มีสติต่างกับหลงลืมสติ


    ผู้ฟัง จะเรียนถามถึงอารมณ์ สิ่งที่จิตรู้ ในชีวิตประจำวันเราพอที่จะสังเกตหรือว่าทราบได้

    ท่านอาจารย์ เข้าใจสิ่งที่มีที่ปรากฏให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ขณะนี้เห็น

    ผู้ฟัง ก็เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ เข้าใจขั้นฟัง จนกว่าสติสัมปชัญญะเกิด เพราะฉะนั้นสติสัมปชัญญะ ถ้าใครไม่เข้าใจเกิดไม่ได้ ไม่ใช่สติสัมปชัญญะแน่นอน

    ผู้ฟัง อย่างนั้นสิ่งที่จิตรู้ก็จะต้องมีทั้งรูปธรรม และนามธรรม

    ท่านอาจารย์ จิตรู้ได้ทุกอย่าง

    ผู้ฟัง แต่ในขั้นต้น ถ้าเป็นความรู้โดยตามลำดับก็คือต้องรู้รูป

    ท่านอาจารย์ ต้องรู้โดยลักษณะของสติต่างกับขณะที่หลงลืมสติ นี่คือขั้นที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมมิฉะนั้นก็เป็นเรื่องราวกับความคิดนึกเรื่องสภาพธรรม

    ผู้ฟัง ขณะที่สติเกิดก็มีหลายขั้น

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นสติสัมปชัญญะมีลักษณะของสภาพธรรมกำลังปรากฏไม่ต่างกับปกติเลย เพราะตามทันที ทางมโนทวารนี่ตามทันที

    ผู้ฟัง สติสัมปชัญญะเกิด และระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏต้องเป็นปรมัตถธรรม

    ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างนั้นจะรู้ได้ยังไงว่าเกิดกับถ้าไม่ใช่ปรมัตถธรรม

    ผู้ฟัง ถ้ารู้อื่นก็ไม่ใช่สติสัมปชัญญะใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เช่น รู้อะไร

    ผู้ฟัง อย่างเช่นรู้ความคิดนึกที่เป็นเรื่องราว

    ท่านอาจารย์ รู้ความคิดนึกก็คือเรื่องความคิดนึก ถ้าสติสัมปชัญญะต้องมีลักษณะปรมัตถธรรม ลักษณะจริงๆ อย่างธาตุรู้จะต้องค่อยๆ เข้าใจขึ้นในสภาพที่ไม่มีอะไรเจือปนเลยทั้งสิ้นมืดสนิท

    ผู้ฟัง แล้วที่อาจารย์กล่าวว่าสติเกิดกับหลงลืมสติ ตัวสติที่เกิดจะต้องเป็นสติสัมปชัญญะเท่านั้น

    ท่านอาจารย์ กล่าวถึงสติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน เวลาที่เราพูดถึงเรื่องการจะรู้สภาพธรรม เราจะไม่พูดเรื่องสติขั้นทาน สติขั้นศีล สติขั้นสมถะ

    ผู้ฟัง แต่ในสติที่เราพูดๆ กันในชีวิตประจำวันนี่ก็คือลักษณะของวิตกเจตสิก

    ท่านอาจารย์ สติเจตสิก ไม่ใช่วิตกเจตสิก นี่คือเจตสิกทั้งหมดที ๕๒ ประเภท ไม่ใช่วิตกไปเป็นสติไม่ได้หรือวิตกจะไปเป็นปัญญาก็ไม่ได้


    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 148


    หมายเลข 9657
    30 ส.ค. 2567