การสะสม-สสังขาริก
อ.วิชัย ลักษณะของโทสะ ก็สังเกตจากชีวิตประจำวัน เช่น ถ้าเกิดความกลัวหรือบางท่านก็หยาบกระด้างวาจาหยาบคายแสดงออกมา หรือบางท่านก็เศร้าโศกเสียใจ ประมวลทั้งหมดก็เป็นลักษณะของโทสะ แต่ว่าอาการที่แสดงออกมารู้สึกว่าจะแตกต่างกัน
ท่านอาจารย์ แต่อย่างไรก็ตามจะรู้ได้ว่าขณะนั้นไม่ใช่อกุศลที่เป็นโลภะ และก็ไม่ใช่อกุศลที่เป็นโมหมูลจิต
อ.วิชัย ดูเหมือนว่าลักษณะจะแตกต่างกัน แต่เหตุใดประมวลว่าเป็นลักษณะของโทสะ
ท่านอาจารย์ ไม่สบายใจ ไม่ติดข้อง ไม่พอใจในอารมณ์ ไม่ปรารถนาอารมณ์นั้นซึ่งลักษณะของโลภะตรงกันข้าม ติดข้อง ต้องการ ปรารถนา ไม่ทิ้ง ไม่ปล่อย
อ.วิชัย ลักษณะของโทสะก็เป็นตรงกันข้ามกัน (กับโลภะ) แล้วแต่ว่าจะเป็นอาการแสดงออกมาในลักษณะอย่างไร
ท่านอาจารย์ เสียใจเกิดขึ้น ไม่มีใครอยากเสียใจใช่ไหม
ผู้ฟัง คนที่สะสมโทสะมามาก ก็จะเอะอะมากกว่าคนที่สะสมมาน้อย
ท่านอาจารย์ แต่โทสะเกิดแล้วเหมือนกัน
ผู้ฟัง เหมือนกัน แต่มีกำลังไม่เหมือนกัน กำลังหรือไม่มีกำลังที่เรากำลังจะเข้าใจก็คือว่า ความหมายของ “กำลัง” กับ “ไม่มีกำลัง” คืออย่างไร ถ้ามีกำลังก็คือสามารถที่จะเกิดได้เลย แม้เพียงเล็กน้อยก็เกิดแล้ว เช่น ความรำคาญใจ แม้เพียงเล็กน้อยก็เป็นโทสะเกิดแล้วด้วยตามการสะสมที่จะเกิด แต่บางกาลที่มีกำลังอ่อน ก็หมายความว่าขณะนั้นไม่เกิดขึ้นได้ทันทีตามการสะสม แม้สะสมมาที่ว่าจะเกิดเล็กน้อย แต่ก็เกิดได้เพราะสะสมมา แต่บางกาลไม่ได้เกิดทันที แต่อาศัยการคิดไปคิดมา ไตร่ตรอง ขณะนั้นก็จะกล่าวได้ว่าเป็นสสังขาริก เป็นการไตร่ตรอง มีการคิดไปคิดมา หรือใช้คำว่าชักจูงหรือชักชวนก็ได้โดยบุคคลอื่นหรือโดยตนเอง คือ คิดไปคิดมาไม่อยากไป หรือคิดไปคิดมาไปดีกว่า อะไรก็แล้วแต่ที่ขณะนั้นจะเกิดขึ้น แต่จริงๆ แล้วก็คือว่า ถ้าจะกล่าวอย่างที่ว่าสิ่งภายนอกเป็นการชักจูงนั้น ไม่ถูกต้อง เพราะเหตุว่า ถ้าเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ชอบหรือไม่ชอบ บุคคลในโลกนี้มีหลายบุคคล พระอรหันต์ไม่มีเลย แม้ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งเดียวกับที่บุคคลอื่นเห็น แต่ว่าไม่มีกิเลสใดๆ ทั้งสิ้น สำหรับบางคนสะสมมาที่จะเกิดโลภะชอบ และอีกคนเราก็ได้ยินเสียงเลย นั่งไปด้วยกัน เห็นสิ่งเดียวกัน ไม่ชอบเลย คนหนึ่งก็กล่าวว่าไม่ชอบ อีกคนก็กล่าวว่าชอบ นี่ก็แสดงให้เห็นถึงการสะสมที่ต่างกันจึงไม่ใช่สสังขาริก แต่ว่าบางสิ่งบางอย่างตอนแรกใหม่ๆ เราอาจจะไม่คุ้นเคย บางคนอาจจะไม่ชอบกลิ่นอาหารบางชนิด กลิ่นผลไม้บางชนิด แต่เมื่อบ่อยๆ เข้าก็ดี หมายความว่ารู้สึกว่ารสชาติดีขึ้น กลิ่นดีขึ้น สิ่งนั้นก็เป็นไปได้ที่กล่าวว่าเมื่อเกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้คุ้นเคย ได้มีการเห็นบ่อยๆ รับประทานบ่อยๆ ความชอบนั้นก็เกิดขึ้น แต่ภายหลังก็เกิดเองได้อีกเพราะเหตุว่าได้สะสมมาแล้วที่จะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญใหญ่โตที่เราจะต้องเป็นฝ่ายตัดสินว่า ขณะใดเป็น สสังขาริก ขณะใดเป็นอสังขาริก แต่เขาเข้าใจสภาพธรรมว่าเป็นอย่างนี้ได้
หมายเหตุ เสียงวนซ้ำ
ที่มา ...