สนทนาธรรมที่สหรัฐอเมริกา ๑๗๗
สนทนาธรรมที่สหรัฐอเมริกา ๑๗๗
อ.อรรณพ สำหรับสัมสนญาณ แม้จะเป็นตรุณวิปัสสนา แต่ก็เป็นตีรณปริญญา เพราะว่าเริ่มพิจารณา
ท่านอาจารย์ เริ่มเป็นตีรณปริญญา
อ.อรรณพ ที่จะพิจารณา
ท่านอาจารย์ การเกิดดับ
อ.อรรณพ ถ้าสมบูรณ์พร้อมชัดเจนก็เป็นอุทยัพพยญาณ
ท่านอาจารย์ เพราะการเกิดดับ ลองคิดดู เราคิดว่านี่แข็ง ไม่มีอะไรเลย แต่ความจริงมีอากาศธาตุ และเป็นกลุ่มที่เกิดดับอย่างรวดเร็ว แต่วิปัสสนาญาณที่เป็นพลววิปัสสนา ไม่ใช่เฉพาะที่ปรากฏ จะต้องทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย กว่าจะคลาย เพราะฉะนั้น ผู้นั้นจะรู้ว่าการที่จะประจักษ์การเกิดดับที่เป็นอุทยัพพยญาณ ซึ่งบางคนเข้าใจว่าไม่ต้องมี ๓ ญาณแรก เพราะว่าไม่ได้กล่าวถึงโดยฐานะที่เป็นตรุณวิปัสสนา แต่จะกล่าวถึงพลววิปัสสนาเลย
เพราะฉะนั้น คนที่เพียงอ่าน ก็จะคิดว่า เขาสามารถที่จะนั่ง จดจ้อง แล้วก็จะประจักษ์การเกิดดับ แต่ผู้ที่รู้หนทางที่ถูกต้องจะรู้ว่า ต้องคลาย อย่างเช่นทางตา ถ้าขณะนี้ตามปกติเห็นแล้วก็เหมือนเดิม ก็ยังมีความเป็นเรา ทรงจำไว้มั่นคงทันที แต่ผู้ที่คลายก็คือว่า สามารถที่จะเข้าใจถูกได้ในความต่างของแต่ละทวาร อย่างทางตาก็เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ จากความค่อยๆ รู้ ความใส่ใจในสภาพที่เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏ ก็จะค่อยๆ คลายความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากสิ่งที่กำลังปรากฏ หรือแม้แต่ความคิดนึก อย่างตรุณวิปัสสนาทั้ง ๓ เช่น นามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจัยปริคคหญาณ สัมสนญาณ มีความคิดนึกแทรกแล้วแต่กำลังของปัญญาว่า ขณะนั้นเป็นเรามากน้อยแค่ไหน แต่จะรู้ได้เลยว่า วันหนึ่งๆ ขอให้คิดถึงโลกตามความเป็นจริง นามธาตุมืดสนิทยังไม่มีอะไรปรากฏเลย อย่างขณะที่เป็นภวังค์ แล้วมีสิ่งปรากฏ คิดดู ต้องมีการเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางตา หรือทางหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่มี แล้วมี ผู้นั้นจะเข้าใจถึงเหตุปัจจัยได้ ต้องมีทางที่สิ่งนั้นจะปรากฏ จากไม่มีเลย แล้วก็มี ลองคิดดู มีได้อย่างไร แต่เวลาที่ไม่มีปัญญาที่จะรู้ว่า เป็นนามธรรมรูปธรรม ก็ธรรมดาคือไม่รู้อะไรสักอย่างเดียว แม้แต่ความคิดนึก แต่เวลาที่มีสภาพธรรมปรากฏ แล้วมีการคิดถึงลักษณะนั้น ไม่มีใครสามารถที่จะยับยั้ง หรือห้ามความคิดได้เลย ปัญญาต้องคมถึงระดับที่จะรู้ว่า เป็นเพียงคิด
เพราะฉะนั้น จะรู้ว่า ความคิดเป็นทางมโนทวาร หลังจากที่ความมืดสนิท ก็จะมีทางที่จะรู้อารมณ์ ๕ ทาง ทางตานิดเดียวจริงๆ ผ่านจากทางปัญจทวารถึงทางมโนทวาร เพราะเหตุว่าวิปัสสนาญาณ ต้องทางมโนทวารทางเดียว แต่สามารถที่จะรู้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะใดๆ ที่ผ่านทางปัญจทวาร สั้นมาก
เพราะฉะนั้น ผู้ที่ศึกษา ผู้ที่รู้ ก็คือว่า ต้องมีจิตทางปัญจทวารก่อน แล้วก็ทางมโนทวารถึงจะรับรู้ได้ แต่ความเกิดสืบต่อของมโนทวารมาก เป็นวิปัสสนาญาณ เพราะฉะนั้น ก็รับแต่เฉพาะรูปที่ผ่านมา
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้น แม้แต่ความคิด ซึ่งขณะนั้นจะเกิดคิดก็ได้ เหมือนทุกวันๆ เราคิด อะไรที่เรายึดมั่นบ้าง วันหนึ่งๆ เป็นความคิด จนกว่าปัญญาจะรู้ว่า ไม่ว่าจะคิดขณะไหน ก็คือสภาพธรรมชนิดหนึ่ง ขณะนั้นก็จะคลายการยืดถือสภาพธรรม แล้วรู้ว่า ที่จินตาญาณที่กล่าวว่า เป็น ๓ วิปัสสนา ก็เพราะเหตุว่ายังมีความคิดที่ยับยั้งไม่ได้เลย แต่ว่ายังแทรกคั่นอยู่จนกว่าความสมบูรณ์ของปัญญาจะถึงระดับของการพิจาณาที่เป็นตีรณปริญญา แม้ความคิดก็คือชั่วขณะที่สั้นมาก จึงสามารถที่จะประจักษ์สภาพธรรมโดยอุทยัพพยญาณได้ ซึ่งเป็นพลววิปัสสนา ผู้นั้นก็จะเข้าใจเลย จากตรุณะเป็นพลวะ จะต้องมีการอบรมปัญญาถึงระดับไหน แต่ก็ยังเป็นขั้นของตีรณปริญญาอยู่ จนกว่าจะถึงภังคญาณ จึงเริ่มที่จะเป็นปหานปริญญา
เพราะฉะนั้น ทรงกำกับวิปัสสนาญาณกับปริญญา ๓ ไว้ เพื่อไม่ให้เข้าใจผิดว่า ต้องเป็นเรื่องของวิปัสสนาญาณตามลำดับขั้น แต่ทั้งหมดนี้ไม่ต้องไปห่วงใยกังวลอะไรทั้งหมดเลยทั้งสิ้น วันไหนจะมา วันไหนจะถึง วันไหนจะเป็นอย่างไร ไม่ใช่เรื่องที่เราเป็นตัวตนที่จะไปคิด เพราะว่ากว่าจะไปถึงความรู้จริงๆ ความเป็นเราผูกพันไว้แน่นหนามาก ไม่ว่าสภาพธรรมใดจะปรากฏ ความอยากก็เข้ามาได้ แล้วแต่ว่าจะเป็นในลักษณะไหน
เพราะฉะนั้น ผู้นั้นจึงเข้าใจความหมายของสมุทัย คือ ผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน ปัญญา วิปัสสนาจะไม่ละสมุทัย เป็นไปไม่ได้เลย แล้วสมุทัยก็จะละเอียดขึ้นๆ ตามลำดับด้วย ซึ่งผู้นั้นก็รู้ว่า ตราบใดที่ยังมีความต้องการ หรือแม้เยื่อใย ก็จะไม่ถึงนิโรธสัจจะ ต้องเป็นผู้ที่เป็นหนทางที่รู้ว่า ละตลอดสาย ตั้งแต่ขั้นต้น อย่างคุณกล่าวว่า เหมือนไม่ได้ทำอะไร เพราะเคยทำ เคยนั่ง เคยปฏิบัติ เคยคิด ทั้งหมดถูกครอบคลุมด้วยอวิชชา หุ้มห่อด้วยอวิชชา ตัณหาฉาบทา ไม่กล้าที่จะออกไปเผชิญกับลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นจิรง ก็คิดว่า จะต้องอยู่ในบางสถานที่ หรือว่าบางอารมณ์เท่านั้น แต่ขณะนี้เป็นธรรม ถ้าไม่อาจหาญร่าเริง อย่างข้อความในพระไตรปิฎก ก็แสดงว่า ความเป็นตัวตนเหนียวแน่นจนให้อยู่ตรงที่อารมณ์ที่เลือกแล้ว หรือว่าที่สถานที่ที่คิดว่า เมื่ออยู่แล้วก็เป็นการปฏิบัติ แล้วจะได้ผลมาก แต่ทั้งหมดลองคิดดู ได้ ไม่ใช่ละ
เพราะฉะนั้น กว่าจะออกจากตัณหาได้แม้ในขั้นต้น จากข้อปฏิบัติต่างๆ ที่ไม่ตรง มาสู่ความตรงต่อลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้ แล้วก็จะรู้เอง ไม่ต้องกังวลเลย กี่เดือน กี่ปี ที่ไม่มีสติปัฏฐาน ถ้าเข้าใจถูกต้องเป็นสัจจญาณ วันหนึ่งต้องถูก และตรง ไม่ใช่ว่าต้องไปทำอะไรมาแล้วก็มาทิ้ง แล้วก็เหนื่อยไปตั้ง ๑๐ ปี ๒๐ ปี เพราะไม่ใช่หนทางที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นจริงตามปกติ
อ.อรรณพ เพราะฉะนั้น จากสติปัฏฐานทีละเล็กทีละน้อย ถึงความสมบูรณ์พร้อมจึงจะถึงความรู้ทั่ว เป็นขั้นๆ ไป
ท่านอาจารย์ จึงจะถึงนามรูปปริจเฉทญาณ จะทั่วอะไรอีก ในเมื่อนามรูปปริจเฉทญาณรู้เท่าไร ก็ยังมีสิ่งที่จะต้องรู้ต่อไปอีกจนกว่าจะคลาย ไม่ใช่ไปรู้ทั้งหมดในนามรูปปริจเฉทญาณ แต่เป็นปัญญาที่สมบูรณ์ที่จะประจักษ์ว่า ลักษณะของนามคืออย่างนี้ ลักษณะของรูปคืออย่างนี้ เพราะฉะนั้น เป็นปัญญาระดับที่จะทำให้น้อมไปสู่ลักษณะที่ได้ประจักษ์ แม้ว่าเป็นปกติอย่างนี้
อ.อรรณพ แล้วจากความเป็นจินตาญาณ คือ ตรุณวิปัสสนาไปสู่พลวะ ก็เป็นการรู้ในลักษณะของความคิดนึกที่เกิดแทรกปัญญา
ท่านอาจารย์ ทุกอย่าง จะต้องคลาย