึกถึงเรื่องราว
ผู้ฟัง เป็นสัญญาเจตสิกหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ แน่นอน ทีนี้ที่เราเรียกว่าฝัน ก็คือคิดนึก เวลานี้เราก็คิด ทำไมไม่เรียกว่าฝัน
ผู้ฟัง เพราะเราตื่น
ท่านอาจารย์ เพราะว่ามีสิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วเราคิดตามสิ่งนั้น วันนี้เห็นคนนี้คนนั้นนั่งที่นั่น เพราะมีสิ่งที่ปรากฏให้คิด จึงไม่ใช่ฝัน แต่เวลาที่ฝัน ไม่เห็น แต่คิดเรื่องราว จำเรื่องราว เพราะฉะนั้น ถ้าตื่นมาทันที คนที่เจริญสติ หรือว่ามีปัญญาจะรู้ได้ว่า ขณะนั้นจิตคิด เราจะคิดถึงสิ่งที่ปรากฏทางตา โดยไม่เรียกอะไรเลยก็ได้ ถ้าไม่คิดเราจะรู้หรือคะว่า นี่เป็นถ้วย คิดทีนี้ไม่ได้หมายความว่าคิดเป็นคำ เพียงคิดถึงรูปร่างที่เห็น จดจำไว้ก็คิดแล้ว เสียงกระทบหู เสียงปรากฏแล้วดับ แต่ว่าความจำในความสูงต่ำ ในความหมาย ออกมาในภาษาต่างๆ หมดเลย เพราะจิตคิด เพียงได้ยินเฉยๆ ไม่คิด ไม่มีความหมายเลย เพราะฉะนั้น ขณะใดที่ไม่มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ ขณะนั้นมีบัญญัติ เรื่องราวของปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ทั้งหมด
ผู้ฟัง จิตที่บอกว่าเห็น ...
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถ้าเขาศึกษาเรื่องจิต เข้าใจเรื่องจิต เขาก็ตอบตัวเองได้ ทีนี้คำถามบางคำถามมุ่งจะให้คนตอบ ตอบ เขาอยากจะทราบว่า คนตอบจะตอบอย่างไร แต่เชื่อหรือเปล่า ต้องเป็นความเข้าใจของเขาเอง เขาถึงจะหมดความสงสัย เพราะฉะนั้น ถ้าเขารู้หลักของธรรม คือ ไม่มีอะไรนอกจากจิต เจตสิก รูป เพราะฉะนั้น ขณะนั้นเป็นอะไร ก็ต้องเป็นจิต เป็นเจตสิก ที่กำลังมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นอารมณ์ แล้วก็คิด
ผู้ฟัง อาจารย์ คิดนึกเป็นจิต เจตสิก แล้วรูปล่ะครับ รูปก็คือรูปร่างที่เห็น
ท่านอาจารย์ รูปคือสิ่งที่มีจริง แต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น ทุกอย่างไม่ว่าจะมองเห็น หรือมองไม่เห็นก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นมีปรากฏ แต่ไม่รู้อะไร
ผู้ฟัง รูปธรรม
ท่านอาจารย์ เป็นรูปธรรม รูปเป็นรูปธรรม แต่ถ้าศึกษาต่อไป คำว่า “รูป” จะกว้าง ใช้เฉพาะทางตาก็ได้
ผู้ฟัง ... ความจำเดิมที่เห็น
ท่านอาจารย์ เป็นสัญญาเจตสิก ๑ ใน ๕๒
ผู้ฟัง ถ้าเรา ...
ท่านอาจารย์ ถ้าเราสะสมการจำ เราก็จะจำเก่ง อย่างดิฉันไม่จำเรื่องวันเดือนปีเลย มานี่ก็ยังไม่รู้วันนี้วันที่เท่าไร ก็ไม่ถามใครด้วย เป็นไปตาม ก็รู้ว่า อ้อจะไป Fesno วันไหน แต่จริงๆ วันนี้ วันที่เท่าไร
ผู้ฟัง ..สอบก็จะต้องท่องจำ การท่องจำทั้งหมดคือการสะสม
ท่านอาจารย์ สัญญาที่จะจำ