สนทนาธรรมที่สหรัฐอเมริกา ๑๕๒
สนทนาธรรมที่สหรัฐอเมริกา ๑๕๒
ผู้ฟัง เวลาฟังธรรม ถ้ากุศลจิตเกิดจะทำให้เข้าใจธรรมได้ดีกว่าอกุศลจิต
ท่านอาจารย์ ขณะที่เข้าใจเป็นกุศล ขณะที่ไม่เข้าใจเป็นอกุศล
ผู้ฟัง มันก็เกิดสลับ
ท่านอาจารย์ ได้
ผู้ฟัง แล้วเวลาที่กล่าวธรรม จิตจะต้องเป็นกุศลด้วยหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ กุศลจิตเป็นปัจจัยให้เกิดคำพูดอย่างไหน และอกุศลจิตเป็นปัจจัยให้เกิดคำพูดอย่างไหน
ผู้ฟัง ครับ ถ้าพูดในเรื่องธรรม ก็ควรจะเป็นกุศลจิต
ท่านอาจารย์ ถ้าวาจานั้นถูกต้องเกิดจากจิตที่เป็นกุศล ประกอบด้วยความเห็นถูก
ผู้ฟัง บางคนพูดธรรมก็ยังมีโมหะอยู่ คือฟังดูรู้
ท่านอาจารย์ สลับได้
ผู้ฟัง เพราะว่าถ้าถามคำถามอะไรที่ไม่ถูกใจก็อาจจะโมหะ หรือว่าโทสะเกิดขึ้นได้ ใช่ไหมครับ
ท่านอาจารย์ ทุกอย่างจริง
ผู้ฟัง เรื่องเมตตา ปัจจัยที่ทำให้เกิดเมตตา แล้วก็เมตตาเป็นกุศลจิต เป็นการเจริญสติปัฏฐานด้วยหรือเปล่าครับเวลามีเมตตา
ท่านอาจารย์ เมตตาเป็นคำภาษาบาลี มาจากคำว่า มิตตะ ซึ่งภาษาไทยเราก็ใช้ง่ายๆ ว่า ความเป็นเพื่อน ความเป็นเพื่อนก็คือความหวังดีพร้อมที่จะช่วยเหลือ เป็นผู้ที่ไม่เป็นภัยต่อใครเลย เพราะฉะนั้น ก็ง่าย ใช่ไหมคะ เมตตา มีความเป็นเพื่อนพร้อมที่จะช่วยเหลือ ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน อย่างไรก็ตาม แต่ว่าถ้าเราไม่ได้สะสมมา แทนที่เรามีความเป็นเพื่อน เราอาจจะรู้สึกว่า ไม่ชอบหรือมีความรังเกียจ หรือมีช่องว่างระหว่างเขากับเรา ก็กลายเป็นว่า ไม่ใช่ผู้ที่เป็นมิตรหรือเป็นเพื่อนจริงๆ แต่ถ้าเป็นเพื่อนจริงๆ ก็คือว่าพร้อมที่จะช่วยเหลือ นั่นคือลักษณะของเมตตา ความเป็นมิตร อย่างคนไทยเราตั้งแต่ไหนแต่ไรมา ก็รู้สึกว่า เราจะเป็นคนที่รู้สึกว่า ใครๆ ก็บอกว่า ยิ้มง่าย แสดงถึงความมีมิตรไมตรี พร้อมที่จะช่วยเหลือ ถ้ามีใครไม่รู้จักหนทาง บางคนก็เพียงแต่บอกให้ บางคนก็ถึงกับพาไปจนกระทั่งถึงที่นั่นก็ได้
นี่ก็แสดงว่ามีความเป็นเป็นมิตร มีความเป็นเพื่อน แต่ที่เจริญให้มากขึ้นก็คือว่า ถ้าขณะใดที่เรามีความรู้สึกว่า มีความต่าง เช่น เรามีความสำคัญตน ขณะนั้นไม่มีเมตตาแน่ หรือขณะที่เรามีความขุ่นเคืองใจ ไม่พอใจ ขณะนั้นไม่ใช่ลักษณะของเมตตา เพราะว่าลักษณะของเมตตา ต้องเป็นสภาพที่ไม่สามารถจะโกรธได้ เพราะว่ามีเมตตา แต่ว่าขณะใดที่โกรธ ขณะนั้นก็คือขาดเมตตา เพราะฉะนั้น การที่เราจะรู้ว่า เรามีเมตตามากน้อยเท่าไร ต่อใคร ก็จะสามารถรู้ได้ว่า เราหวังดีต่อคนนั้นหรือเปล่า แม้ว่าเป็นคนที่อาจจะเป็นเพื่อนกันมานาน แต่พอขณะนั้นไม่หวังดี ขณะนั้นก็คือไม่ใช่มิตร หรือว่าไม่มีความเมตตาในบุคคลนั้น แล้วก็ต้องมีสัตว์ มีบุคคลที่กำลังเผชิญหน้าด้วย ถ้าเราคิดว่าเรามีเมตตา ตอนที่เราเข้าห้อง ท่องใหญ่ สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายอะไรอย่างนี้ แต่พอเห็นหน้าจริงๆ ทำไมหายไปหมด ที่เราท่องเมื่อกี้ไม่ใช่สัตว์ทั้งหลายแล้ว ไม่สามารถที่เป็นมิตรทุกคนได้ แต่ถ้าเราเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนโยน แล้วก็มีความหวังดีต่อทุกคนขณะนั้นก็คือเมตตาของเราก็มีมาก แต่ว่าเราเองเป็นผู้ที่จะรู้ว่า เรามีเพิ่มขึ้นหรือเปล่า ถ้าเรามีการฟังพระธรรม เราก็รู้ว่า เมตตามีประโยชน์มาก เพราะว่าขณะนั้นไม่มีโทสะ แล้วก็ทำให้เป็นผู้ที่สามารถจะเป็นมิตร แล้วก็พร้อมที่จะช่วยใครได้ ขณะนั้นก็เป็นเมตตา แต่ไม่ใช่ท่อง
ก่อนศึกษาธรรม ทุกคนก็คงจะมีแต่โลภะ แล้วก็แยกไม่ออกว่าโลภะกับเมตตาต่างกันอย่างไร แต่เวลาที่ศึกษาธรรมแล้ว เราสามารถจะเข้าใจขณะที่เป็นโลภะกับขณะที่เป็นเมตตา เพราะเหตุว่าถ้าเป็นโลภะจะนำมาซึ่งความทุกข์ เวลาที่เราหวังต้องการที่จะให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นอย่างนั้น แต่ไม่เป็นอย่างที่เราหวัง ขณะนั้นเป็นทุกข์ แต่ถ้าเป็นเมตตาซึ่งเป็นกุศล ไม่มีทางที่จะทำให้เป็นทุกข์ได้ เพราะฉะนั้น เราอาจจะคิดว่า นี่เรามีเมตตา หรือว่านี่เรามีโลภะ แต่ถ้าทุกข์เกิดเมื่อไร แสดงว่าทุกข์นั้นต้องเกิดจากโลภะ แต่ไม่ใช่เกิดจากเมตตา โดยเราอาจจะหลงเข้าใจผิดคิดว่า เป็นเมตตาก็ได้
ก่อนที่จะศึกษาธรรม ทุกคนมีผู้ใกล้ชิด มีพ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนฝูง มิตรสหาย ภรรยาสามี บุตรธิดา เรารักผูกพันใกล้ชิด แล้วเราก็ไม่สามารถที่จะรู้ว่า ขณะนั้นเป็นอกุศล เพราะเราก็ทำดีกับบุคคลที่เรารักเสมอ ทำทุกอย่างให้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ อาจจะเป็นครูบาอาจารย์ อาจจะเป็นเพื่อน สามีภรรยา บุตรธิดาก็ได้ เราคิดว่าที่เราทำดี ทำทุกอย่างให้คงจะเป็นกุศล แต่ว่าเมื่อศึกษาแล้ว สามารถที่จะแยกออก เคยเป็นอกุศล เคยผูกพัน แต่ว่าถ้ามีปัญญา เราเริ่มเห็นตามความเป็นจริงว่า ทุกๆ คนมีอัธยาศัยต่างกัน ทุกคนมีกรรมเป็นของๆ ตน เมื่อมีความเข้าใจธรรมมากขึ้น เราเริ่มจะมีเมตตาซึ่งต่างกับลักษณะของโลภะ คือ แทนที่จะมีแต่โลภะต่อกันเสมอๆ แต่เวลาที่อีกคนหนึ่งโกรธ แล้วเราก็เป็นผู้ที่ศึกษาเข้าใจธรรมว่า ขณะนั้นเป็นอกุศล ตรงกันข้ามกับเมตตา ถ้าเป็นเมตตาจะไม่โกรธ เพราะฉะนั้น ถ้าขณะนั้นระลึกได้ แม้คนอื่นจะโกรธ เราก็จะไม่โกรธ ถ้าสติเกิดแล้วระลึกได้ แต่ถ้าสติไม่เกิด ก็โกรธกันได้ เพราะว่าเป็นโลภะ
เพราะฉะนั้น คนที่เราพอใจ รักใคร่ สนิทสนม คุ้นเคย ถ้าทำสิ่งที่ไม่ถูกใจเรา เราก็เกิดโทสะ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นต้องเป็นโลภะแน่นอน แต่ถ้าปัญญาเกิด เราเห็นความต่างกัน บางคนเขาจะคิดว่า ถ้าเราเป็นคนที่รู้ธรรม เข้าใจถูก แล้วเราจะไปโกรธคนที่ไม่รู้ สมควรไหม ถ้าเขาไม่รู้ธรรม เขาโกรธ ก็เป็นเรื่องที่เขาไม่รู้ เขาถึงได้โกรธ แต่คนที่ศึกษาธรรมเข้าใจว่า โทสะเป็นอกุศล แล้วก็เมตตาคืออย่างไร ขณะนั้นเขาก็อาจจะเกิดเมตตาขึ้น คือ ไม่โกรธคนนั้น แล้วก็มีความเห็นใจ แล้วก็มีความเข้าใจได้ แล้วก็เป็นผู้ตรงต่อลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้นว่า ขณะใดเป็นกุศลก็เป็นกุศล ขณะใดเป็นโลภะ ก็เป็นโลภะ แล้วก็สามารถที่จะเจริญกุศลขึ้นได้เมื่อปัญญาเพิ่มขึ้น เพราะว่าแทนที่จะเป็นโลภะตลอดล้วนๆ ก็จะเป็นเมตตา เมื่อถึงกาลที่ควรจะเมตตาก็เมตตา ซึ่งก่อนนั้นไม่รู้เลย เป็นโลภะตลอด ไม่พอใจตลอด ถ้าได้สิ่งที่ไม่น่าพอใจ แต่พอเข้าใจแล้ว แทนที่จะเป็นโลภะอย่างเดียว ก็มีเมตตาต่อกันได้มากขึ้น แล้วเมตตาจะไม่ทำให้เป็นโทษหรือว่าจะไม่ทำให้โทสะเลย ไม่ทำให้เป็นทุกข์
เข้าใจธรรมได้ดีกว่าอกุศลจิต
ท่านอาจารย์ ขณะที่เข้าใจเป็นกุศล ขณะที่ไม่เข้าใจเป็นอกุศล
ผู้ฟัง มันก็เกิดสลับ
ท่านอาจารย์ ได้
ผู้ฟัง แล้วเวลาที่กล่าวธรรม จิตจะต้องเป็นกุศลด้วยหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ กุศลจิตเป็นปัจจัยให้เกิดคำพูดอย่างไหน และอกุศลจิตเป็นปัจจัยให้เกิด คำพูดอย่างไหน
ผู้ฟัง ครับ ถ้าพูดในเรื่องธรรม ก็ควรจะเป็นกุศลจิต
ท่านอาจารย์ ถ้าวาจานั้นถูกต้องเกิดจากจิตที่เป็นกุศล ประกอบด้วยความเห็นถูก
ผู้ฟัง บางคนพูดธรรมก็ยังมีโมหะอยู่ คือฟังดูรู้
ท่านอาจารย์ สลับได้
ผู้ฟัง เพราะว่าถ้าถามคำถามอะไรที่ไม่ถูกใจก็อาจจะโมหะ หรือว่าโทสะเกิด ขึ้นได้ ใช่ไหมครับ
ท่านอาจารย์ ทุกอย่างจริง
ผู้ฟัง เรื่องเมตตา ปัจจัยที่ทำให้เกิดเมตตา แล้วก็เมตตาเป็นกุศลจิต เป็น การเจริญสติปัฏฐานด้วยหรือเปล่าครับเวลามีเมตตา
ท่านอาจารย์ เมตตาเป็นคำภาษาบาลี มาจากคำว่า มิตตะ ซึ่งภาษาไทยเราก็ใช้ง่ายๆ ว่า ความเป็นเพื่อน ความเป็นเพื่อนก็คือความหวังดีพร้อมที่จะช่วยเหลือ เป็นผู้ที่ไม่เป็น ภัยต่อใครเลย เพราะฉะนั้น ก็ง่าย ใช่ไหมคะ เมตตา มีความเป็นเพื่อนพร้อมที่จะช่วย เหลือ ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน อย่างไรก็ตาม แต่ว่าถ้าเราไม่ได้สะสมมา แทนที่ เรามีความเป็นเพื่อน เราอาจจะรู้สึกว่า ไม่ชอบหรือมีความรังเกียจ หรือมีช่องว่างระหว่าง เขากับเรา ก็กลายเป็นว่า ไม่ใช่ผู้ที่เป็นมิตรหรือเป็นเพื่อนจริงๆ แต่ถ้าเป็นเพื่อนจริงๆ ก็ คือว่าพร้อมที่จะช่วยเหลือ นั่นคือลักษณะของเมตตา ความเป็นมิตร อย่างคนไทยเรา ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา ก็รู้สึกว่า เราจะเป็นคนที่รู้สึกว่า ใครๆ ก็บอกว่า ยิ้มง่าย แสดงถึงความ มีมิตรไมตรี พร้อมที่จะช่วยเหลือ ถ้ามีใครไม่รู้จักหนทาง บางคนก็เพียงแต่บอกให้ บาง คนก็ถึงกับพาไปจนกระทั่งถึงที่นั่นก็ได้
นี่ก็แสดงว่ามีความเป็นเป็นมิตร มีความเป็นเพื่อน แต่ที่เจริญให้มากขึ้นก็คือว่า ถ้าขณะใดที่เรามีความรู้สึกว่า มีความต่าง เช่น เรามีความสำคัญตน ขณะนั้นไม่มีเมตตา แน่ หรือขณะที่เรามีความขุ่นเคืองใจ ไม่พอใจ ขณะนั้นไม่ใช่ลักษณะของเมตตา เพราะ ว่าลักษณะของเมตตา ต้องเป็นสภาพที่ไม่สามารถจะโกรธได้ เพราะว่ามีเมตตา แต่ว่า ขณะใดที่โกรธ ขณะนั้นก็คือขาดเมตตา เพราะฉะนั้น การที่เราจะรู้ว่า เรามีเมตตามาก น้อยเท่าไร ต่อใคร ก็จะสามารถรู้ได้ว่า เราหวังดีต่อคนนั้นหรือเปล่า แม้ว่าเป็นคนที่อาจ จะเป็นเพื่อนกันมานาน แต่พอขณะนั้นไม่หวังดี ขณะนั้นก็คือไม่ใช่มิตร หรือว่าไม่มีความ เมตตาในบุคคลนั้น แล้วก็ต้องมีสัตว์ มีบุคคลที่กำลังเผชิญหน้าด้วย ถ้าเราคิดว่าเรามี เมตตา ตอนที่เราเข้าห้อง ท่องใหญ่ สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายอะไรอย่างนี้ แต่พอเห็น หน้าจริงๆ ทำไมหายไปหมด ที่เราท่องเมื่อกี้ไม่ใช่สัตว์ทั้งหลายแล้ว ไม่สามารถที่เป็น มิตรทุกคนได้ แต่ถ้าเราเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนโยน แล้วก็มีความหวังดีต่อทุกคนขณะนั้นก็ คือเมตตาของเราก็มีมาก แต่ว่าเราเองเป็นผู้ที่จะรู้ว่า เรามีเพิ่มขึ้นหรือเปล่า ถ้าเรามีการ ฟังพระธรรม เราก็รู้ว่า เมตตามีประโยชน์มาก เพราะว่าขณะนั้นไม่มีโทสะ แล้วก็ทำให้ เป็นผู้ที่สามารถจะเป็นมิตร แล้วก็พร้อมที่จะช่วยใครได้ ขณะนั้นก็เป็นเมตตา แต่ไม่ใช่ ท่อง
ก่อนศึกษาธรรม ทุกคนก็คงจะมีแต่โลภะ แล้วก็แยกไม่ออกว่าโลภะกับเมตตา ต่างกันอย่างไร แต่เวลาที่ศึกษาธรรมแล้ว เราสามารถจะเข้าใจขณะที่เป็นโลภะกับขณะ ที่เป็นเมตตา เพราะเหตุว่าถ้าเป็นโลภะจะนำมาซึ่งความทุกข์ เวลาที่เราหวังต้องการที่ จะให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นอย่างนั้น แต่ไม่เป็นอย่างที่เราหวัง ขณะนั้นเป็นทุกข์ แต่ถ้าเป็น เมตตาซึ่งเป็นกุศล ไม่มีทางที่จะทำให้เป็นทุกข์ได้ เพราะฉะนั้น เราอาจจะคิดว่า นี่เรามี เมตตา หรือว่านี่เรามีโลภะ แต่ถ้าทุกข์เกิดเมื่อไร แสดงว่าทุกข์นั้นต้องเกิดจากโลภะ แต่ ไม่ใช่เกิดจากเมตตา โดยเราอาจจะหลงเข้าใจผิดคิดว่า เป็นเมตตาก็ได้
ก่อนที่จะศึกษาธรรม ทุกคนมีผู้ใกล้ชิด มีพ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนฝูง มิตรสหาย ภรรยาสามี บุตรธิดา เรารักผูกพันใกล้ชิด แล้วเราก็ไม่สามารถที่จะรู้ว่า ขณะนั้นเป็น อกุศล เพราะเราก็ทำดีกับบุคคลที่เรารักเสมอ ทำทุกอย่างให้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ อาจจะเป็นครูบาอาจารย์ อาจจะเป็นเพื่อน สามีภรรยา บุตรธิดาก็ได้ เราคิดว่าที่เราทำดี ทำทุกอย่างให้คงจะเป็นกุศล แต่ว่าเมื่อศึกษาแล้ว สามารถที่จะแยกออก เคยเป็นอกุศล เคยผูกพัน แต่ว่าถ้ามีปัญญา เราเริ่มเห็นตามความเป็นจริงว่า ทุกๆ คนมีอัธยาศัยต่างกัน ทุกคนมีกรรมเป็นของๆ ตน เมื่อมีความเข้าใจธรรมมากขึ้น เราเริ่มจะมีเมตตาซึ่งต่างกับ ลักษณะของโลภะ คือ แทนที่จะมีแต่โลภะต่อกันเสมอๆ แต่เวลาที่อีกคนหนึ่งโกรธ แล้ว เราก็เป็นผู้ที่ศึกษาเข้าใจธรรมว่า ขณะนั้นเป็นอกุศล ตรงกันข้ามกับเมตตา ถ้าเป็น เมตตาจะไม่โกรธ เพราะฉะนั้น ถ้าขณะนั้นระลึกได้ แม้คนอื่นจะโกรธ เราก็จะไม่โกรธ ถ้า สติเกิดแล้วระลึกได้ แต่ถ้าสติไม่เกิด ก็โกรธกันได้ เพราะว่าเป็นโลภะ
เพราะฉะนั้น คนที่เราพอใจ รักใคร่ สนิทสนม คุ้นเคย ถ้าทำสิ่งที่ไม่ถูกใจเรา เราก็เกิดโทสะ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นต้องเป็นโลภะแน่นอน แต่ถ้าปัญญาเกิด เราเห็น ความต่างกัน บางคนเขาจะคิดว่า ถ้าเราเป็นคนที่รู้ธรรม เข้าใจถูก แล้วเราจะไปโกรธคน ที่ไม่รู้ สมควรไหม ถ้าเขาไม่รู้ธรรม เขาโกรธ ก็เป็นเรื่องที่เขาไม่รู้ เขาถึงได้โกรธ แต่คน ที่ศึกษาธรรมเข้าใจว่า โทสะเป็นอกุศล แล้วก็เมตตาคืออย่างไร ขณะนั้นเขาก็อาจจะเกิด เมตตาขึ้น คือ ไม่โกรธคนนั้น แล้วก็มีความเห็นใจ แล้วก็มีความเข้าใจได้ แล้วก็เป็นผู้ ตรงต่อลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้นว่า ขณะใดเป็นกุศลก็เป็นกุศล ขณะใดเป็น โลภะ ก็เป็นโลภะ แล้วก็สามารถที่จะเจริญกุศลขึ้นได้เมื่อปัญญาเพิ่มขึ้น เพราะว่าแทนที่ จะเป็นโลภะตลอดล้วนๆ ก็จะเป็นเมตตา เมื่อถึงกาลที่ควรจะเมตตาก็เมตตา ซึ่งก่อนนั้น ไม่รู้เลย เป็นโลภะตลอด ไม่พอใจตลอด ถ้าได้สิ่งที่ไม่น่าพอใจ แต่พอเข้าใจแล้ว แทน ที่จะเป็นโลภะอย่างเดียว ก็มีเมตตาต่อกันได้มากขึ้น แล้วเมตตาจะไม่ทำให้เป็นโทษหรือ ว่าจะไม่ทำให้โทสะเลย ไม่ทำให้เป็นทุกข์