รู้ลักษณะที่เป็นธรรมจะเบาสบาย


    ผู้ฟัง เวลาที่เราระลึกรู้สภาพของโทสะ เราจะมีความเดือดร้อน และมีโทมนัสเกิดร่วมด้วย แต่เราจะไม่มีลักษณะที่ท่านอาจารย์กล่าวว่าเป็นสภาพธรรมที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน แล้วก็จะเบาสบาย

    ท่านอาจารย์ เพราะนั่นเรียกชื่อ จำได้ว่าคำนี้คือโทสะ เพราะฉะนั้นพอลักษณะนี้ปรากฏก็นึกถึงคำ แต่ไม่ได้รู้ลักษณะที่เป็นธรรมของโทสะ และไม่รู้ลักษณะของสติสัมปชัญญะ เพราะขณะนั้นไม่ใช่สติสัมปชัญญะ ไม่ใช่สติปัฏฐาน แต่เป็นการนึกถึงชื่อ ขณะนี้ก็นึกได้สิ่งที่ปรากฏทางตา ทั้งๆ ที่ก็มีสิ่งที่ปรากฏทางตาแต่ก็นึกถึงชื่อ ไม่ใช่ถึงลักษณะของธรรมที่เพียงปรากฏเมื่อกระทบจักขุปสาทเท่านั้น ไม่ได้กระทบอย่างอื่น ความจริงคือแค่นั้น แต่เรื่องราวมากมายมหาศาลเพราะความไม่รู้สิ่งที่ปรากฏทางตา มหาสมุทร (สมุท) อะไรเป็นมหาสมุทร จำได้ไหม พระสูตรนี้กล่าวถึงแล้ว จักขุ (ตา) ไม่จบสิ้น อย่างเดียวหรือไม่ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และยังสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอีกด้วย ถ้าพูดให้เข้าใจว่าอกุศลมีมากมายสักเท่าไร เป็นหนทางที่จะละโลภะ เพราะรู้จริงๆ ว่าละยากแค่ไหน ต้องเป็นปัญญาจริงๆ มิฉะนั้นก็จะไปพยายามทำอย่างอื่นที่คิดว่าจะทำให้ละโลภะได้

    หมายเหตุ เสียงวน 2 รอบ


    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 150


    หมายเลข 9676
    31 ส.ค. 2567