สนทนาธรรมที่สหรัฐอเมริกา ๑๓๓
สนทนาธรรมที่สหรัฐอเมริกา ๑๓๓
คุณศุกล ขออนุญาตเรียนถามเกี่ยวกับเรื่องที่คุณแจ๊คได้พูดว่า เห็น ไม่เป็นสัตว์บุคคล ตัวตน ทีนี้คนฟังเขาก็จับเอาประโยคนี้ว่า ปกติเขาเห็นแล้วเป็นคนเป็นสัตว์ทุกที พอมาฟังหนทางหรือแนวทางนี้ว่า เห็นไม่เป็นสัตว์บุคคล จะมีความคิดว่า จะเห็นอย่างไร จะทำอย่างไร
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นก็เป็นตัวตน เพราะฉะนั้น สักกายทิฏฐิทุกคำที่ออกมาโดยตัวเองไม่รู้ว่าเป็นสักกายทิฏฐิ
คุณศุกล เพราะฉะนั้น การที่จะพูดถึงเรื่องที่มันถึงจุดสำหรับปัญญาเขาถึงแล้ว กับสิ่งที่เราจะให้ความรู้เบื้องต้นกับผู้ที่ศึกษา พร้อมตัวเราเองด้วย ความเข้าใจส่วนตัวของผม ผมคิดว่าเรื่องการศึกษาหนทาง และข้อปฏิบัติ แล้วฟังเรื่องลักษณะ เป็นสิ่งที่ถูกต้องอย่างไรหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ หนทางมี ปัญญารู้ แต่ถ้าถามว่าวิธีเมื่อไรคือไม่รู้
คุณศุกล ทีนี้ว่าเวลานี้มันก็มี สิ่งที่จะต้องมีการศึกษา
ท่านอาจารย์ ให้เข้าใจขึ้น
คุณศุกล เข้าใจได้ เพราะว่าทั้งผู้สอนผู้ฟังก็สามารถที่จะรับในสิ่งที่กำลังแสดงต่อกันได้ โดยความเป็นจริงก็เพลินไปได้ ที่เข้าใจก็เพลินไป สนุกไป ทีนี้เวลาที่จะเป็นความรู้ที่เราจะต้องไม่ลืมว่า เวลานี้เราอยู่ จุดไหนของความรู้จริงๆ ก็พิจารณาว่า เวลานี้สิ่งที่เราจะต้องรู้เบื้องต้น คือลักษณะของธรรม ที่คำว่า ทุกสิ่งเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ แค่ฟังก็รู้แล้ว เป็นแค่ปริยัติ ฟังอย่างไรถึงไม่รู้ว่าเป็นปริยัติ เป็นระดับขั้นของการฟังเท่านั้นเอง
คุณศุกล ทีนี้เพื่อไม่ให้เสียประโยชน์ หมายความว่าทุกอย่างเข้าใจแล้ว ทีนี้ควรจะได้ทราบไปถึงว่า เมื่อเป็นเรื่องของปริยัติ แล้วเรามาเพื่อพิสูจน์ว่า สิ่งที่ปริยัติกล่าวไว้
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องมีตัวเราไปทำเลย ฟัง มีความเข้าใจปริยัติก็คือปริยัติ ก็จบ แล้วแต่สภาพธรรมอะไรจะเกิด ไม่อย่างนั้นตัวเราคอยจะเป็นผู้จัดการอีก มาได้อีกหลายรูปแบบ ตัณหา โลภะ เขาจะมาโดยไม่รู้ตัวเลย เมื่อฟังแล้วจะต้องมาทำอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่ใช่
คุณศุกล ไม่ใช่ทำครับ คือเข้าใจเรื่องธรรม
ท่านอาจารย์ เข้าใจก็คือเข้าใจ เป็นหน้าที่ของปัญญา ไม่ต้องทำอะไรเลยหมด พอเริ่มจะทำ มาแล้ว ก็ไม่เห็นเป็นไร ฟังแล้วก็เข้าใจแล้ว หมดแล้วก็หมดแล้ว ก็มาทำอย่างอื่น ฟังอีกก็เข้าใจอีก ก็อบรมไป ความเป็นตัวตนเริ่มมาแล้ว รักตัวตนต้องการจะให้เป็นอย่างนั้น ให้เป็นอย่างนี้ จะเข้ามาขัดขวางทันทีเท่าที่เขาทำได้ โลภะเขาทำทุกอย่าง
คุณศุกล อันนี้เข้าใจ ทีนี้ในฐานะอย่างผู้สอน ผู้ให้ความรู้
ท่านอาจารย์ ก็ให้คนนั้นฟัง พิจารณาแล้วก็คือแล้ว
คุณศุกล เพราะผู้เรียนเข้าต้องมาถามอีก ทีนี้ผู้สอนก็ต้องมีคำอธิบายตรงนี้เหมือนกับจะให้เกิดประโยชน์ คงจะต้องกลับมาแสดงหนทาง ใช่ไหมครับ
ท่านอาจารย์ คืออันนี้ไม่ใช่เรื่องที่ว่าเราจะเป็นกฎเกณฑ์อะไร แต่ความมั่นคงที่เราจะให้คนอื่นเกิดความเข้าใจ เราก็ต้องรู้ว่า คนที่เขาฟังเขาเข้าใจอะไรแค่ไหน คือคุณศุกลต้องเข้าใจว่า ธรรมที่ฟังเป็นขั้นปริยัติ
คุณศุกล เข้าใจครับ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น คนฟังก็รู้ว่า เป็นความรู้ขั้นปรมัตถ์ มีทางไหนที่ความรู้เขาจะเพิ่มขึ้น อันนี้เป็นสิ่งที่เราจะค่อยๆ อธิบาย เพราะเรารู้ว่า อย่างไรๆ ก็เป็นขั้นปริยัติอยู่ จนกว่าเขาเข้าใจขึ้นอย่างไร เป็นความเข้าใจของเขาเอง ต้องให้เป็นความเข้าใจของเขาเองที่ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ซ้ำไปซ้ำมา พระไตรปิฎก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็มีอยู่เท่านี้แหละ ทุกวัน มีทางไหนที่จะทำให้เขาเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏว่า เป็นสิ่งที่เขาเรียน อย่างเรื่องที่รูปารมณ์ พอฟังใหม่ๆ คนก็คิดว่า เขาไม่สามารถจะรู้ รูปารมณ์ได้ เพราะเขาไม่เข้าใจโดยชื่อ มีรูปารมณ์ปรากฏ ไม่ใช่เขาไม่เคยมีรูปารมณ์เลย แต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม เท่านั้นเอง ขณะนี้
คุณศุกล รู้ว่าเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ กำลังปรากฏ ไม่ต้องไปติดชื่อ ถ้าติดชื่อ หารูปารมณ์ไม่เจอ
คุณศุกล ทีนี้ก็มีเรื่องต่อไปว่า เป็นสิ่งที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ก็เป็นข้อสงสัยที่เขาจะต้องกลับเข้ามาขอคำอธิบาย ในฐานะที่
ท่านอาจารย์ เรื่องเขา เรื่องเราไม่เป็นไร ใครจะคิดอย่างไร แต่เรามีหน้าที่ที่ว่ารู้ว่าเขาไม่เข้าใจตรงไหน อยู่ในขั้นตอนไหน เราก็พยายามให้ความเข้าใจของเขาเพิ่มขึ้น เท่านั้นเอง ให้ตรง ให้ถูก เพื่อที่ว่าสัจจญาณของเขามั่นคง ก็เป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานของใครจะเกิดวันไหน เราก็ไม่สนใจอีก มันไม่ใช่หน้าที่ของเรา หน้าที่ของเราก็คือ ช่วยให้เขาเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง