อสังขาริก-สสังขาริก
อ.ธิดารัตน์ อย่างโทสะที่มีกำลังกล้าก็หมายความว่าเกิดขึ้นเอง ก็อย่างคนที่สะสมอะไรนิดอะไรหน่อยก็โกรธได้ง่ายๆ เราก็จะเห็นได้ง่าย กับคนที่ไม่ค่อยมักโกรธเท่าไหร่ ซึ่งจริงๆ แล้วก็เป็นเรื่องที่พิจารณาได้ยากแต่ละบุคคล เพราะว่าจริงๆ แล้วสสังขาริก และอสังขาริกก็สามารถที่จะเกิดสลับกันได้ เพราะฉะนั้นการที่จะแยกจริงๆ ก็ต้องเป็นปัญญาที่มีกำลัง
อ.วิชัย ก็อย่างที่เราศึกษากัน อกุศลที่เกิดก็มีปัจจัยคือ ๑ คือการสะสมของบุคคลนั้นเอง ก็คืออย่างที่ทราบว่าอกุศลก็มีหลากหลายอย่าง เช่นโทสะก็มีมากมายไม่ว่าจะเป็นความเศร้าโศกเสียใจ กิริยาอาการหยาบกระด้างต่างๆ หรือว่าแม้ความกลัวก็เป็นลักษณะของโทสะ ดังนั้นที่ทรงประมวลไม่ว่าจะเป็นการจำแนกโดยสสังขาริกหรืออสังขาริก ก็แสดงถึงกำลังของโทสะว่าบางขณะบางคราว โทสะก็เกิดโดยมีกำลังขึ้นโดยมีปัจจัยภายนอก อย่างเช่นการกระทบถูกต้องอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาต่างๆ รวมถึงอุปนิสัยที่สะสมมาด้วย ก็เป็นปัจจัยให้โทสะมีกำลัง หรือบางคราวก็ต้องอาศัยสิ่งต่างๆ ที่ให้โทสะมีกำลังอ่อนก็มีบางคราว นี่ก็แสดงตามความเป็นจริงว่าเป็นอย่างนี้ว่าโทสะบางคราวก็มีกำลังโดยที่ว่าไม่มีเหตุอื่นที่มาชักจูงให้มีกำลังบ่อยๆ หรือบางคราวก็สั่งสมที่จะมีอโทสะ ก็ไม่ค่อยโกรธ แต่ว่าถ้าได้ยินได้ฟังบ่อยๆ หรือเห็นบ่อยๆ ก็มีกำลังมากขึ้น อย่างเช่นถ้าเราเห็นสิ่งอะไรที่ไม่ชอบ บางครั้งก็โกรธทันที แต่บางครั้งก็ขุ่นเคืองเล็กๆ น้อยๆ แต่พอเห็นบ่อยๆ ความโกรธก็มีกำลังมากขึ้น
อ.กุลวิไล กรณีที่เป็นสสังขาริกจะมีเจตสิกที่เป็นถีทุกะเกิดร่วมด้วย ก็คือถีน (ถีนะ) เจตสิก และก็มิทธเจตสิกเกิดร่วมด้วย ซึ่งท่านกล่าวว่าความท้อแท้ชื่อว่า
“ถีน” (ถีนะ) ความเศร้าซึมชื่อว่า “มิทธะ” (บาลี-มิทฺธ) สำหรับถีน ท่านกล่าวว่าถีนเป็นไฉน ความว่าจิตไม่ข้อง ไม่ควรแก่การงานชื่อว่าถีน
ที่มา ...