ศึกษาธรรมด้วยความเป็นเรา


    ผู้ฟัง ลักษณะของโทสะ เรามีโทสะ หรือเรารู้ว่ามีโทสะ กับสภาพลักษณะของโทสะที่เป็นสภาพธรรม มีความแตกต่างกัน ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ แม้แต่การศึกษาธรรม บางคนศึกษาด้วยความเป็นเรา เมื่อได้ยินก็ ใช่ เรามีโลภะอย่างนี้ แทนที่ว่าเป็นลักษณะของธรรมชนิดหนึ่ง ไม่ใช่เรา ก็ต่างกันใช่ไหม เมื่อกล่าวเรื่องโทสะ ใช่ วันนั้นเรามีโทสะมากมาย เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่ใช่รู้ว่าโทสะเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ใครเลย เราศึกษาธรรมต้องมีความมั่นคงที่ว่าศึกษาเพื่อเข้าใจธรรม สิ่งที่มีจริงๆ เป็นธรรม ศึกษาเพื่อให้รู้ว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้นถ้าเราจะศึกษาจริงๆ ขณะนั้นเราก็จะเข้าใจสิ่งที่มีตามความเป็นจริงซึ่งเป็นหนทางที่จะทำให้ละโลภะได้ เพราะว่าพระธรรมทั้งหมดที่ทรงแสดงนั้นเพื่อละโลภะ ถ้าได้ยินคำนี้ รู้สึกไหมว่าโลภะละยากแค่ไหน ต้องอาศัยพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง จึงสามารถที่จะละได้จริงๆ ถ้าเป็นอย่างอื่นไม่สามารถที่จะละได้ เพราะว่ามีทั้งความละเอียด มีทั้งความมากมาย และก็แผ่ซ่านไปในอารมณ์ทั้งปวงเหมือนรสดินกับรสน้ำที่ต้นไม้เติบโตมาทุกก้าน ทุกกิ่ง ทุกดอก ทุกผลก็เป็นเพราะรสดิน และรสน้ำฉันใด โลภะก็จะเป็นเหตุเป็นมูล ที่จะทำให้สภาพธรรมทั้งหลายงอกงามไพบูลย์ไม่มีที่สิ้นสุดในสังสารวัฏฏ์ เพราะฉะนั้นถ้าได้ยินอย่างนี้ ความละเอียดของพระธรรมที่จะละโลภะได้ คนนั้นต้องพิจารณาไตร่ตรองเป็นปัญญาจึงจะละโลภะได้ แต่ถ้ามีความเป็นเรารู้ และก็เข้าใจ วันนั้นเรามีโทสะอย่างนั้น วันนี้เรามีโลภะอย่างนี้ก็คือเป็นเราไปโดยตลอดที่ฟังเรื่องธรรม แล้วก็มีชื่อของสิ่งที่เกิด แต่ก็เป็นเรา ไม่ได้มีความเข้าใจว่าแล้วแต่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น

    หมายเหตุ เสียงวนซ้ำ


    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 150


    หมายเลข 9674
    31 ส.ค. 2567