สนทนาธรรมที่สหรัฐอเมริกา ๗๕
สนทนาธรรมที่สหรัฐอเมริกา ๗๕
ผู้ฟัง คำว่า อนุสติ ตามรู้ ใช่ไหมคะ ตามรู้สิ่งที่เป็นปัจจุบันธรรมหรือเปล่าคะ
ท่านอาจารย์ แน่นอนค่ะ หมายความว่าสิ่งนั้นต้องเกิด ถ้ายังไม่เกิดเลย สติจะตามรู้ อันไหนได้
ผู้ฟัง แต่ว่าคำว่าปัจจุบันในที่นี้
ท่านอาจารย์ หมายความว่าสิ่งนั้นก็ยังปรากฏ อย่างขณะนี้แม้ว่าจะเห็น แล้วก็ดับ หมดวาระแล้วมีภวังค์คั่น มโนทวารเกิดสืบต่อ เราก็ไม่ได้รู้อะไรอย่างนั้น แต่เรามีความรู้ว่า เห็นยังมี ขณะนี้ก็มี เมื่อกี้ก็มี ใช่ไหมคะ นี่คือการที่ปัญญายังไม่สามารถจะรู้ความเกิด และความดับได้ ก็เหมือนสิ่งที่เกิดดับสืบต่อเร็วมาก เหมือนไม่ดับเลย
เพราะฉะนั้น ปัญญาของผู้รู้อย่างหนึ่ง ปัญญาของผู้ที่เข้าใจแล้วอบรมเจริญความรู้นี่ก็อีกอย่างหนึ่ง
ผู้ฟัง รู้ถึงสภาพธรรมที่ดับไปนานแล้ว
ท่านอาจารย์ ถ้าเรามีความเข้าใจที่ถูกต้องว่า สิ่งใดที่เกิด มีปัจจัยปรุงแต่ง ที่จะเกิดเป็นอย่างนี้ เดี๋ยวนี้ เพราะว่าปัจจัยก็มีเยอะ อย่างกรรมก็มีมากมายนับไม่ถ้วนเลย แต่กรรมไหนถึงกาลที่จะทำให้จักขุวิญญาณเกิดเห็นเดี๋ยวนี้ จะเห็นอื่นไม่ได้ นี่คือทางตา กาลไหนที่จะทำให้โสตวิญญาณเกิดขึ้นได้ยินเสียง คนละกาลกัน ถึงกาลของตา จิตเห็นก็เกิด ถึงกาลของกรรมที่จะให้ผลทางหู จิตได้ยินก็เกิด เมื่อเห็นได้ยินแล้วถึงกาลที่จะเป็นกุศล กุศลก็เกิด ถึงกาลที่จะเป็นอกุศล อกุศลก็เกิด ทั้งหมดคือปัจจัยทั้งนั้น ถ้าเราจะเข้าใจปัจจัยก็คือเข้าใจสภาพธรรมที่ทีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน เพราะว่าทุกอย่างเกิด จึงได้ปรากฏ ไม่มีใครสร้าง ไม่มีใครทำเลยทั้งสิ้น แต่มีเหตุปัจจัยก็เกิด
เพราะฉะนั้น เวลาที่สภาพธรรมเกิดแล้วจึงตามรู้สิ่งที่เกิด เพราะว่าสิ่งที่เกิด หลังจากที่เราไม่สามารถจะประจักษ์การดับ สิ่งนั้นก็เกิดอีกเรื่อยๆ อย่างเสียง ไม่ใช่แค่วาระเดียว ก็เกิดอีกเรื่อยๆ เย็นก็ไม่ใช่วาระเดียว ก็เกิดอีกเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น เราก็ไม่ต้องไปนั่งขีดเส้นคำนวณด้วยประการใดๆ เพียงแต่รู้ว่า ตามรู้ ก็คือรู้สิ่งที่เกิดแล้ว ถ้าสิ่งนั้นยังไม่เกิด รับรอง ใครจะตามรู้ไม่ได้เลย เพราะยังไม่ได้เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น แต่ละคำต้องเข้าใจด้วย ตามรู้คือสิ่งนั้นเกิดแล้ว ถ้าจะเอาปริยัติมาเทียบ พอทางปัญจทวาร ทวารหนึ่งทวารใดดับ ภวังค์คั่นแล้ว มโนทวารก็ยังรับรู้ต่อได้ ทั้งๆ ที่ภวังค์คั่นแล้ว มโนทวารรับรู้อะไร ก็รับรูปที่ดับ เพราะฉะนั้น แทนที่จะคิดเป็นสติสัมปชัญญะระลึกลักษณะที่ปรากฏ เพราะว่ามโนทวารต้องรู้ต่ออยู่นั่นเอง อย่างเย็นขณะนี้ทางกายดับ แล้วภวังค์คั่น มโนทวารวิถีจิตรับรู้เย็นนั้นต่อ แต่ปกติของเราพอระลึก รู้เรื่อง ไม่ใช่รู้ลักษณะ เป็นระลึกเรื่อง แต่นี่ระลึกรู้ลักษณะ เพียงแค่สั้นแสนสั้นอย่างไรก็ตาม แต่คือลักษณะที่กำลังปรากฏ โดยไม่ต้องไปคิดว่า ทวารไหน เพราะต้องต่อกันตลอด มโนทวารต่อ ปัญจทวารเกิดอีก ภวังค์คั่นอีก มโนทวารต่ออีก ไม่ต้องไปรู้อื่นเลย ตราบใดที่ปัญญายังไม่ถึงวิปัสสนาญาณ ยังจะไม่เห็นการขาดตอนของปัญจทวาร และมโนทวาร เพราะสืบต่อกันสนิทมาก ทันทีเลย
ผู้ฟัง ถ้าเผื่อว่าระลึกถึงเรื่องที่ดับไปนานแล้ว ขณะนั้นเรียกว่าเป็นปัจจุบัน เพราะว่าเป็นขณะที่เรากำลังระลึก หรือว่า
ท่านอาจารย์ อะไรเป็นปัจจุบัน ขณะนั้น
ผู้ฟัง ก็ความคิด
ท่านอาจารย์ จิตคิด สิ่งที่ดับแล้วจะไม่กลับมาอีกเลย
ผู้ฟัง จิตคิดขณะนั้นเป็นปัจจุบัน
ท่านอาจารย์ จิตเป็นปัจจุบัน เพราะฉะนั้น จึงสามารถจะรู้จิตที่คิดได้ว่า ทุกคนมาติดอยู่ที่จิตคิด ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็ดูก็ต่างกัน อย่างทางตาก็ไม่ใช่ทางหู ก็ไม่ใช่ทางจมูก ก็ไม่ใช่ทางลิ้น ก็ไม่ใช่ทางกาย แต่ใจที่รับรู้ทุกเรื่อง เป็นเราที่คิด แล้วรู้เรื่องนั้นทางตา รู้เรื่องนี้ทางหู ทรงจำไว้ได้หมด ตัวเราเป็นตัวใหญ่ โลก สมมติบัญญัติอยู่ที่ทางมโนทวารทั้งนั้น เพระว่าทางปัญจทวารแค่นิดเดียว นิดเดียวจริงๆ ถ้าลักษณะของมโนทวารวิถีปรากฏ จะสืบต่อจนกระทั่งลักษณะของปัญจทวารแค่นิดเดียว ที่จะให้รู้ว่า นั่นเป็นรูปชนิดหนึ่งเท่านั้นเอง
นี่คือมโนทวารปรากฏ หมดความสงสัยในลักษณะของมโนทวาร ประจักษ์ในลักษณะที่แยกขาดกันจริงๆ ระหว่างรูปกับนาม เป็นนามรูปปริจเฉทญาณ
ผู้ฟัง หลังจากนั้นก็
ท่านอาจารย์ เหมือนเดิม เหมือนเดิม เพราะฉะนั้น ผู้ที่อบรมเจริญปัญญาเป็นผู้ที่ตรง ระดับของปัญญาแต่ละขั้น ผู้นั้นรู้เลย ถ้ายังไม่ถึงขั้นที่สามารถจะถึงอีกขั้นหนึ่งได้ เขาก็รู้ว่า ก็ต้องสติปัฏฐานระลึกไปเรื่อยๆ แล้วเมื่อเป็นนามรูปปริจเฉทญาณ แล้วเป็นญาตปริญญา เพราะว่าความรู้ของผู้ที่รู้กับผู้ที่ยังไม่รู้ต้องต่างกัน ก่อนที่จะเป็นวิปัสสนาญาณ สติปัฏฐานก็เกิด ก็ระลึกลักษณะของสภาพธรรม ความรู้ก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้นทีละน้อยๆ ไม่มีใครรู้เลยว่า ความรู้จะเพิ่มขึ้นแค่ไหน เพราะว่ามันเป็นลักษณะที่จางเหมือนกับแสงไฟอ่อนๆ รางๆ ที่มันยังไม่มีกำลังพอที่จะเห็นอย่างชัดเจน จนกว่าจะถึงนามรูปปริจเฉทญาณ ในขณะนั้นก็คือขณะที่สภาพธรรมปรากฏทางมโนทวาร จะไม่มีความสงสัยว่า วิปัสสนาญาณต่างกับขณะที่ไม่ใช่วิปัสสนาญาณอย่างไร จะไม่คิดว่า แค่สติเป็นวิปัสสนาญาณแล้ว เพียงวันนี้ไม่มีใครมารบกวนเลย กลางดึกนี้ชัดมาก นั่นคือความคิดทั้งหมด แต่วิปัสสนาญาณต้องไม่ใช่สิ่งที่เคยเกิดแล้ว โดยความเป็นอนัตตา แล้วเมื่อสภาพธรรมนั้นเกิดแล้วก็ดับไป ก็เหมือนเดิม แต่ว่าความทรงจำจากสิ่งที่ได้ประจักษ์แล้ว ก็จะทำให้ปัญญาเวลาที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมต่อจากนั้นไป เป็นระดับของปริญญา ญาตปริญญา แต่เพียงแค่สติปัฏฐานเกิดนิดๆ หน่อยๆ จะเป็นญาตปริญญาไม่ได้ เพราะไม่ใช่ความสมบูรณ์ที่ได้ประจักษ์แล้ว
เพราะฉะนั้น แม้แต่คำว่า “ญาตปริญญา” ก็ต้องเมื่อเป็นนามรูปปริจเฉทญาณ นั่นเอง จึงเป็นญาตปริญญา แล้วก็ญาตปริญญาก็จะต่อไปถึงวิปัสสนาญาณอื่นด้วย จนกว่าจะเป็นตีรณปริญญา ปหานปริญญา จากวิปัสสนาญาณแต่ละตอน แต่ละตอนที่จะถึงความสมบูรณ์
ผู้ฟัง ญาตปริญญา เฉพาะนามรูปปริจเฉทญาณ
ท่านอาจารย์ นามรูปปริจเฉทญาณ แต่ว่าหลังจากนั้นแล้ว สติปัฏฐานก็เป็นไปด้วย ญาตปริญญา ใช้คำว่า “ญาตปริญญา” แต่ไม่ใช้คำว่า “วิปัสสนาญาณ” เพราะว่าวิปัสสนาญาณต้องญาตปริญญาที่เกิดพร้อมกับสติปัฏฐานถึงความสมบูรณ์อีก ถึงจะเป็นปัจจยปริคคหญาณ สัมสนญาณ แต่ระหว่างนั้นไม่ใช่วิปัสสนาญาณ แต่เป็นญาตปริญญา เพราะเหตุว่ารู้แล้ว กำลังของการที่เขาจะค่อยๆ รู้ขึ้น แม้น้อย แต่ก็เป็นกำลังที่ต่างกันโดยที่ว่า ในลักษณะของการจับด้ามมีด ไม่มีทางที่จะสงสัยว่า การอบรมเจริญปัญญาต้องเป็นไปกับการละโดยตลอด ถ้าเกิดความต้องการแทรกทันที หมดทาง คนนั้นรู้เลยไม่ใช่ทาง เพราะฉะนั้น สีลัพพตปรามาสดับด้วยโลกุตตรจิต คือโสดาปัตติมรรค ไม่มีอะไรที่จะมาทำให้ไขว้เขวไปได้เลย
ผู้ฟัง ญาตปริญญา เป็น ๑ ใน ตรุณวิปัสสนา
ท่านอาจารย์ วิปัสสนา แค่ ตรุณะ บางคนก็คิดว่า คือ ไปอ่านแล้วก็รู้เรื่อง พอฟังแล้วก็เป็น นามรูปปริจเฉทญาณ แต่ที่เป็นตรุณะเมื่อเทียบกับเป็นพลววิปัสสนา จะเห็นได้เลยว่า แม้เป็นวิปัสสนาญาณก็จริง แต่เมื่อเทียบกับพลววิปัสสนา อันนั้นต้องเป็นตรุณะแน่นอน แต่เป็นปัญญาที่ประจักษ์นี่แน่นอน ไม่ใช่เพียงแต่ขั้นคิดนึก หรือขั้นเข้าใจว่า ได้เจริญสติปัฏฐานแล้ว ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมแล้ว