อะไรจะเกิดก็รู้ทันทีเลยในขณะนั้นว่าบังคับบัญชาไม่ได้


    ผู้ฟัง แต่ตรงข้ามกับลักษณะของโทสะ อย่างเราว่ากล่าวเขาไปเสร็จ เราก็เกิดความระลึกได้ความคิดว่าเราไม่สมควรที่จะพูด หรือว่าไปพูดทำไม มันไม่ก่อ เกิดประโยชน์อะไรเลยแต่เราก็บอกกับตัวเราว่าอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ คือมันก็เป็น การแก้ตัวของตัวเราเอง โดยที่เรามีความรู้สึกว่ามันไม่น่าจะใช่แบบนี้

    ท่านอาจารย์ เห็นความต่างไหม อนัตตาไม่ใช่ตัวเราโดยแก้ตัว อนัตตา กับ อนัตตาโดยเข้าใจลักษณะที่เกิดในความที่บังคับบัญชาไม่ได้ นี่คือความที่ต่างกัน และ ที่บอกว่าพอโทสะเกิดก็รู้ได้ ก็ยิ่งเห็นความน่ากลัวของโลภะ เงียบ ไม่รู้เลย อยู่ตลอด เวลา แต่โทสะปรากฏให้เห็นว่านี่เป็นอกุศล อย่างเงียบหรืออย่างปรากฏตัวจะเห็นได้ ง่ายกว่า

    โลภะต้องเห็นยากกว่า เพราะฉะนั้นกว่าจะเห็นโลภะจริงๆ ก็ต้องเป็นปัญญาที่เห็นโล ภะ แต่สำหรับโทสะบางคนก็ไม่ชอบความรู้สึกที่ไม่สบายใจ เมื่อไหร่จะไม่มีอยากจะไม่มี อย่างเดียว โลภะไม่ว่าเลย ไม่คิดถึงโทษของโลภะเลย เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วอะไรเป็นสิ่งที่มากกว่ากัน ที่เราบอกว่าเราเห็นโทษของโทสะเพราะโทสะปรากฏ แต่โลภะเราไม่ได้เห็นโทษ เพราะโลภะไม่ได้ปรากฏอย่างโทสะ

    ผู้ฟัง แต่เราไม่อยากจะประทุษร้ายเขา แต่เราก็ทำไปแล้ว

    ท่านอาจารย์ ก็เราไง ก็เราทั้งนั้นแหละ แม้แต่อนัตตาบังคับบัญชาไม่ได้ ก็ เรา ก็ไม่รู้ว่าขณะนั้นก็คือเราคิด

    ผู้ฟัง แล้วเราก็ระลึกไม่ได้ว่าอันนั้นคือสภาพธรรม แต่จริงๆ ก็คือ เป็นเราใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ก็ขณะนั้นยังไม่ได้ดับความเป็นเรา

    ผู้ฟัง แล้วขณะที่เราระลึกได้ว่าประทุษร้ายเขา ก็ไม่ใช่สติ

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นความคิดเรื่องนั้น สติเกิดร่วมกับกุศลจิต ขณะนั้นเป็น กุศล สามารถจะรู้ได้ว่าขณะนั้นเป็นอกุศลจึงจะรู้ว่าลักษณะนั้นเป็นกุศล ไม่ใช่เรา แต่ถ้า ไม่สามารถจะรู้ได้ เราอาจจะเพียงคิดว่าคงเป็นกุศลที่คิดออกอย่างนั้น แต่คิดออกๆ อย่างนั้นด้วยความเป็นเราแก้ตัวก็ได้ เพราะฉะนั้นนั่นคือการคิด แต่บางคนพอว่าเขา แล้วก็อาจจะทำดีหรือขอโทษทันที ต่างกันแล้วใช่ไหม เวลาที่กุศลจิตเกิดหรือเวลาที่ เพียงคิดด้วยความเป็นตัวเราว่าเกิดแล้ว ว่าแล้ว เขาจะทุกข์ก็ช่างเขาช่วยไม่ได้ กับการ ที่กุศลจิตเราเกิด เราอาจจะมีการขอโทษอย่างจริงใจ อย่างอ่อนน้อม ทำทุกสิ่งทุกอย่าง ที่จะให้เขารู้จริงๆ ว่าเราขอโทษจริงๆ จะดีกว่าไหม นั่นคือกุศลจิตถ้าเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าความคิดของแต่ละคนก็ต่างกัน ถ้าสะสมกุศลที่จะรู้สึกผิดจริงๆ เราก็สามารถที่จะทำทุกอย่างที่ดีขึ้น และก็ระลึกได้ที่จะไม่ทำอย่างนั้นอีก แต่ถ้าจะทำ อีกเราก็ขอโทษอีกก็ได้ใช่ไหม ก็ดีกว่าปล่อยไปเลย

    ผู้ฟัง สภาพธรรมเหตุปัจจัยทำให้เกิด ก็เกิดแล้ว เราก็ประทุษร้ายเ ขาแล้ว เราก็คิดต่อไปว่าเป็นวิบากของเขาที่เขาจะได้รับสิ่งนั้น มันวิจิตรมากเลย

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นทุกคนจะต่างกันตามการสะสม ไม่อย่างนั้นจะมี ชีวิตของพระเถระ พระเถรีที่ท่านทรงแสดงว่าต่างกันแม้แต่ความคิดในแต่ละกาล แม้แต่ กาลที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมก็ยังคิดต่างๆ กันได้

    ผู้ฟัง ก็เลยมีความสงสัยว่า เอ๊ะ เราศึกษานี่เราดีขึ้นหรือเปล่า เพราะ ว่าแม้กระทั่งเราไปประทุษร้ายเขา แล้วเขาได้รับวิบากที่เป็นอกุศล ก็คือเราก็ต้องยอม รับให้เขารับวิบากที่เป็นอกุศลไปโดยที่เกิดจากตัวเรา

    ท่านอาจารย์ นี่ก็เป็นอีกมุมหนึ่ง เราศึกษาธรรม เราดีขึ้นหรือเปล่า แต่ความ จริงถ้าเราศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจ และอะไรจะเกิดก็รู้ทันทีเลยในขณะนั้นว่าบังคับไม่ได้ รู้ ลักษณะของสภาพธรรมโดยไม่รำพัน ไม่พูดมาก ไม่คิดมาก เป็นวิบากของเขา หรือ อะไรอย่างนั้นใช่ไหม ก็แสดงให้เห็นว่าแล้วแต่ปัจจัยจะปรุงแต่งจริงๆ ถ้าเราจะคิดถึง เรื่องเราทำกุศล เราไม่ได้ทำอกุศล เราจะตกนรกหรืออะไร ก็คือเรื่องของตัวเราทั้งนั้น เลยใช่ไหม จะคิดยังไงก็ไม่พ้นจากตัวเอง แต่ถ้าเป็นกุศลจริงๆ ขณะนั้นเราก็ไม่ได้คิด ถึงเรื่องตัวของเราเองนอกจากจะคิดถึงประโยชน์กับบุคคลอื่น


    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 146


    หมายเลข 9639
    30 ส.ค. 2567